วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

ไก่พันธุ์ (เนื้อ) ชอบรังวางไข่ไม้

 จำนวนไข่ฟัก การผสมติด และอัตราการฟักเป็นตัว ในไก่พันธุ์ (เนื้อ) เป็นตัววัดประสิทธิภาพการเลี้ยง แต่สิ่งที่น่าปวดหัวมากเป็นพิเศษคือ จำนวนไข่พื้น เนื่องจาก ต้องใช้แรงงานเก็บเป็นพิเศษ  

การเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม ให้สัตว์ปีกตื่นตัว และจัดพื้นที่สแลตช่วยป้องกันไข่พื้นได้ แต่งานวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการวางไข่ในรังชนิดต่างๆที่ให้ผลแตกต่างกัน

โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ (เนื้อ) ประกอบด้วยอุปกรณ์ และรังสำหรับวางไข่ฟัก การตัดสินใจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด แล้วควักเงินซื้อใหม่เป็นต้นทุนการผลิตไม่น้อย อย่างไรก็ตาม การสร้างฟาร์มใหม่ หรือเพิ่มจำนวนโรงเรือน ผู้ผลิตก็สามารถทบทวนพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ ใช้บทเรียน และประสบการณ์ความบกพร่องในอดีต แล้วคิดหาโอกาสที่จะลงทุนด้วยเทคโนโลยีล่าสุดด้วยการมองการณ์ไกลในอนาคต

พฤติกรรมไก่พันธุ์ (เนื้อ)

                 แนวคิดอันบรรเจิดใหม่มาจากนักวิจัย Anne van den Oever นักศึกษาปริญญาเอกชาวดัทช์ที่มหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน และคณะนักวิจัยกลุ่มเวนโคมาติก ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเบิร์น สวิสเซอร์แลนด์ โดยมองเข้าไปในรายละเอียดของพฤติกรรมไก่พันธุ์ (เนื้อ) ก่อนหน้านี้ได้ลงมือวิจัยด้านพฤติกรรมของไก่ไข่ แต่ยังคงเกิดคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างไก่พันธุ์ และการออกแบบโรงเรือน โดยเฉพาะ ความชื่นชอบรังสำหรับวางไข่แบบต่างๆ ในบางโรงเรือนมักพบปัญหารังไข่ที่แม่ไก่ชอบสุมรวมกัน ทำให้ประสบปัญหาไข่พื้น สายพานส่งไข่ฟักเต็ม และการบาดเจ็บของสัตว์ แม้ว่า รังไข่แบบต่างๆก็เหมือนกัน ไก่ก็มักปีนป่ายกันเนื่องจากปัจจัยด้านพันธุกรรม จากประเด็นหนึ่งก็แตกไปสู่อีกประเด็นหนึ่ง นักวิจัยจึงพยายามออกแบบการทดลองใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่ความชื่นชอบรังวางไข่ชนิดต่างๆ

สภาวะในอุดมคติสำหรับสัตว์      

              แนวความคิดการวิจัยของ Van den Oever เป็นการมองหาชนิดของรังสำหรับวางไข่ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทุกประการ ยังไม่มีมาตรฐานเกี่ยวกับการออกแบบรังสำหรับวางไข่ แต่เกณฑ์ที่สำคัญของสัตว์ ผู้วิจัยเริ่มจากความเห็นของผู้ใช้งานของอุปกรณ์จากแวนโคมาติกมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี เมื่อพยายามปรับปรุงสภาพโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับไก่พันธุ์ (เนื้อ) ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ คำถามสำคัญคือ แม่ไก่ชอบแบบไหน การจัดรังสำหรับวางไข่ที่ได้รับการออกแบบอย่างดีจะเป็นประโยชน์สำหรับแม่ไก่ และผู้เลี้ยงสัตว์ รวมถึง สวัสดิภาพของสัตว์ก็จะดีขึ้นไปด้วย โดยสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐาน และยังช่วยเพิ่มจำนวนไข่ฟักที่วางบนรังสำหรับวางไข่อย่างถูกต้อง   

              ความน่าดึงดูดสนใจของรังไข่สำหรับแม่ไก่มีหลายปัจจัย เช่น ความสงบ ชนิดวัสดุ และบรรยากาศภายในที่สบาย จากประสบการณ์แล้ว นักวิจัยเล็งเห็นว่า รังไข่ที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่ปัญหาไข่พื้น ไม่ใช่เพียงจำนวนครั้งต่อรังไข่บ่อยครั้งขึ้น และระยะเวลานั่งวางไข่ก็สั้นลงอีกด้วย โดยสรุปอย่างง่ายก็คือ แม่ไก่ไม่รู้สึกว่าปลอดภัย และมีความสุขขณะวางไข่

การศึกษารังไข่ที่แม่ไก่ชอบเข้า

              นักวิจัยพยายามศึกษาลักษณะรังไข่ที่แม่ไก่ชอบใช้งาน โดยออกแบบลักษณะกล่องรังไข่ ๔ แบบ เพื่อทดสอบความชื่นชอบของแม่ไก่ โดยใช้รังวางไข่ควบคุมเป็นพลาสติก โดยกั้นแบ่งเป็น ๒ ห้อง กล่องพลาสติกที่ติดตั้งระบบระบายอากาศไว้ข้างล่างให้อากาศหมุนเวียนภายในรังไข่ให้รู้สึกเหมือนมีลมพัดสบายในรังไข่ และรังไข่ไม้ ที่มีพื้นที่สัมผัสให้แม่ไก่รู้สึกเหมือนอยู่ในธรรมชาติ

              จำนวนกลุ่มทั้งหมด ๖ กลุ่ม ประกอบด้วยแม่ไก่ ๑๐๐ ตัว และพ่อไก่ เข้าถึงรังไข่ทั้ง ๔ แบบได้แบบสุ่มที่อายุ ๒๐ ถึ ๓๔ สัปดาห์ โดยตรวจพฤติกรรมแม่ไก่ภายในโรงเรือนตลอดเวลาภายในรังไข่ ระหว่างอายุ ๒๔ ถึง ๒๕ สัปดาห์ และ ๒๖ ถึง ๒๗ สัปดาห์ วิเคราะห์พฤติกรรม รวมถึง กิจกรรมของแม่ไก่ ตรวจสอบสภาพรังวางไข่ การเข้ารังวางไข่ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

แม่ไก่ชื่นชอบรังวางไข่แบบไม้อย่างชัดเจน       

              จากสมมติฐานที่ว่า หากแม่ไก่ไม่ชื่นชอบรังวางไข่ การออกแบบรังวางไข่ทุกแบบในการศึกษาครั้งนี้ควรมีสัดส่วนร้อยละ ๒๕ ของการวางไข่ พบว่า รังวางไข่ที่มีการระบายอากาศด้วยไม่เป็นที่ดึงดูดใจแล้ว คาดว่าจะมีสัดส่วนร้อยละ ๓๓ ต่อชนิดของรังวางไข่ แต่ค่าเฉลี่ยทางสถิติสามารถใช้วิเคราะห์ด็ต่อเมื่อมองว่าแม่ไก่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตไข่เท่านั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า แม่ไก่พันธุ์เนื้อมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบเป็นพิเศษกับรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้มากกว่ารังวางไข่พลาสติก

ทางเลือกรองลงมา

               แม่ไก่เพียงร้อยละ ๑๕ เท่านั้นที่ยังเลือกรังวางไข่ที่ทำด้วยพลาสติก โดยร้อยละ ๑๐ เลือกรังวางไข่ที่มีแผ่นกั้นห้อง และเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้นที่เลือกรังวางไข่ที่ติดตั้งระบบระบายอากาศ เนื่องจาก มีรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้เพียง ๑ ใน ๔ ของทั้งหมดเท่านั้น แม่ไก่แสดงพฤติกรรมออรวมกันใช้งาน ปีนป่าย และมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อแก่งแย่งกันใช้รังวางไข่ชนิดนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นชัดเจนว่า แม่ไก่เลือกที่ใช้งานรังวางไข่ชนิดนี้ โดยสังเกตเห็นพฤติกรรมกลับมาใช้รังเดิมวันแล้ววันเล่า

              เพื่อทดลองหาทางเลือกรองลงมา นักวิจัยจึงปิดรังวางไข่ไม้ เพื่อดูว่าแบบของรังวางไข่ และตำแหน่งการวางใกล้กับรังไม้ พบว่า รังวางไข่ควบคุมยังเป็นที่ชื่นชอบมากกว่ารังพลาสติก โดยการจัดรังวางไข่ให้ใกล้กับรังไม้ แม่ไก่ก็จะเข้าไปใช้มากกว่า   

              ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า แม่ไก่มีพฤติกรรมชื่นชอบรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้อย่างชัดเจน วัสดุสำหรับการทำรังวางไข่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังนั้น การออกแบบรังวางไข่ควรพิจารณาปัจจัยนี้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ออกแบบรังวางไข่ตามมาตรฐานโรงเรือนของยุโรป แต่คณะผู้วิจัยก็คาดหวังว่าจะสามารถประยุกต์ใช้กับภูมิภาคอื่นๆด้วยเช่นกัน

เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกฟาร์ม

              โดยสรุปแล้ว ผลการทดลอง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม่ไก่ชื่นชอบรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้ ผู้สนับสนุนการวิจัยอย่างเวนโคแมนติก มีพลาสติกคุณภาพสูง และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ในการผลิต จากผลการศึกษาครั้งนี้ บริษัทจึงได้ซื้อกิจการของ Van Gent ที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตรังไม้ในระดับโลก โดยหวังว่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับทุกฟาร์มได้ ร่วมกับการจัดการ และการเลี้ยงอย่างเหมาะสม รังไม้สามารถลดปัญหาไข่พื้นได้อย่างดีอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

Brockotter F. 2021. Broiler breeders prefer wooden. [Internet]. [Cited 2021 Aug 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2021/8/Broiler-breeders-prefer-wooden-nests-777162E/

ภาพที่ ๑ ไก่พันธุ์ (เนื้อ) ชอบรังวางไข่ไม้ (แหล่งภาพ Anne van den Oever)



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...