วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ลำแสงอินฟาเรดเพื่อชีวิตที่ีดีของสัตว์ปีก


การวิจัยด้านการผลิตปศุสัตว์ได้เดินทางถึงระดับที่มีความซับซ้อนลึกซึ้งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อแสวงหาหนทางรอดจากปัญหาด้านการผลิต
งานวิจัยตีพิมพ์เกี่ยวกับผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวคานาดาในการใช้ลำแสง Mid Infrared Spectromicroscopy จาก infrared synchroton light ที่มีความสว่างสูง ลำแสงนี้เป็นประโยชน์ในการให้ความสว่างสูงนับเป็นหลายล้านเท่าของความสว่างจากดวงอาทิตย์ ถือเเป็นสุดยอดนวัตกรรมด้าน Spectrophotometer และ Microscopy ที่ช่วยให้ diffraction-limited spactial resolution ที่กล่าวมาข้างต้นฟังแล้วเสมือนเทคโนโลยีจากอวกาศ แต่ไม่ใช่เลยตอนนี้ได้อยู่ในมือของนักวิจัย Andrew Olkowski และคณะนักวิจัย พยายามทำความเข้าใจปัญหาไก่เนื้อโตเร็วจากโรคหัวใจ ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีนี้จากมหาวิทยาลัย Saskatschewan เป็นไปได้ที่จะค้นพบโปรตีนที่ถูกทำลาย และผิดรูปที่สะสมอยู่ในหัวใจ ปัญหาเล็กๆที่ซุกซ่อนอยู่ในโปรตีนภายในกล้ามเนื้อหัวใจ นักวิจัยต่อยอดการศึกษาไปยังสุขภาพสัตว์ปีก และสาเหตุสำคัญของโรค เพื่อให้สุขภาพของไก่นับล้านตัวมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ก้าวเข้าสู่บริบทของสวัสดิภาพสัตว์ ภาคการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็จะได้ประโยชน์จากผลผลิตที่ดีขึ้น และสร้างความมั่นคงทางอาหาร
โครงการวิจัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแวดวงสุขภาพสัตว์ปีก แต่ยังขยายขอบเขตไปยังพันธุกรรม อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ โภชนาการ การใช้สารเติมอาหารทางเลือกใหม่ การผลิตสัตว์ปีกอย่างแม่นยำ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ และการผลิตพลังงานทางเลือกใหม่ และอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง
Ruiz B. 2020. A beam of infrared light for the well-being of poultry. [Internet]. [Cited 2020 Jun 28]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/25-latin-america-poultry-at-a-glance/post/40812-a-beam-of-infrared-light-for-the-well-being-of-poultry
ภาพที่ ๑  การวิจัยด้านปศุสัตว์เดินทางมาถึงเวลาที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมก้าวผ่านปัญหาที่เคยประสบมาก่อน (แหล่งภาพ KANIN.studio | AdobeStock.com)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...