จำนวนผู้ป่วยจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์เชื่อมโยงกับเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน ติดตามด้วยเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น เนื้อแกะ เนื้อสุกร และเนื้อโค จากรายงานการศึกษาล่าสุด
หน่วยงานมาตรฐานอาหาร (Food Standards Agency,
FSA) ยังเน้นย้ำความกังวลต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่ดื้อยาต้านจุลชีพ
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ โดยจำนวนผู้ป่วยจากเชื้อแคมไพโลแบเคตอร์ราว
๓๐๐,๐๐๐ ราย ได้รับจากการบริโภคอาหารในแต่ละปีในสหราชอาณาจักร
จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๖๓๐,๐๐๐ รายที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์อาศัยในทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด รวมถึง
สัตว์ปีก และแมลง
แหล่งสำคัญของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์
นักวิจัยเริ่มโครงการสำรวจหาแหล่งพักพิงของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์
เพื่อช่วยวางกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ
โดยโครงการนี้ประเมินจำนวนตัวอย่างจากผู้ป่วยใน ๒ พื้นที่ในเมืองในไทน์ไซด์
และออกฟอร์ดเชียร์ รวมถึง ตัวอย่างอาหารจากร้านค้าปลีกในเมืองยอร์ก ซอล์สบรี
และลอนดอน
เชื้อดื้อยา
ผลการศึกษา พบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลน และเตตราซัยคลิน เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ โดยพบว่า เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลนจากเนื้อไก่บ่อยกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ขณะที่ เชื้อดื้อยาเตตราซัยคลินจากเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสุกรบ่อยกว่าเนื้อสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขณะที่ การดื้อยากลุ่มมาโครไลด์ และอะมิโนไกลโคไซด์ค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ฟื้นตัวเป็นปรกติอย่างรวดเร็ว แต่อาจเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงในระยะยาว โดยเฉพาะ เด็ก และคนชรา ริค มัมฟอร์ด หัวหน้าหน่วยวิทยาศาสตร์ หลักฐาน และงานวิจัย เห็นว่า ผลการสำรวจครั้งนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และใช้เป็นแนวทางการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษต่อไป และเป็นโจทย์วิจัยเพื่อหาทางลดการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในสหราชอาณาจักรให้ได้
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal T. 2023. Poultry continues to be a major source Campylobacters. [Internet]. [Cited 2021 Aug 16]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/poultry-continues-to-be-a-major-source-campylobacters/
ภาพที่ ๑ ปัญหาเชื้อดื้อยา โดยเฉพาะ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลน และเตตราซัยคลิน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ (แหล่งภาพ Hans Prinsen)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น