ความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ปศุสัตว์
และการดื้อยาเป็นประเด็นสำคัญในด้านความปลอดภัยอาหาร และเป็นรับผิดชอบของสัตวแพทย์
ต่อสำนึกในความเสี่ยงที่จะสร้างเชื้อดื้อยาหลายชนิดพร้อมกันในนุษย์
และก็เป็นสำนึกของแพทย์ในการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
สั่งยาปฏิชีวนะเกินกว่าความจำเป็น และผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รับประทานยาจนครบกำหนด
ศ. ฮาเฟซ หัวหน้าสถาบันโรคสัตว์ปีกที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
กล่าวว่า ยาต่อต้านจุลชีพเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
สิ่งนี้สร้างคามมั่นใจต่อสุขภาพไก่เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพสัตว์
และลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม
การรักษาด้วยยาต้านชีพก็เป็นอาวุธสำคัญสุดท้าย
การรักษาโดยปราศจากการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ขนาดยาที่ถูกต้อง ระยะเวลา และการตรวจติดตามที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
ในเยอรมัน กฏหมาย และการควบคุมโดยรัฐมีประสิทธิภาพในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม
โดยจำเป็นต้องมีการให้ความรู้สัตวแพทย์ และเกษตร อย่างไรก็ตาม
การสั่งให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นไปได้ยาก
แต่ต้องมีการพัฒนาวิธีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้การติดเชื้อแบคทีเรีย
การควบคุมความผิดปรกติของทางเดินอาหาร ศ. ฮาเฟซ เน้นย้ำว่า
มุมมองที่สำคัญของสุขภาพสัตว์ปีกในวันนี้คือ การควบคุมความผิดปรกติของลำไส้ จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารปรกติส่วนใหญ่ถูกปกป้องโฮสต์จากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย
(มีความต้านทานต่อการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย) แม้ว่า
ความต้านทานต่อการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียจะลดลงภายหลังการให้ยาต่อต้านจุลชีพ
เชื้อโรคหลายชิด เช่น ไวรัส แบคทีเรีย
และปรสิตล้วนส่งผลต่อความผิดปรกติของลำไส้ไม่ว่าจะโดยลำพัง หรือร่วมกับจุลชีพอื่นๆ
ความผิดปรกติของลำไส้อาจเป็นผลมาจากโรคไม่ติดเชื้อ ได้แก่ อาหาร และการจัดการ
ภายใต้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นการยากที่จะเสาะหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคความผิดปรกติของทางเดินอาหารว่ามาจากโรคติดเชื้อ
หรือไม่ติดเชื้อ นับตั้งแต่การยกเลิกการใช้ยาต่อต้านเชื้อจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
พบว่า คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์มีบทบาทสำคัญต่อความผิดปรกติของลำไส้ในสัตว์ปีก
การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกเป็นกุญแจสำคัญ
และยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคลำไส้อักเสบ โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
แล้วแก้ไขปัญหาอย่างทันเหตุการณ์ เช่น การปรับปรุงการจัดการ สูตรอาหารสัตว์ที่ดี
และลดปริมาณเชื้อก่อโรคโดยอาศัยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึง
การใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆเพื่อปรับสภาพจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น พรีไบโอติก
โพรไบโอติก เอนไซม์ ผลิตภัณฑ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กรด และน้ำมันที่จำเป็น
ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และลดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา นอกเหนือจาก
การใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
แหล่งที่มา: Emmy Koeleman (21/10/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น