กระแสความสนใจในการใช้แมลงเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์ทำให้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปชื่อว่า
PROteINSECT ร่วมกับสหราชอาณาจักรโดย FERA
(The Food and Environment Research Agency) ร่วมกันทำงานอย่างหนักเพื่อให้มีการแก้ไขกฏหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
กฏหมายสหภาพยุโรปในปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาการผลิตระดับใหญ่
ขณะที่ ความมั่นคงทางอาหารทำให้ทุกคนต้องตระหนักถึงการแสวงหาแหล่งโปรตีนทดแทนสำหรับใช้ในอาหารสัตว์
แมลงกำลังเป็นที่ยอมรับกันในฐานะที่เป็นโปรตีนทดแทนที่วิเศษยิ่ง หลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการ
และการผลิตแมลงยังสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเปรียบเทียบกับโปรตีนอาหารสัตว์ทั่วไป
นอกจากนั้น แมลงยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ของเสีย
เช่น ผัก ของเสียจากสัตว์ และมนุษย์ ลดปริมาณขยะลงได้ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการใช้ยังสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นปุ๋ยต่อไปได้
แต่ในปัจจุบัน กฏหมายสหภาพยุโรบยังห้ามการผสมโปรตีนใดๆจากแมลงในอาหารสัตว์ ยกเว้น
ใช้สำหรับเป็นอาหารปลา หรือหอย อย่างไรก็ตาม
มีหลักฐานสนับสนุนความปลอดภัยของโปรตีนจากแมลงเพิ่มขึ้นจากงานวิจัยตามโครงการ ProteINSECT
ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปทำให้เป็นความหวังต่อไปว่า
โปรตีนจากแมลงจะอนุญาตให้ใช้ในอาหารสุกร และสัตว์ปีกในอนาคต โดยเฉพาะ สัตว์เหล่านี้ก็ได้กินแมลงตามธรรมชาติเป็นประจำอยู่แล้ว
ขณะนี้ผู้ประสานงานโครงการกำลังพยายามเสนอแก้ไขกฏหมายสหภาพยุโรป
เพื่อให้สามารถใช้โปรตีนจาแกมลงผสมในอาหารสุกร และสัตว์ปีกได้เช่นเดียวกับปลา เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงทางอาหาร
ความปลอดภัย และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับการผลิตอาหารคุณภาพให้มนุษย์บริโภค และรักษาสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนด้านความปลอดภัยจากวัสดุที่ใช้ผลิตแมลง
เช่น ผัก ของเสียจากสัตว์ และมนุษย์ และขณะนี้ โครงการกำลังสำรวจประชาพิจารณ์ทางเวบไซต์เพื่อประกอบการนำเสนอ
วัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นคอขวดที่สำคัญของการเพิ่มกำลังการผลิตปศุสัตว์
และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีน
ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด โครงการนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างประสบการณ์การเลี้ยงแมลงท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมพร้อมทั้งการเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี
และสามารถใช้กำจัดขยะ และของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมๆกันในระดับอุตสาหกรรม
นับเป็นโจทย์วิจัยที่น่าสนใจไม่น้อย ผู้ประกอบการใดเริ่มต้นก่อนก็จะสร้างความได้เปรียบในการผลิตมากเท่านั้น
และเมื่อสหภาพยุโรปแก้ไขกฏหมายเรียบร้อยแล้ว
เราอาจเห็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนจากแมลงมาแข่งขันในตลาดโลก
แหล่งที่มา AllAboutFeed (18/10/13)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น