นักวิจัยชาวอินเดียได้พัฒนากระบวนการสกัดไบโอดีเซลจากซากไก่ที่มีต้นทุนน้อย
และมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้ดำเนินการโดย จอห์น อับราฮัม
นักศึกษาปริญญาเอกที่สถาบันวิจัย และวิทยาลัยสัตวแพทย์ สังเกตปัญหาว่า
ไก่ไข่มีอัตราการตายต่อวันราว ๐.๐๓ เปอร์เซ็นต์ แต่ละวันมีการตายเฉลี่ยประมาณ
๔,๐๐๐ ตัวทุกวัน โดย ๙๐ เปอร์เซ็นต์จะทำลายซากโดยการฝังภายใต้มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
เมื่อคำนวณอัตราการตายต่อปีประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ ตัวต่อปี ดังนั้น
จึงได้เล็งเห็นว่าเป็นโอกาสสำหรับการสกัดน้ำมันจากไก่ตาย และผลิตเป็นไบโอดีเซลโดยใช้เทคนิค
๒ วิธี น้ำหนักของไก่แต่ละตัวประมาณ ๑.๕ กิโลกรัม มีไขมันประมาณ ๑๔.๕
เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ในสองเทคนิคข้างต้น การสกัดด้วยตัวทำละลาย ช่วยให้สามารถสกัดไขมันจากไก่ได้
๙๗ เปอร์เซ็นต์ และต้องการไก่เพียง ๖ ตัวเพื่อให้ได้ไบโอดีเซล ๑ ลิตร อีกวิธีสามารถสกัดไขมันได้
๖๓ เปอร์เซ็นต์ด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยง และต้องใช้ไก่จำนวน ๑๖ ตัวสำหรับการผลิตไบโอดีเซล
๑ ลิตร ต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลโดยใช้วิธีการปั่นเหวี่ยงประมาณ ๓๕.๖๘ รูเปียอินเดียต่อลิตร
ขณะที่การสกัดด้วยตัวทำละลาย มีต้นทุนเพียง ๒๒ รูเปียต่อลิตร
ทุกปีเราจะสามารถผลิตไบโอดีเซล ๒๐๐,๐๐๐
ลิตรจากไก่ไข่ที่ตายในฟาร์มด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย การตั้งโรงงานมีต้นทุนประมาณ
๒๕ ล้านรูเปียมากกว่าโรงงานที่ใช้การปั่นเหวี่ยง
ไบโอดีเซลสามารถใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน
๒๐ และ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผ่านการทดสอบความสำเร็จแล้ว
คุณภาพของไบโอดีเซลจากซากไก่ได้ผ่านกาประเมินที่มหาวิทยาลัยการเกษตรตามิลนาดู
และได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกระบวนการผลิตไว้แล้ว
แหล่งที่มา The Hindi (22/10/13)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น