หลังข่าวใหญ่ การค้นพบกลไกการดื้อยาใหม่ในแบคทีเรียจากสุกร
เนื้อสุกร เนื้อสัตว์ปีก และมนุษย์จากประเทศจีน นับเป็นอันตรายด้านสาธารณสุข
เนื่องจาก การดื้อยาครั้งนี้เป็นยาปฏิชีวนะชนิดสุดท้ายที่ใช้สำหรับการแพทย์ ศ. ดิค เมเวียส แสดงความเห็นถึงการผลิตสัตว์ปีกนับจากนี้
โคลิสตินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์สำหรับการรักษา
และควบคุมอาการท้องเสียเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วในปศุสัตว์ แต่ปัจจุบัน
โคลิสตินถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ เนื่องจาก
การพัฒนาการดื้อยาอย่างต่อเนื่องในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การแพร่กระจายของเชื้อ ESBL
และเชื้อก่อโรคที่สร้างเอนไซม์คาร์เบนเพเนเมส
ทำให้ยาโคลิสตันเป็นยาปฏิชีวนะชนิดสุดท้ายสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์ที่ติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพร้อมกันหลายชนิด
รายงานการดื้อยาครั้งล่าสุดในประเทศจีนจึงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับมนุษย์
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๕๐ เป็นต้นมา
โคลิสตินถูกใช้ปริมาณมากในปศุสัตว์ เพื่อรักษา
และควบคุมอาการท้องเสียจากเชื้อ อี. โคลัย
และซัลโมเนลลา ในลูกโค และสุกร ในสัตว์ปีก
โคลิสตินใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อโคลัยบาซิลโลซิสในแม่ไก่
โดยต้องมีระยะหยุดยาสำหรับการให้ไข่ การใช้โพลีมิกซินค่อยๆลดลงในช่วงสิบปีที่ผ่านมาแล้ว
เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน และอังกฤษ รายงานเชื้อ อี. โคลัย
ที่ดิ้อยาโคลิสติน ในประเทศจีน และหลายส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยการถ่ายทอดการดื้อยานี้พบในสุกร เนื้อสุกร เนื้อสัตว์ปีก และผู้ป่วยชาวจีน
มีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์
และการดื้อยาในสัตว์ที่โรงฆ่า อาหาร และมนุษย์
การดื้อยานี้มีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของยีน MCR-1 และสามารถแพร่กระจายได้
ตัวอย่างจากการศึกษาครั้งนี้มาจากเนื้อสุกร และเนื้อสัตว์ปีกในซูเปอร์มาร์เก็ต
และตลาดสด รวมถึง ตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตัวอย่าง ๒๐
เปอร์เซ็นต์มาจากสัตว์ และ ๑๕ เปอร์เซ็นต์มาจากเนื้อที่ตรวจพบเชื้อดื้อยา
การดื้อยาครั้งนี้สร้างความวิตกกังวลว่า แบคทีเรียจะสามารถถ่ายทอดภาวะดื้อยาไปยังแบคทีเรียชนิดอื่นๆข้ามชนิดกัน
แม้ว่าจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ความเชื่อมโยง แต่เชื่อว่า อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งต้นตอของเชื้อดื้อยา
ในประเทศจีน ยาปฏิชีวนะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการเลี้ยงสัตว์
อันตรายต่อชีวิตมนุษย์
การพัฒนาเชื้อดื้อยาครั้งนี้ได้สร้างความกดดันต่อภาคสาธารณสุข
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาร่วมกับปัญหา ESBL ที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก จำเป็นต้องมีการเตือนภัย
ไม่ใช่เพราะว่า การดื้อยาโคลิสตินเป็นปัญหาใหญ่หลวงในการเลี้ยงสัตว์
แต่เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์เป็นแหล่งของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์
เชื้อแบคทีเรียดื้อยาสามารถระบาดไปได้ทั่วโลกภายในระยะเวลาอันสั้น ในกรณีร้ายแรง
แพทย์จะไม่มียาเหลือไว้ให้ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อในมนุษย์เป็นการหวนกลับไปสู่ยุคก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ
ในอนาคต เชื่อว่า การระบาดเชื้อดื้อยาจะเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนในแต่ละปี
เชื้อจะระบาดอย่างรวดเร็ว
โลกในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ทำให้ความเชื่อมโยง
และความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์แคบลง และทั่วถึง
มีการแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลาทั้งข้อมูลข่าวสาร คน และสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆรวมถึง
เนื้อสัตว์ปีก มีการผลิต และจำหน่ายจากทั่วทุกมุมโลก
ปัญหาต่างๆจะไม่เกิดขึ้นเพียงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
แต่จะระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว มนุษย์ สิ่งของ และนกป่าเป็นพาหะที่สำคัญของโรค
ปัจจุบัน นักวิจัยกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด
หากห่วงโซ่การผลิตแพร่เชื้อแบคทีเรียนี้ไปแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
ขณะนี้ โลกกำลังให้ความสนใจเชื้อดื้อยาครั้งนี้อย่างใกลชิด
ก่อนหน้านี้มีความพยายามเรียกร้องให้ลดการใช้ยาโพลีมิกซินในการเลี้ยงสัตว์ ถึงตอนนี้
เราต้องทบทวนข้อเรียกร้องเหล่านี้ และยกระดับถึงขั้นสูงที่สุดต่อรัฐบาล
โดยเฉพาะการใช้ยาโคลิสติน ที่อาจต้องกำหนดให้มีการห้ามใช้สำหรับปศุสัตว์ ทั้งภาครัฐบาล
และองค์กรสัตวแพทย์จำเป็นต้องพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็วที่สุด ขณะนี้ ระดับยุโรป
และโลก กำลังพิจารณาประเด็นนี้ แต่กระบวนการนั้นมีขั้นตอนที่ยาวนาน
และมีพลังน้อยลง ทั้งที่เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคน
ในปี ค.ศ.๒๐๑๒ กลุ่มที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกว่าด้วย
การเฝ้าระวังการดื้อยา อ้างถึงยาโคลิสตินว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
การใช้ยาโคลิสตินต้องลดลง แม้ว่า ประเทศตะวันตกจะยังมีอิทธิพลต่อเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ทั้งภาคการเมือง และวิทยาศาสตร์ต้องร่วมมือกันผลักดัน
เพื่อให้ประเทศเอเชียเกิดความตระหนักถึงผลลบของการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
และตระหนักการใช้ทางเลือกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์
ภาคการผลิตสัตว์ปีกควรปรับตัวอย่างไร
เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์ จำเป็นต้องสร้างสำนึกใหม่ให้มุ่งใส่ใจสุขภาพสัตว์แทนที่จะคิดผลิตสัตว์ให้ต้นทุนต่ำ
โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อป้องกันโรคแทนที่จะใช้ยาปฏิชีวนะ
แหล่งที่มา: ศ. ดิค เมเวียส
สถาบันสัตวแพทย์แห่งเนเธอร์แลนด์ (14/12/15)