วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สำรวจกลยุทธ์การต่อสู้โรคบิด

โรคบิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการเลี้ยงไก่เนื้อ การควบคุมปัญหาเป็นคำตอบที่ซับซ้อน เนื่องจาก ทางเลือกสำหรับการบำบัดโรคที่จำกัด
               โรคบิดในไก่เนื้อถูกทิ้งไว้เป็นภาระของนักโภชนาการ ขณะที่ นักโภชนาการส่วนใหญ่จะพิจารณาจะคิดว่าความจริงแล้วเป็นงานของสัตวแพทย์ ความจริงแล้ว เราต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์จากทั้งสองคนนั่นแหละในการช่วยป้องกัน และรักษาโรคนี้ เนื่องจาก โรคบิดเป็นโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพไก่อย่างมาก โดยเฉพาะผลต่อกระบวนการเมตาโบลิซึม การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยากันบิดในอาหารไก่เนื้อควรเกิดจากการตัดสินใจร่วมกัน เช่น หากฟาร์มมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคบิด การตัดสินใจใช้ยากันบิดก็จะรบกวนประสิทธิภาพการให้วัคซีน
ไก่อายุน้อยมีความไวรับต่อโรคบิดที่มีหลายชนิดในจีนัส ไอเมอเรีย ตั้งแต่ อะเซอร์วูลินา แมกซิมา และเทเนลลา เป็นเชื้อบิดที่พบได้บ่อยที่สุด ความต้านทานต่อโรคบิดจากภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์แบบเป็นไปไม่ได้ แม้ว่า ไก่จะมีอายุมากแล้วก็ตาม แต่ภูมิคุ้มกันบางส่วนสามารถเกิดขึ้นได้โดยการใช้วัคซีน และการใช้โปรแกรมยากันบิดที่มีให้เลือกใช้หลายชนิดในอาหารสัตว์
               การไม่ใช้ยากันบิดเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสม เนื่องจาก เชื้อบิด เป็นโปรโตซัวก่อโรคที่พบได้ประจำถิ่นในการเลี้ยงสัตว์ปีกเกือบทุกชนิด เนื่องจาก เชื้อบิดสามารถอาศัยในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานมา และสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วได้หลายวิธี จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะควบคุมโรคได้ แม้ว่า ฟาร์มที่ไม่ใช้ยากันบิดส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากโรคบิดแบบอ่อน หรือไม่แสดงอาการ ส่งผลให้ไก่โตช้า เนื่องจาก เชื้อบิดไปเพิ่มจำนวน และทำลายชั้นเยื่อเมือกบนลำไส้ การย่อยอาหาร และการดูดซึมเกิดความบกพร่อง ขณะที่ โรคบิดแบบแสดงอาการทำให้อัตราการป่วย และอัตราการตายสูง และจำเป็นต้องรักษาอย่างมาก และเป็นระยะเวลานานจนกว่าจะควบคุมโรคได้สำเร็จ ดังนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นวิธีการที่นิยมกันมากที่สุดทั่วโลก

ทางเลือกสำหรับการควบคุมโรคบิด
               การเลือกใช้ยากันบิดที่ถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่าย ประการแรก เชื้อบิดมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว บางชนิดพัฒนาภาวะดื้อต่อผลิตภัณฑ์ยากันบิดส่วนใหญ่ที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ดังนั้น โปรแกรมต่างๆจึงมีการนำเสนอ ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ยากันบิดบางชนิดมีการหมุนเวียน หรือเปลี่ยนตามเวลา ประการที่สอง ยากันบิดส่วนใหญ่ผสมอาหารต่ำกว่าระดับที่เป็นพิษสำหรับสัตว์ปีก และเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบบเมตาโบลิซึมของโฮสต์ ประการที่สาม กระแสการเปลี่ยนแปลงการผลิตไก่เนื้อปราศจากยาปฏิชีวนะได้รุกคืบเข้าหายากันบิดที่ในสหรัฐฯจัดเป็นกลุ่มของยาปฏิชีวนะเช่นกัน ทำให้คงเหลือทางเลือกสำหรับการป้องกันบิดน้อยลงทุกที จนถึงตอนนี้ ยากันบิดจากธรรมชาติเชื่อว่า จะเข้ามาแทนที่เคมี และไอโอโนฟอร์ แต่ประสิทธิภาพก็ยังไม่ได้ดีไปกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายจริง ข้อเท็จจริงที่ ยากันบิดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ยิ่งทำให้ยากันบิดจากธรรมชาติมีความเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
               ๑. ยากันบิดกลุ่มเคมี (Chemicals)  เป็นยาสังเคราะห์ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของเชื้อบิดที่ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายไก่ การออกฤทธิ์ของยาเปิดโอกาสสำหรับการพัฒนาภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะระหว่างช่วงเวลาการหยุดยา การออกฤทธิ์ของยาที่ช้าอาจเป็นสาเหตุหลักของการดื้อยาของเชื้อบิดอย่างรวดเร็ว นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดความสามารถในการออกฤทธิ์ของยากันบิดชนิดเคมีมากกว่าที่ยาจะไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เปลี่ยนยากันบิดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆทุก ๓ เดือน และไม่นำผลิตภัณฑ์เดียวกันมาใช้อีกก่อนช่วงสลับยาเป็นเวลา ๙ ถึง ๑๒ เดือน สัตวแพทย์บางคนชอบใช้ผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งชนิดร่วมกันภายในรอบเดียวกัน เพื่อชลอการพัฒนาภาวะดื้อยากันบิด
               ๒. ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ (Ionophores) ผลิตภัณฑ์นี้เตรียมจากการหมักเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์ทำลายเมตาโบลิซึมแร่ธาตุ (Mineral metabolism) ของเชื้อบิด และส่งผลตั้งแต่ระยะแรกของเชื้อโปรโตซัวในช่องทางเดินอาหาร แต่ก็ส่งผลต่อการพัฒนาเชื้อบิดในการติดเชื้อเข้าสู่สัตว์ แม้ว่า ยากลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่ากลุ่มเคมี แต่ไม่เหนี่ยวนำให้เชื้อดื้อยา (Resistance) แต่มีความทนทานต่อยา (Tolerance) มากขึ้น การเพิ่มขนาดของยากลุ่มไอโอโนฟอร์ยังสามารถแก้ปัญหาความทนทานต่อยาได้ แต่หากใช้ในระดับสูงก็อาจเป็นพิษต่อไก่ ยากลุ่มไอโนฟอร์ไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันนานกว่า ๖ เดือน ยืดออกไปได้ไม่เกิน ๖ ถึง ๙ เดือน โปรแกรมยากันบิดตามปรกติจึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อยืดเวลาให้ยากันบิดออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นานที่สุด แต่ไม่ใช่ยาทุกชนิดในกลุ่มไอโนฟอร์ออกฤทธิ์ต่อเมตาโบลิซึมของแร่ธาตุเหมือนๆกัน
               ๓. สารประกอบจากธรรมชาติ (Natural compounds) การใช้สารเติมอาหารสัตว์ได้ผ่านการทดสอบเป็นทางเลือกใหม่ทดแทนยากันบิดกลุ่มเคมี และไอโอโนฟอร์ สารประกอบจากพืช (Phytogenic compounds) ถูกจับตาอย่างมากในงานวิจัย โดยการฆ่า หรือหยุดการพัฒนาของเชื้อบิด อีกวิธีหนึ่งคือ การใช้โปรไบโอติค (Probiotics) ที่ทำให้การสร้างนิคมตามทางเดินอาหารของเชื้อบิดยากขึ้น และยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันของสัตว์โดยภาพรวมโดยอาศัยสารประกอบที่มีฤทธิ์ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน นับเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการควบคุมโรคบิด แต่ปัจจุบัน ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์เดียวที่สามารถใช้ทดแทนยากันบิดกลุ่มเคมี และไอโอโนฟอร์ โดยมีประสิทธิภาพได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ทำให้เริ่มมีผู้สนใจการใช้วัคซีนกันบิดมากขึ้น

ผลข้างเคียงของยากันบิดต่อสุขภาพไก่
               ยากันบิดมิได้ปราศจากอันตรายต่อไก่ โดยเฉพาะการใช้ยาเกินขนาด ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ
               ๑. ยากันบิดกลุ่มเคมี แอมโพรเลียม (Amprolium) แม้ว่า ไก่เนื้อส่วนใหญ่นิยมใช้ยากลุ่มไอโนฟอร์ โดยยากลุ่มเคมีก็มักนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมร่วม โดยเฉพาะ เมื่อมีการระบาดรุนแรง ยาแอมโพรเลียมเป็นที่รู้จักกันดีว่า ออกฤทธิ์ขัดขวางการใช้วิตามินไทอะมีน (Thiamine antagonist) วิตามินชนิดนี้ ตามปรกติเป็นองค์ประกอบชนิดหนึ่งในพรีมิกซ์ของวิตามิน และผสมอยู่ปริมาณมากในอาหารไก่เนื้อ เอนไซม์ที่ออกฤทธิ์ทำลายไทอะมีน เรียกว่า ไทมิเนส (Thiaminase) มักปรากฏในปลาป่นที่ไม่มีคุณภาพ การบรรจบกันของยาแอมโพรเลียม และปลาป่นคุณภาพต่ำ สามารถสร้างปัญหาต่อสุขภาพไก่เนื้อได้ ยากันบิดอีกกลุ่มคือ ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) เป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อเมตาโบลิซึมของวิตามินชนิดกรดโฟลิก (Folic acid metabolism)
               ๒. ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ชนิดโมเนนซิน (Monensin) และไอโอโนฟอร์ ยากันบิดชนิดโมเนนซินมีคุณสมบัติคล้ายกับไอโนฟอร์ส่วนใหญ่คือ ส่งผลต่อเมตาโบลิซึมของแร่ธาตุ โดยส่งผลให้วัสดุรองพื้นแห้งขึ้นในไก่เนื้อ ในทางตรงกันข้าม ยาลาโซลาซิด ส่งผลต่อต่อเมตาโบลิซึมของแร่ธาตุ และส่งผลให้วัสดุรองพื้นเปียกขึ้นกว่าปรกติ มิใช่ว่ายาไอโอโนฟอร์ทุกชนิดออกฤทธิ์ต่อเมตาโบลิซึมของแร่ธาตุวิธีเดียวกัน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์บางชนิดในสภาวะที่เกิดความเครียดจากความร้อน เนื่องจาก เมตาโบลิซึมของแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อภาวะช็อกจากความร้อนในไก่           

บทสรุป
           สัตวแพทย์ควรเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมการใช้ยากันบิดที่เฉพาะสำหรับแต่ละฟาร์ม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และผลการเลี้ยงก่อนหน้านี้ การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อบิดมีความจำเป็นต่อการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม การต้านยา และทนทานต่อยาควรพิจารณา นักโภชนาการอาหารสัตว์ควรระมัดรวังเลือกใช้ยาต้านบิดที่ถูกต้อง โดยมิให้รบกวนระบบเมตาโบลิซึมของสารอาหาร

เอกสารอ้างอิง

   Mavromichali I. 2016. Exploring limited options against broiler coccidiosis. [Internet]. [Cited 2016 Sep 30]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/28363-exploring-limited-options-against-broiler-coccidiosis


ภาพที่ ๑ ไก่เนื้อที่เกิดโรคบิดแบบไม่แสดงอาการ เนื่องจาก เชื้อบิด อาศัยอยู่ตามสิ่งแวดล้อม



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...