หนอนแมลงวันทหารดำป่น
ปริมาณเพียงเล็กน้อยช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของไก่เนื้อ
และลดอัตราการรอดชีวิตระหว่างการเกิดโรคไทฟอยด์ไก่
หนอนแมลงวันทหารดำป่น เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ
สำหรับทดแทนถั่วเหลือง และปลาป่นในอาหารสัตว์ได้ ในอาหารไก่เนื้อ หนอนแมลงวันทหารดำป่น
สามารถทดแทนถั่วเหลืองได้โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หนอนแมลงวันทหารดำป่นมีผลต่อผลผลิตไก่เนื้อ
โดยเฉพาะ การเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์
การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
ในการศึกษาเร็วๆนี้เมื่อปีที่แล้ว ลี และคณะ
ศึกษาผลของหนอนแมลงวันทหารดำป่นต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อไก่เนื้อที่ให้เชื้อ
ซัลโมเนลลา เอนเทอริคา ซีโรวาร์ กัลลินารัม หรือ ซ. กัลลินารัม
เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่เป็นสาเหตุของโรคไทฟอยด์ไก่ ทำให้ไก่ป่วยแสดงอาการเบื่ออาหาร
ท้องเสีย ขาดน้ำ แต่ยังรวมถึง เลือดจาง ตับม้ามโต
และเลือดออกตามทางเดินอาหารของไก่ อัตราการตายสูง
โรคไทฟฟอยด์ไก่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศเอเชีย
รวมถึง เกาหลี และอินเดีย การผสมหนอนแมลงวันทหารดำป่นในปริมาณเล็กน้อยช่วยส่งเสริมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ
ลดอัตราการตาย และช่วยกำจัดเชื้อโรคเมื่อป้อนเชื้อพิษทับ ซ. กัลลินารัม
ให้ได้ รวมถึง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แม้ว่า เชื้อ ซ. กัลลินารัม
ไม่พบในยุโรป และอเมริกาเหนือแล้ว ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า
คุณสมบัติการป้องกันโรค
และกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในไก่เนื้อด้วยหนอนแมลงวันทหารดำป่นผสมในอาหารสัตว์เป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทั่วไป
หนอนแมลงวันทหารดำป่นช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
ระหว่างการทดลอง ไก่เนื้อได้รับอาหารที่เสริมด้วยหนอนแมลงวันทหารดำป่นป่นที่สัดส่วนร้อยละ
๑ ๒ และ ๓ โดยน้ำหนักนับตั้งแต่อายุ ๑ วัน ที่อายุ ๒๐ วัน เก็บตัวอย่างม้าม
แล้วแยกเซลล์ม้ามออกเพื่อหาอัตราส่วนระหว่างลิมโฟไซต์ชนิด ที
หากลุ่มประชาการเซลล์ที่มีเครื่องหมาย CD3+ และ CD4+ เซลล์ทั้งสองชนิดเป็นเครื่องหมายที่สำคัญสำหรับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
จำนวนของเซลล์ CD3+ และ CD4+ มีสัดส่วนสูงในไก่ที่ให้หนอนแมลงวันทหารดำป่นเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
สังเกตได้ว่า ปริมาณของเซลล์ CD3+ และ CD4+ เพิ่มขึ้นตามปริมาณของหนอนแมลงวันทหารดำป่นที่มีสัดส่วนมากขึ้น โดยการเสริมหนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ
๒ และ ๓ บ่งชี้ว่า ช่วนส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น
การเพิ่มจำนวนของเซลล์ลิมโฟไซต์ในม้าม
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามปริมาณของหนอนแมลงวันทหารดำป่นในอาหารไก่เนื้อ
บ่งชี้ว่า การเสริมหนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ ๒ และ ๓
ช่วยส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของเซลล์ลิมโฟไซต์ในไก่เนื้อได้
เพิ่มฤทธิ์ของไลโซไซม์
นอกจากนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า การทำงานของไลโซไซม์ในกระแสเลือดของไก่เนื้อที่เสริมด้วยหนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ
๒ และ ๓ ยังมีฤทธิ์สูงขึ้น ไลโซไซม์เป็นเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายผนังเซลล์แบคทีเรีย
และมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เก็บกิน เช่น มาโครฝาจ
ที่เป็นเม็ดเลือดขาวที่กำจัดเชื้อจุลชีพ และสิ่งแปลกปลอม และแกรนูโลไซต์
ที่เป็นเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับแบคทีเรีย รา และปรสิต
ผลการทดลองนี้ บ่งชี้ว่า การผสมหนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ ๒ และ ๓ ในอาหารสัตว์
ช่วยส่งเสริมการทำลายแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปล่อมของเซลล์เก็บกินในไก่เนื้อได้
หนอนแมลงวันทหารดำป่นบรรเทาโรคไทฟอยด์ไก่
การทดสอบการติดเชื้อเชื้อโดยศึกษาผลต่อภูมิคุ้มกันภายหลังการเสริมหนอนแมลงวันทหารดำป่น
พบว่า ที่อายุ ๑๘ วัน ไก่เนื้อที่ได้รับเชื้อพิษทับ ซัลโมเนลลา กัลลินารัม
โดยการป้อนปากขนาด ๕ x
๑๐๑๐ ซีเอฟยู ถือว่าความเข้มข้นสูงมากๆ ไก่ที่ให้หนอนแมลงวันทหารดำป่นตายช้าลงราว
๒ ถึง ๓ วันเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เริ่มตายตั้งแต่สามวันหลังการติดเชื้อ
แม้กระทั่งวันที่ ๑๕ อัตราการรอดชีวิตสุดท้ายในกลุ่มที่ให้อาหารเสริมหนอนแมลงวันทหารดำป่นก็สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเป็นแบบตามขนาดความเข้มข้นอีกด้วย
กลุ่มควบคุมมีอัตรารอดชีวิตร้อยละ ๕๐ หนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ ๑
อัตรารอดชีวิตร้อยละ ๖๗ หนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ ๒ อัตรารอดชีวิตร้อยละ ๗๕
โดยเฉพาะ หนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ ๓
อัตรารอดชีวิตสูงถึงร้อยละ ๘๕ หากอ้างตามรายงานการวิจัยก่อนหน้านี้
อัตราการตายของโรคนี้สูงถึงร้อยละ ๑๐๐ และสัตว์ที่อายุ ๒ ถึง ๓ สัปดาห์มีความไวรับสูงเป็นพิเศษ
ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงเห็นเห็นว่า แม้สัดส่วนของหนอนแมลงวันทหารดำป่นระดับต่ำในอาหารสัตว์ก็ยังสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของไก่เนื้อได้ภายหลังการป้อนเชื้อพิษทับ ซัลโมเนลลา กัลลินารัม
การกำจัดเชื้อก่อโรค
ปริมาณของเชื้อ ซัลโมเนลลา กัลลินารัม
มีชีวิตในตับ ม้าม ต่อมเบอร์ซา และไส้ตัน
ของไก่เนื้อที่ได้รับเชื้อพิษลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ให้หนอนแมลงวันทหารดำป่นร้อยละ
๒ และ ๓ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่อายุ ๑๖ วันภายหลังการติดเชื้อ โดยเฉพาะ
ในตับ ม้าม และไส้ตัน และเบอร์ซา บ่งชี้ว่า การเสริมหนอนแมลงวันทหารดำป่นช่วยเพิ่มความสามารถในการกำจัดเชื้อ
ซัลโมเนลลา กัลป์ลินารัม ภายหลังการติดเชื้อ
เพิ่มการเจริญเติบโตไก่เนื้อ
การศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่า
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากสิ่งกระตุ้นช่วยให้การเจริญเติบโตในไก่เนื้อดีขึ้น เนื่องจาก
สถานะสุขภาพที่ดีขึ้น สมมติฐานนี้ได้รับการยืนยันโดยการวิจัยล่าสุดอีกด้วย
ไก่เนื้อที่ให้อาหารสัตว์ผสมหนอนแมลงวันทหารดำป่น ช่วยส่งเสริมการเพิ่มน้ำหนักจนถึงน้ำหนักเป้าหมาย
๑.๓ กิโลกรัมสองวันก่อนกลุ่มควบคุม (๓๐ วันแทนที่จะเป็น ๓๒ วัน)
บทสรุป
ผลของการใช้เครื่องหมายทางภูมิคุ้มกัน
และการตรวจวัดการติดเชื้อ สามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบของหนอนแมลงวันทหารดำป่นเป็นสารกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้
และช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้ดีในไก่เนื้อต่อเชื้อแบคทีเรียทั่วไป ยังไม่สามารถยืนยันได้จริงๆว่า
ปริมาณของหนอนแมลงวันทหารดำป่นเพียงเล็กน้อยที่เติมในอาหารไก่มีฤทธิ์ป้องกันโรคได้จริงหรือไม่ในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์เหมือนในห้องทดลองหรือไม่
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการตรวจวัดการติดเชื้อก็อาจเป็นเหตุผลที่ดีประการหนึ่งในการลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
และหนอนแมลงวันทหารดำป่นก็เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของหนอนแมลงวันทหารดำป่นที่มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันก็ยังไม่ทราบแน่ชัด
ควรมีการวิจัยต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
ภาพที่ ๑ แมลงมีค่าโภชนะที่น่าสนใจ
มีผลดีต่อผลผลิตไก่เนื้ออย่างกว้างขวาง (Ebertz, 2019)