วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

พนักงานโรงเชือดในอังกฤษ ท่ามกลางวิกฤติโควิด ๑๙


พนักงานที่โรงเชือดสัตว์ปีกของมอย พาร์ก หยุดงานกันตั้งแต่เมื่อวันพุธที่ ๒๕ มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจาก การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 

แม้ว่า สหภาพแรงงานอ้างว่ามีแรงงานหยุดงานราวพันคนที่มอย พาร์ก ในไอร์แลนด์เหนือ เนื่องจาก คนงานวิตกกังวลต่อการปฏิบัติงานภายในโรงงาน โดยไม่มีมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโคโรนาไวรัส  แต่บริษัทยืนยันว่ามีเพียงร้อยคนเท่านั้น และกลับเข้าทำงานแล้ว ภายหลังประท้วงเพียงสิบห้านาทีเท่านั้น มอย พาร์ก ยืนยันว่า สุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงานเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญสูงสุด โดยกำหนดมาตรการที่เข้มงวด เพื่อคุ้มครองพนักงานในองค์กร บริษัทได้ตรวจสอบอย่างถ้วนถี่ตลอดทั่วทุกกิจกรรม และสื่อสารกับพนักงานภายในบริษัทอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ มีการกำหนดพื้นที่ ๗ แห่งที่ต้องยกระดับกิจกรรมการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing)

อุตสาหกรรมสัตว์ปีกต้องปรับธุรกิจต่อวิกฤติโควิด ๑๙

เมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกตกอยู่ในสถานะล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกก็ถูกแรงกดดันให้ต้องปรับธุรกิจให้เท่าทันต่อสถานการณ์ ผู้ประกอบการเนเธอร์แลนด์ โมบา และพาส รีฟอร์ม เป็นสองตัวอย่างที่ดีในการปรับตัววันต่อวันตามสถานการณ์

กุญแจสำคัญคือ จำกัดการเดินทาง และการเว้นระยะห่างทางสังคม การผลิตสัตว์ปีกภาคฟาร์มจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไปอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก โรงฟักไข่ การบรรจุไข่ และการแปรรูปเนื้อสัตว์ การติดต่อสัมผัสระหว่างภาคส่วนที่ไม่จำเป็น และไม่ต้องเร่งรีบก็จะเลื่อนออกไป

บริษัท โมบา

โมบาได้ประกาศใช้มาตรการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค พนักงาน ตัวแทนคู่ค้า และชุมชน ขณะเดียวกัน ก็ได้ลงมือปฏิบัติทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาบริการไว้ได้

บริษัท รอยัล พาส รีฟอร์ม

ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทได้ส่งสารถึงผู้บริโภคอธิบายถึงมาตรการของบริษัทในการควบคุมการเดินทางของพนักงาน เพื่อป้องกันสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง หรือเลื่อนการประชุมนัดหมาย และฝึกอบรมที่มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก จนกว่าจะมีการประกาศแจ้งให้ทราบต่อไป และเรียกร้องให้คู่ค้าธุรกิจเลื่อนการเยี่ยมชมกิจการของบริษัททุกแห่ง

ทั้งโมบา และพาส รีฟอร์ม ได้ให้พนักงานบริการช่วยเหลือลูกค้ายังปฏิบัติงานในสำนักงานทั่วโลก และคอยติดตามช่วยเหลือลูกค้าได้โดยการประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์ หรือสไคป์ และช่องทางการสื่อสารแบบดิจิตอได้ตลอดเวลา เพื่อการติดต่อประสานงาน และการประชุมเสมือน

เอกสารอ้างอิง

Brockotter F. 2020. Poultry industry players adapt business to Covid-19. [Internet]. [Cited 2020 Mar 19]. Available from:  https://www.poultryworld.net/Home/General/2020/3/Poultry-industry-players-adapt-business-to-Covid-19-557930E/

ภาพที่ ๑ คนงานที่โรงเชือดสัตว์ปีกของมอย พาร์ก ในไอร์แลนด์เหนือหยุดงานกันแล้วตั้งแต่เมื่อวันพุธที่ ๒๕ มีนาคมที่ผ่านมา (แหล่งภาพ https://pixabay.com/photos/coronavirus-virus-mask-corona-4914028/)

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคคริสเปอร์เพื่อพัฒนาไก่ต้านทานโรค


พ่อไก่จะถูกฝากเซลล์สืบพันธุ์ที่ดัดแปลงสำหรับผลิตเป็นลูกไก่ต้านทานโรคลิวโคซิสในไก่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดัดแปลงยีนด้วยเทคนิคคริสเปอร์จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับกำจัดโรคลิวโคซิสในไก่โดยการผลิตเป็นไก่พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

อ้างอิงตามผลการวิจัยใน PNAS นักวิจัยในสาธารณรัฐเชกประสบความสำเร็จในการผลิตไก่ต้านทานโรคโดยปลูกถ่ายเซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกดัดแปลงลงในอัณฑะของพ่อไก่โตเต็มวัย เมื่อพ่อไก่ให้ผลผลิตเป็นลูกไก่ก็สามารถต้านทานต่อโรคลิวโคซิสในไก่ได้ ขณะที่ ลูกไก่ปรกติยังคงมีความไวรับต่อโรคเหมือนเดิม

แม้ว่า รายงานการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินเทคนิคในพันธุ์ไก่ภายในห้องปฏิบัติการเท่านั้น นักวิจัยเชื่อว่า ผลการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในพันธุ์ไก่เชิงพาณิชย์ต่อไปได้ และพันธุ์ไก่ต้านทานโรคลิวโคซิสในสัตว์ปีกพร้อมจำหน่ายให้ลูกค้าได้ภายในเวลาหนึ่งปีครึ่งได้เลย

โรคลิวโคซิสเป็นโรคสำคัญที่กำจัดโรคได้ยากด้วยวิธีการปรับปรุงพันธ์ตามปรกติเป็นเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบสำหรับการทดลองด้วยคริสเปอร์ เนื่องจาก เชื้อไวรัสต้องการตัวรับของเซลล์ที่มีความจำเพาะ วิศวพันธุกรรมพื่อสร้างพันธุ์ไก่ต้านทานเชื้อไวรัสจึงเป็นการลบกรดอะมิโนเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น การนำยีนที่ถูกดัดแปลงแล้วเข้าสู่ไก่มีชีวิตเป็นสิ่งที่ยากมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว ความพยายามผลิตไก่ดัดแปลงพันธุกรรมจะใช้การปลูกถ่ายเซลล์สืบพันธุ์ที่ดัดแปลงแล้วเข้าสู่ไข่ที่เพิ่งออกมาใหม่ๆ แม้ว่าเป็นไปได้ที่ความสำเร็จของวิธีนี้จะมีโอกาสน้อยกว่าวิธีที่เคยใช้กันมา นักวิจัย ๒ คณะจากบริษัทไบโอฟาร์ม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เช็ก ได้พยายามใช้วิธีที่ต่างกันออกไป

แทนที่จะปลูกถ่ายเซลล์สืบพันธุ์ในไข่ฟัก นักวิจัยได้ใส่ลงในอัณฑะของพ่อไก่แทน เพื่อให้เซลล์สืบพันธุ์พัฒนาต่อไปเป็นอสุจิ ในรายงานวิจัยล่าสุด ผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่า ลูกไก่ที่ได้จากยีนส์ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมจากพ่อไก่ยังคงสามารถต้านทานต่อโรคลิวโคซิสได้อีกสองปี

ขณะที่ ไก่ทดลองสามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัสลิวโคซิสกรุ๊ปเจ เป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสยังสามารถกลายพันธุ์ต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักการเดียวกันยังสามารถพัฒนาให้สายพันธุ์ไก่ต้านทานต่อโรคได้อีกต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Penrod E. 2020. New CRISPR method produces ALV resistant chickens. [Internet]. [Cited 2020 Feb 14]. Available from:  https://www.wattagnet.com/articles/39670-new-crispr-method-produces-alv-resistant-chickens

ภาพที่ ๑ เทคนิคคริสเปอร์เพื่อพัฒนาไก่ต้านทานโรค (แหล่งภาพ Gabriela Pernecka, Freeimages.com)

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...