วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

นักวิจัยยืนยันการกินไข่ไม่เกี่ยวกับสโตรค


นักวิจัยยืนยันว่า การบริโภคไข่เพียงวันละฟองไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคสโตรค จากผลการวิจัยในสแกนดิเนเวีย
สโตรค (Stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือดจนทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนทำให้ผู้ป่วยแสดงอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด เดินเซ ทรงตัวลำบาก
นักวิจยไม่พบความสัมพันธ์กับพาหะของฟีโนไทป์ เอพีโออี ๔ ที่มีบทบาทสำคัญต่อเมตาโบลิซึมของคอเลสเตอรอล และพบได้บ่อยในประชากรชาวฟินแลนด์ ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ รายงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอล หรือไข่ไก่ และความเสี่ยงต่อสโตรคได้ถูกโต้แย้งจากรายงานการวิจัยจำนวนมากในปัจจุบัน ผลวิจัยล่าสุดในประชากร ๓๐,๐๐๐ ราย เพิ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในสหรัฐฯ พบว่า การกินไข่ไก่เฉลี่ย ๒ ฟองต่อวัน มีความเสี่ยงต่อหัวใจวาย และโรคตามระบบหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗ และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๔
แต่ผลการวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ American Journal of Clinical Nutrition พบว่า การบริโภคไข่ไก่ หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงไม่มีความสัมพันธ์กับสโตรคที่เพิ่มขึ้น

ผลวิจัยที่น่าประหลาดใจ
                การวิเคราะห์ข้อมูลโดยมหาวิทยาลัยฟินแลนด์ตะวันออกโดยใช้ข้อมูลด้านสุขภาพ และโภชนาการจากชาย ๑ ๙๕๐ คน อายุระหว่าง ๔๒ ถึง ๖๐ ปี ที่ไม่มีประวัติโรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นเวลาต่อเนื่องกว่า ๒๑ ปี มีผู้ป่วยสโตรค ๒๑๗ ราย
               โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายกินไข่ราว ๔.๕ ฟองต่อสัปดาห์ ได้รับคอเลสเตอรอล ๔๐๘ มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อพิจารณาพฤติกรรม และสุขภาพ นักวิจัยพบว่า ไม่พบความแตกต่างของความเสี่ยงระหว่างผู้ชายที่กินไข่ไก่น้อยกว่า ๒ ฟองต่อสัปดาห์ และผู้ชายที่กินไข่ไก่มากกว่า ๖ ฟองต่อสัปดาห์

ผลวิจัยไม่สามารถตีความครอบคลุมถึงทุกคน ทุกประเทศได้
               ผลวิจัย บ่งชี้ว่า การกินคอเลสเตอรอล หรือไข่ไก่ ปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสโตรค แม้กระทั่งในคนที่มีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยโน้มนำที่จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลจากการบริโภคอาหารสูงขึ้นกว่าคนปรกติก็ตาม กลุ่มควบคุมที่กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงที่สุด ๕๒๐ มิลลิกรัมต่อวัน และกินไข่ไก่เฉลี่ยแล้ววันละฟอง โดยไม่สามารถทำให้สูงไปกว่าระดับนี้ได้  
ไข่ไก่ ๑ ฟองประกอบด้วยคอเลสเตอรอลประมาณ ๒๐๐ มิลลิกรัม และจากการทดลองครั้งนี้ หนึ่งในสี่ของคอเลสเตอรอลทั้งหมดที่กินเข้าไปมาจากไข่ไก่

กินไข่ไก่แต่พอประมาณ
               การศึกษาครั้งนี้ ย้ำให้นักวิจัยมุ่งไปที่คนที่ไม่เคยมีประวัติโรคหัวใจ และหลอดเลือดมาก่อน และกลุ่มประชากรที่ศึกษาค่อนข้างน้อย นักวิจัยแนะนำให้การศึกษาในอนาคตควรขยายขนาดกลุ่มประชากรให้ใหญ่กว่านี้ รวมถึง ควรครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เคยมีประวัติโรคหัวใจ และหลอดเลือด และกำลังได้รับคำแนะนำให้จำกัดการกินคอลเลสเตอรอล และไข่ไก่
               หัวหน้าคณะผู้วิจัย Jyrki Virtanen แห่งภาควิชาระบาดวิทยาที่มหาวิทยาลัยฟินแลนด์ตะวันออก กล่าวกับนิวยอร์กไทม์ไว้ว่า การกินไข่ไก่แต่พอประมาณเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือเบาหวาน การกินไข่ไก่ 1 ฟองต่อวันเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
                การศึกษาครั้งนี้ตีพิมพ์หลังจากรายงานจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร วิเคราะห์ข้อมูลจากชาย และหญิงมากกว่า ๔๐๐,๐๐๐ รายในยุโรปเป็นเวลา ๑๒ ปี และพบว่า การเพิ่มการกินไข่ไก่ทุกร้อยละ ๒๐ (ประมาณครึ่งฟองต่อวัน) ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รายงานนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ American Heart Association Journal โดยยังพบผลดีจากการบริโภคโยเกิร์ต และชีส ขณะที่การบริโภคเนื้อแปรรูป และเนื้อแดง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  

เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019. Research shows egg consumption not linked to stroke risk. [Internet]. [Cited 2019 Mar 24]. Available from: https://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2019/5/Research-shows-egg-consumption-not-linked-to-stroke-risk-431673E/

ภาพที่ ๑ นักวิจัยยืนยันการกินไข่ไม่เกี่ยวกับสโตรค (แหล่งภาพ Willem Schouten)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...