วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565

ยุโรปเผชิญกับการระบาดโรคไข้หวัดนกครั้งใหญ่ที่สุด

 สถาบันสุขภาพสัตว์เยอรมัน Friedrich-Loeffler-Institut (FLI) แจ้งกับสื่อข่าวรายใหญ่ของเยอรมัน DPA ต่อข้อห่วงใยถึงการระบาดของโรคไข้หวัดนกยังไม่มีวี่แววว่าจะจบลง

สถาบันสุขภาพสัตว์เยอรมันให้ข่าวว่า ยังไม่เห็นลางว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนกจะสิ้นสุดลง และเตือนว่าอาจเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปลายฤดูหนาวนี้ กว่าจะไปถึงฤดูใบไม้ผลิก็ยังอีกยาวนาน ถึงเวลานี้มีรายงานใหม่ทุกวันทั้งในนกป่า หรือฟาร์ม การกระจายโรคเป็นพื้นที่กว้างขวางมาก

ไข้หวัดนกระบาดในยุโรป ๖๗๕ ครั้งแล้ว

              นับตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมา เชื้อไวรัสถูกตรวจพบรวมแล้ว ๖๗๕ ครั้งในนกป่า และมีรายงานการระบาด ๕๓๔ ครั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์ปีกหลังบ้าน และเลี้ยงเชิงพาณิชย์ นอกจากนั้น ยังตรวจพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอีกหลายประเทศ ทั้งในสุนัขจิ้งจอกในเนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ ในแมวน้ำ เยอรมัน และสวีเดน และนากในฟินแลนด์  องค์กรสัตว์ปีกในเนเธอร์แลนด์ Avined เตือนว่า สถานการณ์ในยุโรปยังคงตึงเครียดมาก เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา การระบาดยังพบในฟาร์มไก่ไข่ขนาดใหญ่ในเมือง Veurne ประเทศเบลเยียม และฟาร์มไก่งวง  การระบาดของโรคไข้หวัดนกมีรายงานในฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้านในเยอรมัน จำนวนสัตว์ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักรเป็น ๕๗ ครั้งจากรายงานล่าสุดยังมีอีก ๒ ครั้งในวันที่ ๒๘ ธันวาคมที่ผ่านมา นอกจากนั้น โปรตูเกส และสโลเวเนีย ยังมีรายงานเพิ่มเติมต่อองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือโอไออี

โรคไข้หวัดนกยังคงระบาดต่อไป

               โรคไข้หวัดนกยังระบาดต่อไปอย่างกว้างขวาง และไม่เป็นไปตามฤดูกาลอย่างที่คาดหวัง ดังนั้น ควรหาวิธีการแก้ไขปัญหามากกว่าการพึ่งพามาตรการทำลายสัตว์ปีกเมื่อพบโรค ตามข้อเสนอของ Kees de Jong หัวหน้าหน่วยสัตว์ปีกขององค์กรเกษตรกรรม และพืชสวน (LTO) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เสนอต่อนักวิจัยเยอรมัน และแนะนำให้ทำวัคซีนนักวิจัยที่ FLI สถาบันวิจัยด้านสวัสดิภาพสัตว์ของรัฐ โต้แย้งว่า ยุโรปไม่เคยประสบกับปัญหาโรคไข้หวัดนกร้ายแรงเช่นนี้มาก่อน ก่อนหน้านี้ เชื้อไวรัสพบในประเทศที่มีแหล่งน้ำหลายแห่ง เช่น เนเธอร์แลนด์ และจะเกิดการระบาดช่วงฤดูอพยพของนกในหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพบเชื้อไวรัสในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำน้อยตลอดทั้งปี เช่น เชื้อไวรัสถูกตรวจพบในรังนกที่มีลูกนกอาศัยอยู่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตที่ผ่านมา     

วัคซีนไข้หวัดนก

              de Jong ชี้ให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนขนาดใหญ่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสได้ แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะยอมรับกลยุทธ์การควบคุมโรคด้วยวัคซีน เนื่องจาก เป็นห่วงต่อความปลอดภัยของเนื้อ และไข่จากสัตว์ที่ให้วัคซีน เชื้อไวรัสระบาดอย่างรวดเร็วมาก จำนวนประเทศเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในความเห็นของ de Jong แล้ว เนื้อสัตว์ปีกที่ให้วัคซีนปลอดภัยต่อการบริโภค ในอนาคตอันใกล้ก็จะมีการทดลองใช้วัคซีนในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศสแล้ว ในฝรั่งเศส โรคไข้หวัดนกระบาดอย่างมากในฟาร์มเป็ด 

เอกสารอ้างอิง

Graumans K. 2022. Europe faces largest bird flu epidemic ever. [Internet]. [Cited 2022 Jan 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2022/1/Europe-faces-largest-bird-flu-epidemic-ever-837982E/

ภาพที่ ๑ โรคไข้หวัดนกระบาดอย่างกว้างขวาง และไม่เป็นไปตามฤดูกาลอย่างที่คาดหวังไว้แล้ว ควรพิจารณามาตรการควบคุมโรคอื่นๆนอกเหนือจากการทำลายสัตว์ป่วยอย่างเดียว (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565

ผู้เลี้ยงเป็ดติดหวัดนกรายแรกในสหราชอาณาจักร

 ผู้เลี้ยงเป็ดหลังบ้านเป็นชาวสหราชอาณาจักรรายแรกที่ติดโรคไข้หวัดนก

ผู้ติดเชื้อรายแรกของสหราชอาณาจักรเป็นชายอายุ ๗๙ ปีจาก Buckfastleigh เมือง Devon เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ ขณะนี้ สัตวแพทย์ได้ทำลายเป็ดมัสโควีจำนวน ๑๖๐ ตัวในฟาร์ม รวมถึง บางส่วนที่อาศัยในบ้านของผู้ติดเชื้อในทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อสู่คนอื่นๆ ภายหลังการสอบสวนโรคผู้ใกล้ชนิด ผู้ติดเชื้อไม่ถึงกับต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แค่แยกตัวเองเท่านั้น

การระบาดของโรคไข้หวัดนกสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ เป็นวิกฤติโรคไข้หวัดนกที่ใหญ่ที่สุดในเกาะอังกฤษ ทำลายสัตว์ปีกไปแล้วเกือบ ๒ ล้านตัวในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาวนี้

การติดเชื้อในมนุษย์พบได้ยากมาก

              ศาสตราจารย์ Mike Tildesley ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองโรคระบาดที่มหาวิทยาลัย Warwick มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ แล้ว ๖๐ ถึง ๖๕ ครั้งทั่วสหราชอาณาจักร และมีความเห็นว่า การติดเชื้อในมนุษย์พบได้ยากมากมาก และโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นกับผู้เลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม หรือก่อนหน้านี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อไปในผู้ค้าขายในตลาดค้าสัตว์ปีกที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ปีก นั่นจึงจะเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่ต้องใกล้ชิดกับสัตว์ โดยทั่วไป ไม่ค่อยพบการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน และยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ขณะนี้ยังไม่มีความเสี่ยงด้านสาธารณสุข     

              ผู้ป่วยรายนี้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก การใช้ยาต้านไวรัสจึงสามารถช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี อาการคล้ายกับการติดเชื้อโคโรนาไวรัสมีอาการไอ และไข้

ไม่พบการติดเชื้อเพิ่มเติม

              หน่วยงานคุ้มครองสุขภาพสัตว์แห่งสหราชอาณาจักรเน้นย้ำว่า การแพร่กระจายของโรคจากสัตว์ปีกสู่มนุษย์เกิดขึ้นได้ยากมาก และปรากฏเพียงไม่กี่ครั้งในสหราชอาณาจักร

              การติดเชื้อในมนุษย์เป็นผลมาจากการอยู่ใกล้ชิดกันอย่างมาก และสม่ำเสมอ โดยมีจำนวนสัตว์ปีกที่ติดเชื้อจำนวนมาก ที่เลี้ยงภายใน และรอบบ้านเป็นเวลานาน

              ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมถึง ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมฟาร์มของผู้ป่วย ถูกสอบสวนโรค และไม่มีหลักฐานการแพร่กระจายของโรคต่อไปแต่อย่างใด ความเสี่ยงต่อการระบาดต่อไปของโรคไข้หวัดนกยังคงต่ำมาก อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วย หรือตาย   

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2022. Backyard duck keeper first in UK to contract bird flu. [Internet]. [Cited 2022 Jan 11]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2022/1/Backyard-duck-keeper-first-in-the-UK-to-contract-bird-flu-840707E/

ภาพที่ ๑ ผู้เชี่ยวชาญด้านเป็ดที่เกษียณอายุไปแล้ว ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกเอช ๕ เอ็น ๑ ในสหราชอาณาจักรที่มีเป็ดมัสโควีจำนวน ๑๖๐ ตัวในฟาร์ม โดยเลี้ยงไว้ภายในบ้านตัวเองด้วย (แหล่งภาพ Elstef)



วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565

การปรับแก้จีโนมยุติการคัดทิ้งลูกไก่ไข่เพศผู้

 นักวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีการปรับแก้จีโนมเพื่อผลิตหนูทดลองเพศเดียว ซึ่งจะสามารถใช้เพื่อการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกต่อไป

นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยเคนต์ และสถาบันฟรานซิสคริค ได้ใช้เทคโนโลยีการปรับแก้จีโนม เพื่อผลิตลูกหนูทดลองที่มีเพศเมีย หรือเพศผู้เท่านั้น โดยประสบความสำเร็จสูงถึงร้อยละ ๑๐๐

คณะนักวิจัยเชื่อว่า ผลงานครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่สามารถช่วยส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ทั้งในด้านการวิจัย และการเกษตรกรรม ในฟาร์ม สัตว์เพศเมียเท่านั้นที่สามารถให้ผลผลิตไข่ และนมได้ หมายความว่า เพศที่ไม่เป็นที่ต้องการจะต้องถูกคัดทิ้งตั้งแต่เกิด  

วิธีการใหม่สำหรับนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature Communications ได้ใช้ระบบพันธุกรรม ๒ ส่วน สำหรับทำให้ตัวอ่อนหยุดการทำงานภายหลังการผสมพันธุ์ ดังนั้นจึงมีเหลือแต่เพศที่เป็นที่ต้องการให้พัฒนาต่อไปได้ ด้วยเทคนิคทางพันธุกรรมดังกล่าวจะช่วยควบคุมเพศของลูกได้ เพื่อจะได้ลดการคัดทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์  

ดร. Peter Ellis อาจารย์อาวุโสในภาควิชาพันธุอณูชีววิทยา และการสืบพันธุ์ ที่มหาวิทยาลัยเคนท์ อ้างว่า ประโยชน์ของผลวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพียงการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ แต่ยังแผ่ขยายไปไกลในระดับของกฏหมาย และจริยธรรม 

ลูกไก่มากกว่า ๔ ถึง ๖ พันล้านตัวในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกถูกทำลายไปในแต่ละปีทั่วโลก โดยหลักการ คณะผู้วิจัยพยายามนำเสนอระบบที่ใช้แทนที่การทำลายลูกสัตว์ปีกขณะที่เกิดมาแล้ว และมีระบบประสาทที่สามารถเกิดความเจ็บปวด ไข่ฟักตัวอ่อนลูกสัตว์ปีกสามารถวางได้ แต่จะต้องไม่ถูกฟักเป็นตัว

สวัสดิภาพสัตว์ต้องมาก่อน

              รายงานล่าสุดอ้างว่า ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่แก้ไขจีนต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์เป็นสิ่งแรก สภา Nuffield ว่าด้วยจริยธรรมทางชีววิทยา เตือนว่า การห้ามพัฒนาสัตว์แก้ไขจีนเชิงพาณิชย์ จะเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานของสัตว์เลี้ยง

              สภาฯเรียกร้องให้สร้างระบบควบคุมให้สัตว์แก้ไขจีนควรผลิตเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารเท่านั้น และยังอยากเห็นเวทีการถกเถียงทางวิชาการเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้งานวิจัยก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นธุรกิจ และจำเป็นต้องใช้สัตว์ปีกพันธุ์ในฟาร์มที่เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ สิ่งที่ผู้ผลิตสัตว์ปีกเรียกร้องคือความชัดเจนของหลักการนี้

องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Compassion in World Farming) เองก็เห็นว่า การแก้ไขจีนที่มีโอกาสใช้สำหรับคัดแยกเพศไก่เป็นสิ่งที่น่ายินดี และควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่า แม่ไก่จะผลิตแต่ลูกไก่เพศเมียเท่านั้น เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายลูกไก่เพศผู้จำนวนมากในสหราชอาณาจัรกในแต่ละปี ปัจจุบัน รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำลังพิจารณาอนุญาตให้มีการแก้ไขจีนสำหรับภาคปศุสัตว์  

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. Gene-editing breakthrough could end male chick culling. [Internet]. [Cited 2021 Dec 16]. Available from: https://www.poultryworld.net/Genetics/Articles/2021/12/Gene-editing-breakthrough-could-end-male-chick-culling-832053E/

ภาพที่ ๑ นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีแก้ไขจีนเพื่อสร้างหนูทดลองที่เป็นเพศเมีย หรือเพศผู้เท่านั้น โดยประสบความเร็จสูงร้อยละ ๑๐๐ (แหล่งภาพ Pixabay)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...