วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

โอไออีทบทวนการใช้วัคซีนไข้หวัดนก

 การระบาดของโรคไข้หวัดนกเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ทำให้องค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) หรือโอไออี กำลังพิจารณาใหม่ในการให้วัคซีนสัตว์ปีก

จนถึงปัจจุบัน การป้องกันโรคในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์โดยใช้วัคซีนยังไม่เป็นที่ยอมรับ ด้วยเหตุผลหลายประการ เนื่องจาก สัตว์ปีกที่ให้วัคซีนยังสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์ปีกตัวอื่นๆด้วย และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็วกว่าปรกติ ทำให้การให้วัคซีนเกิดประโยชน์น้อยลง

สาเหตุประการอื่นๆ รวมถึง การฉีดสัตว์ปีกหลายตัว ไม่สะดวกในทางปฏิบัติ วัคซีนยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การจำแนกระหว่างสัตว์ที่ติดเชื้อจากสัตว์ที่ให้วัคซีนยังยากลำบาก สวัสดิภาพสัตว์จากการจับสัตว์ฉีดวัคซีน ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้เลี้ยงจนทำให้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพหละหลวมลงไป และประเด็นด้านการค้าขายสัตว์ปีกระหว่างประเทศ

ภาครัฐบาลกำลังพิจารณาการให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก

              ศาตราจารย์ คริสทีน มิดเดิลมิส หัวหน้าสำนักงานกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และชนบท (Department for Environment Food & Rural Affairs, Defra) อ้างว่า การระบาดกว้างขวางออกไปหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ ยุโรป เกิดการระบาดมากกว่า ๒,๓๐๐ ครั้ง และอเมริกาเหนือ รัฐบาลหลายประเทศกำลังพิจารณาการให้วัคซีน ในสหราชอาณาจักร ฟาร์มมากกว่า ๑๖๐ แห่งเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ ในปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พบในอังกฤษมากกว่า ๑๓๕ ครั้ง ครึ่งหนึ่งของฟาร์มเหล่านี้เป็นฟาร์มสัตว์ปีกขนาดใหญ่ ร้อยละ ๒๕ เป็นฝูงสัตว์ปีกหลีงบ้าน และร้อยละ ๒๐ เป็นฟาร์มขนาดเล็ก ดีฟรายังอ้างถึงสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกปล่อยอิสระแห่งสหราชอาณาจักร (British Free Range Egg Producers Association, Bfrepa) เรียกร้องให้องค์การสุขภาพสัตว์โลก พิจารณาทบทวนมาตรการให้วัคซีน อย่างไรก็ตาม ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติมมากกว่านี้

เติมเต็มสิ่งที่ยังไม่รู้

              ขณะนี้ โครงการของศาตราจารย์ เอียน บราวน์ จากหน่วยสุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Agency) แห่งสหราชอาณาจักร กำลังค้นคว้าวิจัยช่องว่างของความรู้เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ และวิธีที่เชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ฟาร์มสัตว์ปีก

              เมื่อโครงการนี้ไม่ได้มองไปที่วัคซีนไข้หวัดนก งานวิจัยบางส่วนเป็นการศึกษาวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ สามารถช่วยในการพัฒนาวัคซีนในอนาคตได้ เป็นสิ่งที่สหภาพยุโรปกำลังให้ความสนใจ

              กระทรวงเกษตรแห่งสหภาพยุโรป บรรลุข้อตกลงเมื่อเดือนพฤษภาคมในการตัดสินใจใช้กลยุทธ์นำวัคซีนไข้หวัดนกสำหรับควบคุมโรค เนื่องจาก ทั่วยุโรปทำลายสัตว์ปีกไปแล้วจำนวนมาก รัฐมนตรีเกษตรสเปน อ้างว่า การทำลายสัตว์ปีกจำนวนมากขนาดนั้น เริ่มไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนแล้ว นอกเหนือจาก ความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล

                สภาอุตสาหกรรมไข่ไก่สหราชอาณาจักร (British Egg Industry Council, BEIC) อ้างถึงคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมปรึกษาหารือถึงข้อดีของการใช้วัคซีน และเริ่มพิจารณากันแล้ว ประเด็นสำคัญในการถกเถียงกันคือ ประเทศคู่ค้าในยุโรปเริ่มยอมรับลูกสัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีก จากฝูงสัตว์ที่ให้วัคซีนหรือไม่ ทั้งนี้ BEIC ก็คาดหวังว่าผลการพิจารณาจะยอมรับการใช้วัคซีน

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. Vaccinating for avian influenza on the OIE agenda. [Internet]. [Cited 2022 Oct 10]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/45962-broiler-breeder-flock-arkansas-first-hpai-case-of-2022

ภาพที่ ๑ เป็ดตายจำนวนมากกำลังถูกเคลื่อนย้ายโดยรถขนสัตว์ปีกตายที่ฟาร์ม ภายใต้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เนื่องจาก การติดโรคไข้หวัดนกสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ (แหล่งภาพ Jo-Anne McArthur, 2022)



วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ฟาร์มไก่พันธุ์อาร์คันซอพบหวัดนกครั้งแรกของปี

 โรคไข้หวัดนกยืนยันแล้วในเมืองเมดิสัน

รัฐอาร์คันซอพบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยพบในฟาร์มไก่เนื้อ (พันธุ์) ในเมืองเมดิสัน โดยประกาศไว้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคมโดยหน่วยตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ (Animal and Plant Health Inspection Service, APHIS) กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture, USDA) ขณะนี้ พื้นที่ระบาดในเมืองเมดิสันยังไม่ได้ปิดลง ตัวอย่างจากฟาร์มดังกล่าวได้รับการตรวจสอบ และยืนยันโดยห้องปฏิบัติการบริการทางสัตวแพทย์ระดับชาติของหน่วยตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ ในเมืองเอมส์ รัฐไอโอวา    

              หน่วยตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพสัตว์ของรัฐอาร์คันซอ เจ้าหน้าที่รัฐได้กักกันบริเวณโรคระบาด และสัตว์ปีกในพื้นที่ทั้งหมดจะถูกทำลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคต่อไป

โครงการจัดการเกมเบิร์ดเกิดการระบาด

 หน่วยตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ รายงานว่า โครงการจัดการเกมเบิร์ดเป็นบริเวณที่ได้รับการยืนยันโรคแล้วในเมือง Brule รัฐเซาต์ดาโกต้า โดยมีฝูงสัตว์ปีกทั้งหมด ๕๐๐ ตัว ที่ได้รับการยืนยันแล้วเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคมที่ผ่านมา

  เมือง Brule ได้รับการยืนยันล่าสุดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม โดยมีไก่งวง ๕๕,๑๐๐ ตัวที่เกิดโรค  

เอกสารอ้างอิง

Graber R. 2022. Broiler breeder flock Arkansas’ first HPAI case of 2022. [Internet]. [Cited 2022 Oct 10]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/45962-broiler-breeder-flock-arkansas-first-hpai-case-of-2022

ภาพที่ ๑ ฟาร์มไก่พันธุ์อาร์คันซอพบหวัดนกครั้งแรกของปี (แหล่งภาพ Mcdougal, 2022)



วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

โรคไข้หวัดนกระบาดหนักในยุโรปช่วงฤดูร้อน

 โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงระบาดหนักในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และสัตว์ป่า อย่างไม่เคยพบมาก่อน ช่วงฤดูร้อนนี้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนในยุโรป อ้างอิงตาม EFSA, European Center for Disease Prevention and Control และห้องปฏิบัติการอ้างอิงของสหภาพยุโรป

ช่วงฤดูร้อนปีก่อนหน้านี้ แทบไม่พบหรือพบน้อยมาก ในปีนี้ในช่วงวันที่ ๑๑ มิถุนายนถึง ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕ พบโรคนี้แล้วรวม ๗๘๘ ครั้งที่เป็นโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป และเขตเศรษฐกิจยุโรป และสหภาพยุโรป ในจำนวนนี้ ๕๖ ครั้งพบในสัตว์ปีก ๒๒ ครั้งในนกขังกรง และ ๗๑๐ ครั้งในนกป่า

ระบาดหนักในนกป่า

              การระบาดในนกป่าพบใน ๑๕ ประเทศของยุโรป เป็นกลุ่มโคโลนีของนกทะเลที่กำลังอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์แถบชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ ทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

จำนวนครั้งสัตว์ป่วยในฟาร์มเพิ่มขึ้น ๕ เท่า

              นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน จำนวนครั้งของการระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกลดลงเปรียบเทียบกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว จำนวนครั้งเพิ่มสูงขึ้นเป็น ๕ เท่า

              การระบาดล่าสุดยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่ การอพยพในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จำนวนนกป่าในยุโรปเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจาก การคงอยู่ของเชื้อไวรัสในยุโรป

การระบาดในพื้นที่ใหม่

              ฤดูกาลของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง ทำให้การระบาดครั้งนี้ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยประสบมาในยุโรป โดยมีจำนวนครั้งของการระบาดในสัตว์ปีกแล้ว ๒,๔๖๗ ครั้ง ทำลายสัตว์ปีกไปแล้ว ๔๗.๕ ล้านตัว อ้างอิงตาม EFSA นอกจากนั้น ยังตรวจพบในนกขังกรง ๑๘๗ ครั้ง และนกป่า ๓,๕๗๓ ตัว  ในปีนี้ยังมีการระบาดในพื้นที่ใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนตั้งแต่หมู่เกาะสวาลบาร์ดในนอร์เวย์ ถึงตอนใต้ของโปรตุเกส และทางตะวันออกไกลถึงยูเครน ส่งผลต่อประเทศในยุโรปกว่า ๓๗ ประเทศ  

เชื้อไวรัสโรคไข้หวัดนกในแถบแอตแลนติก

              ในฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์เอช ๕ เอ็น ๑ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรก แพร่กระจายจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือตามเส้นทางนกอพยพ ส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในสัตว์ปีก ตามจังหวัดต่างๆในคานาดา และสหรัฐฯ ส่งผลให้นกป่าตายไปจำนวนมาก

 เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2022. Unprecedented number of bird flu cases in Europe this summer. [Internet]. [Cited 2022 Oct 12]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/unprecedented-number-of-bird-flu-cases-in-europe-this-summer/

ภาพที่ ๑ การอพยพในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จำนวนนกป่าในยุโรปเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจาก การคงอยู่ของเชื้อไวรัสในยุโรป (แหล่งภาพ Herbert Wiggerman)



วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ออสเตรเลียประกาศมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ใหม่

 กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ แห่งออสเตรเลีย ประกาศว่า การจัดเตรียมมาตรฐานและข้อแนะนำด้านสวัสดิภาพสัตว์ใหม่สำหรับสัตว์ปีกเสร็จสมบูรณ์แล้ว

คณะทำงานอิสระด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่แต่งตั้งโดยกระทรวงเกษตรฯตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยคำปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์สวัสดิภาพสัตว์ และความคาดหวังของชุมชนในท้องถิ่น ร่างเป็นมาตรฐานด้านสัตว์ปีกว่าด้วยมาตรฐานและข้อแนะนำด้านสวัสดิภาพสัตว์ใหม่สำหรับสัตว์ปีก สำหรับประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความกลมกลืนกันระหว่างกฎระเบียบว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ของชาติ ให้โปร่งใส และสอดคล้องกับการปฏิบัติจริงของอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และคู่ค้า มาตรฐานตามข้อกำหนดด้านสวัสดิภาพสัตว์ จะถูกบังคับใช้ในประเทศ และกฏระเบียบระดับภูมิภาค และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์ม แนวทางการปฏิบัติจะเป็นแบบสมัครใจ และให้คำแนะนำเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านสวัสดิภาพสัตว์

การพัฒนาด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก

              การพัฒนาด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีกตามมาตรฐานและกฎระเบียบนี้ ครอบคลุมถึง

1.         การยกเลิกการเลี้ยงไก่ไข่ขังกรง ภายใน ๑๐ ถึง ๑๕ ปีข้างหน้า (ล่าช้าที่สุดเป็นปี พ.ศ.๒๕๗๑) ขึ้นกับอายุของโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2.         ข้อกำหนดด้านการจัดเตรียมเอนริชเมนท์ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับไก่พันธุ์ (เนื้อ)

3.         การเปลี่ยนแปลงด้านความเข้มแสงต่ำสุด และกำหนดช่วงเวลามืด การระบายอากาศ และอุณหภูมิสำหรับสัตว์ทุกชนิด ปัจจุบัน การเลี้ยงไก่ต้องมีช่วงเวลามืดอย่างน้อย ๖ ชั่วโมงภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยกำหนดช่วงเวลามืดสลับอย่างน้อย ๑ ครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ชั่วโมง

4.         ข้อกำหนดสำหรับเป็ดพันธุ์ให้สามารถเข้าถึงการอาบน้ำและจุ่มน้ำได้

นอกจากนั้น จากปีนี้ไป กรงไก่ใหม่ทั้งหมดต้องถูกติดตั้งไว้กับพื้นที่รังไข่ และแม่ไก่ไข่ต้องสามารถเข้าถึงคอน หรือแพลตฟอร์ม และพื้นที่สำหรับการคุ้ยเขี่ย สหพันธ์เนื้อไก่แห่งออสเตรเลีย อ้างว่า มาตรฐานใหม่ที่ได้เสนอขึ้นมีการปฏิบัติจริงโดยสมัครใจแล้วโดยผู้ผลิตไก่ส่วนใหญ่  

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2022. Australia announces new animal welfare standards for poultry. [Internet]. [Cited 2022 Sep 12]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/australia-announces-new-animal-welfare-standards-for-poultry/

ภาพที่ ๑ ออสเตรเลียประกาศมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ใหม่ (แหล่งภาพ Mark Pasveer, 2022)



วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ไข้หวัดนกระบาดในแหล่งผลิตสำคัญดัทช์

 ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ไม่น้อยกว่า ๒๒๐ ฟาร์มในเนเธอร์แลนด์ กำหนดมาตรการควบคุมโรคเพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดนกถูกตรวจพบอีกครั้งที่ฟาร์มสัตว์ปีกในเมือง Barneveld ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ในช่วงเวลาที่เชื้อไวรัสควรลดลงแล้วระหว่างฤดูร้อน

สหภาพผู้เลี้ยงสัตว์ปีกดัทช์ อ้างว่าบางบริษัทที่มีพื้นที่การผลิตในบริเวณดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ลงเลี้ยงสัตว์ปีกนับตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดการระบาดในเดือนเมษายน หมายความว่า ไม่มีรายได้มาเป็นเวลามากกว่า ๖ เดือนแล้ว การระบาดครั้งล่าสุดที่ฟาร์มแห่งหนึ่งได้รับผลกระทบอย่างเลวร้าย สั่งห้ามการเคลื่อนย้ายฟาร์มสัตว์ปีกภายในรัศมี ๑๐ กิโลเมตรรอบบริษัท เพื่อป้องกันการปนเปื้อนต่อไป ดังนั้น บริษัท ๒๒๐ แห่งในหัวใจของภาคการผลิตสัตว์ปีกของเนเธอร์แลนด์กำลังได้รับผลกระทบแล้ว

การเฝ้าระวังโรค

              ไม่มีฟาร์มสัตว์ปีกอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงกับฟาร์มที่เกิดโรค เจ้าพนักงานรัฐแห่งดัทช์ กำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดฟาร์มทั้ง ๓๔ แห่งภายในรัศมี ๓ กิโลเมตรในอีก ๒ สัปดาห์ข้างหน้า โรคไข้หวัดนกได้รับการวินิจฉัยมาแล้วหลายครั้งช่วงปีนี้ ในบริเวณดังกล่าวที่ฟาร์มสัตว์ปีกหลายแห่งตั้งอยู่ ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งห้ามการเคลื่อนย้ายที่ถูกควบคุมในพื้นที่ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา

              สหภาพผู้เลี้ยงสัตว์ปีกดัทช์ กำลังกังวลว่า การติดเชื้อจะยังแฝงอยู่ต่อไปในฤดูร้อน ทั้งที่ เชื้อไวรัสจะถูกทำลายด้วยแสง และความร้อน แต่ยังต้องเผชิญกับเชื้อไวรัสที่ยังคงเหลืออยู่ สิ่งนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน

เอกสารอ้างอิง

Brockotter F. 2022. Avian influenza in major production hub in the Netherlands. [Internet]. [Cited 2022 Sep 9]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/avian-influenza-in-major-production-hub-in-the-netherlands/

ภาพที่ ๑ โรคไข้หวัดนกในแหล่งผลิตสำคัญของเนเธอร์แลนด์  (แหล่งภาพ Berkhout, 2022)


โพลทรีย์ไซต์ เทคโนโลยีใหม่สำหรับการผลิตไก่เนื้อ

 ผู้ผลิตสัตว์ปีกสามารถทราบสุขภาพสัตว์ปีก สวัสดิภาพสัตว์ และข้อมูลด้านผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่

โพลทรีย์ไซต์ เป็นแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านประสิทธิภาพการผลิต และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในฟาร์ม หมายความว่า อินเตอร์เฟซจะรวดเร็ว และยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้เลี้ยงสัตว์ประสบความสำเร็จในการเลี้ยง ด้วยการสัมผัสปุ่มบนหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเท่านั้น ลิงก์สำหรับติดตามเวบไซต์ของโพลทรีย์ไซต์ https://poultrysenseltd.com/

แบร์รี่ ธอร์ป เป็นที่ปรึกษาด้านสัตวแพทย์ของโพลทรีย์ไซต์ กล่าวถึง รายงานที่สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟในแต่ละรอบของการเลี้ยง ใช้งานได้แล้ว ช่วยให้ผู้เลี้ยงสัตว์เห็นภาพรวมด้านสุขภาพสัตว์ และข้อมูลผลการเลี้ยง วิเคราะห์ได้ว่า ปัจจัยอะไรที่ส่งผลดีต่อการเลี้ยงได้บ้าง

สิ่งที่โพลทรีย์ไซต์ปรับปรุงเทคโนโลยีฉายให้ผู้เลี้ยงสามารถมองเห็นภาพ ประทับใจในประสบการณ์การใช้งาน และเกิดความผูกพันกับแพลตฟอร์มให้เข้ามาใช้งานทุกวัน และใช้งานแบบเรียลไทม์ โดยโพลทรีย์ไซต์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น สามารถทราบความคิดเห็นจากการใช้งาน จนช่วยให้ผู้พัฒนาโปรแกรมเข้าใจผู้ผลิตสัตว์ปีกถึงความต้องการที่แท้จริง เพื่อใช้สำหรับปรับปรุงบริการ และพัฒนาโปรแกรมให้ใช้งานได้จริง

 ข้อมูลผลการเลี้ยง หรือวงจรการเลี้ยง

              ผู้เลี้ยงสัตว์บางรายใช้ข้อมูลการเลี้ยงเป็นรุ่นเพื่อปรับการจัดการในการเลี้ยงในอนาคต บางรายตัดสินใจเปลี่ยนระหว่างวงจรการเลี้ยงเลย โดยอาศัยข้อมูลที่วิเคราะห์แบบเรียลไทม์ เพื่อให้เห็นประโยชน์ที่แท้จริงของเทคโนโลยี

              ผู้จัดการฟาร์มไก่เนื้อรายหนึ่งในเมืองเดวอนมีผลการเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด จากความใส่ใจในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม การกินน้ำ การเพิ่มน้ำหนักตัว และข้อมูลอัตราการตายเป็นประจำ และโดยการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยฉายให้เห็นภาพรวมของการเลี้ยงได้ง่าย จึงช่วยในการตัดสินใจ เช่น การปรับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลการเลี้ยงที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. Technology quickens support for broiler producers. [Internet]. [Cited 2022 Sep 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/technology-quickens-support-for-broiler-producers/

ภาพที่ ๑ โพลทรีย์ไซต์ เทคโนโลยีใหม่สำหรับการผลิตไก่เนื้อ (แหล่งภาพ Berkhout, 2022)



วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การระบาดโรคไข้หวัดนกครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรป

 คณะกรรมาธิการยุโรป ประกาศว่า ในฤดูกาลนี้การระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง เป็นครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ยุโรปเคยประสบมา

อ้างอิงตามรายงานของประเทศสมาชิกต่อคณะกรรมาธิการยุโรป การระบาดรวมทั้งหมด ๒,๓๙๘ ครั้งในช่วงฤดูกาล พ.ศ.๒๕๖๔ ถึง ๒๕๖๕ นี้ โดยมีการทำลายสัตว์ปีกไปแล้ว ๔๖ ล้านตัว ตรวจพบในนกขังกรง ๑๖๘ ครั้ง และนกป่า ๒,๗๓๓ ครั้งใน ๓๖ ประเทศของยุโรป

ระหว่างวันที่ ๑๖ มีนาคมถึง ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงแล้ว ๑,๑๘๒ ครั้งในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจยุโรป ๒๘ ประเทศ และสหราชอาณาจักร โดยเป็นฟาร์มสัตว์ปีก ๗๕๐ ครั้ง นกป่า ๔๑๐ ครั้ง และนกขังกรง ๒๒ ครั้ง โดยรายงานครั้งล่าสุดพบว่า ร้อยละ ๘๖ ของฟาร์มสัตว์ปีกที่เกิดการระบาดเป็นผลมาจากการติดเชื้อที่แพร่กระจายมาระหว่างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกด้วยกัน

ฝรั่งเศสได้รับผลกระทบหนักที่สุด

              การระบาดในฟาร์มสัตว์ปีก ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดเป็นฝรั่งเศส โดยเกิดขึ้นร้อยละ ๖๘ ของการระบาดทั้งหมด ขณะที่ ฮังการีเกิดขึ้นร้อยละ ๒๔ ไม่มีประเทศอื่นๆในยุโรปที่สูงเกินกว่าร้อยละ ๒ อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งของการตรวจพบเชื้อในนกป่ามากที่สุดเป็นเยอรมัน ทั้งหมด ๑๕๘ ครั้ง ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ ๙๘ ครั้ง และสหราชอาณาจักร ๔๘ ครั้ง

เชื้อประจำถิ่นในนกป่ายุโรป

รายงานภาพรวมของโรคไข้หวัดนกระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ อ้างว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์เอช ๕ ได้แฝงอยู่ในนกป่ามาตั้งแต่การระบาดใหญ่ช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๓ ถึง ๒๕๖๔ แล้ว บ่งชี้ว่า ถึงเวลานี้เชื้อไวรัสได้กลายเป็นเชื้อประจำถิ่นในประชากรนกป่าในยุโรปเรียบเรียบร้อยแล้ว หมายความว่า ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก สามารถพบโรคได้ตลอดทั้งปี โดยความเสี่ยงสุงที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว     

ศาสตราจารย์ Ian Brown หัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาที่สำนักสุขภาพพืชและสัตว์ กล่าวกับกลุ่มสวัสดิภาพ และสุขภาพสัตว์ปีกไว้ว่า โอกาสควบคุมโรคภายในอนาคตอันใกล้มีไม่มากนัก  

ลดความหนาแน่นของสัตว์ปีก

              กลยุทธ์ระยะกลางถึงระยะยาวคือ การลดความหนาแน่นของประชากรสัตว์ปีกที่พื้นที่เสี่ยงสูง การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสที่วนเวียนอยู่ในยุโรปเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์ ๕ เคลด ๒.๓.๔.๔บี ที่ยังพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยตามป่าในประเทศคานาดา สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และแสดงให้เห็นถึงเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่บ่งชี้ว่า มีการปรับตัวให้เพิ่มจำนวนได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้ว

เรียกร้องให้สั่งห้ามการปล่อยนกที่ล่าเป็นเกมส์กีฬา

              ในสหราชอาณาจักร กลุ่มสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้ภาครัฐบาล สั่งห้ามการปล่อยนกที่ล่าเป็นเกมส์กีฬา เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก

              กิจกรรมการยิงนกนกที่ล่าเป็นเกมส์กีฬาในสัตว์ตระกูลไก่ฟ้า และนกกระทาจะเริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม ตรวจพบเชื้อไวรัสอย่างน้อย ๙ ครั้งในไก่ฟ้าที่อาศัยในป่าและเลี้ยงไว้ในฟาร์มภายในประเทศอังกฤษ สก๊อตแลนด์ และเวลส์ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นมา

              การระบาดของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกยังคงดำเนินต่อไปในเดือนนี้ โดยเมืองเดวอนได้รับผลกระทบหนักที่สุด  

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. Europe: The largest epidemic of bird flu. [Internet]. [Cited 2022 Aug 24]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/europe-the-largest-epidemic-of-bird-flu/

ภาพที่ ๑ การระบาดโรคไข้หวัดนกครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรป (แหล่งภาพ Berkhout, 2022)



วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สหราชอาณาจักรประกาศพรีเวนชันโซนคุมโรคไข้หวัดนก

 เพื่อเป็นการบรรเทาความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก          ภายหลังการตรวจพบโรคหลายครั้งในฟาร์มสัตว์ปีก และสัตว์ปีกเลี้ยงขังกรงทั่วเมืองเดวอน คอร์นวอล และหลายส่วนของซัมเมอร์เซ็ต สหราชอาณาจักรได้ประกาศพื้นที่พรีเวนชันโซนสำหรับโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza Prevention Zone, AIPZ) บริเวณพื้นที่ดังกล่าวแล้ว

ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ได้กำหนดกฏระเบียบสำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทุกรายในเมืองเดวอน คอร์นวอล รวมถึง หมู่เกาะซิลลี่ และบางส่วนของซัมเมอร์เซ็ต ให้ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อป้องกันฝูงสัตว์ของตัวเอง ไม่ว่าชนิด หรือขนาดฝูงเท่าไรก็ตาม พื้นที่ AIPZ ไม่ได้รวมถึงนกที่เลี้ยงไว้ในบ้าน อย่างไรก็ตามจะมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้านที่มีจำนวนสัตว์ปีกไม่มาก รวมถึง ไก่ เป็ด และห่าน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่จะกระจายไปสู่สัตว์ของตนเอง ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่มีจำนวนมากกว่า ๕๐๐ ตัว จำเป็นต้องควบคุมการเข้าออกของบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นในพื้นที่ของตัวเอง นอกจากนั้น คนงานจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และรองเท้าก่อนเข้าปฏิบัติงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และยานพาหนะที่ใช้ในพื้นที่ต้องทำความสะอาด และฆ่าเชื้อเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคไข้หวัดนก

              อ้างอิงตามกระทรวงสิ่งแวดล้อมอาหาร และชนบท สหราชอาณาจักรพบการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยประสบมา โดยมีรายงานการยืนยันโรคแล้วมากกว่า ๑๓๐ ครั้งทั่วประเทศ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมที่แล้ว การใช้มาตรการ AIPZ ในพื้นที่ เกิดขึ้นภายหลังตรวจพบนกขังกรง ๙ แห่งทั่วพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตั้งแต่เดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา รวมถึง อีกหลายครั้งในนกทะเลป่า

รายละเอียดประกาศ คำแนะนำสำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ

๑.     ให้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อเสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์ และยานพาหนะก่อนและภายหลังสัมผัสสัตว์ปีกในฟาร์ม และขังกรง ถ้าเป็นไปได้ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้แล้วทิ้ง

๒.     ให้ลดการเคลื่อนย้ายบุคคล ยานพาหนะ หรืออุปกรณ์ไปยัง และออกจากพื้นที่ที่สัตว์ปีกในฟาร์ม และขังกรงเลี้ยงไว้ เพื่อลดการปนเปื้อนจากมูลสัตว์ สิ่งสกปรก และอื่นๆ และกำหนดมาตรการควบคุมสัตว์พาหะที่มีประสิทธิภาพ

๓.    ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรงเรือน ตามข้อกำหนดพื้นฐานเป็นประจำ

๔.     ใช้ยาฆ่าเชื้อที่ความเข้มข้นถูกต้องในฟาร์ม และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกทั้งหมด โดยเฉพาะ ทางเข้า และออกจากฟาร์ม

๕.    ลดการสัมผัสทั้งทางตรง และทางอ้อมระหว่างสัตว์ปีกในฟาร์ม นกขังกรง และนกป่า รวมถึง ตรวจสอบให้มั่นใจว่า นกป่าไม่สามารถเข้าถึงอาหารสัตว์และน้ำได้

๖.     ป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกลงไปในบ่อน้ำ และแหล่งน้ำ ให้มั่นใจว่า สัตว์ปีกถูกจำกัดพื้นที่ไว้ในรั้ว หรือพื้นที่ปิดภายในฟาร์ม

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2022. UK declares avian influenza prevention zone. [Internet]. [Cited 2022 Aug 31]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/uk-declares-avian-influenza-prevention-zone/

ภาพที่ ๑ สหราชอาณาจักรประกาศพรีเวนชันโซนคุมโรคไข้หวัดนก (แหล่งภาพ Berkhout, 2022)



ผลของแสงสีต่อการผลิตไข่

 การเปลี่ยนสีของแสงไฟจากสีฟ้าเป็นสีแดงระหว่างวงจรการวางไข่ สามารถส่งผลต่อภูมิคุ้มกันได้จากผลการวิจัยสหรัฐฯ

การศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยนแสงไฟสีฟ้าระหว่างระยะไก่สาวและสีแดงในระยะที่วางไข่ในแม่ไก่ไข่ แม่ไก่ระยะไข่จำเป็นต้องใช้แสงสำหรับการเจริญเติบโต และเริ่มต้นวางไข่ อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์สัตว์ปีก และการซื้อหาหลอดไฟแอลอีดีง่ายมากขึ้น ช่วยให้นักวิจัยพบว่า แสงไฟแต่ละชนิดให้ผลไม่เหมือนกันเลย   

ในอดีต นักวิจัยพบว่า แม่ไก่ไข่ภายใต้แสงสีแดง จะเริ่มต้นวางไข่ได้เร็ว และยังให้ผลผลิตไข่ที่สูงกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงภายใต้แสงสีขาว หรือเขียว และผลการศึกษษจำนวนมากพบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงสั้น เช่น แสงสีฟ้า ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดี และลดพฤติกรรมในแม่ไก่  

ความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน

              ผลการวิจัยล่าสุด พบว่า สัตว์ปีกที่เลี้ยงภายใต้แสงสีแดงจะมีอัตราส่วนของม้ามต่อน้ำหนักตัวที่ตำกว่ากลุ่มควบคุม บ่งชี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่า

              การศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยเลี้ยงแม่ไก่พันธุ์ไฮไลน์ ดับบลิว ๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ตัวเลี้ยงในระบบโรงเรือนที่ไม่ขังกรง แบ่งเป็น ๒ ห้อง  แม่ไก่ที่เลี้ยงภายใต้แสงสีฟ้าในช่วงอายุ ๑ ถึง ๑๘ สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนเป็นแสงสีแดงในช่วงอายุ ๑๙ ถึง ๓๑ สัปดาห์ พบว่า กลุ่มควบคุมที่เลี้ยงในอีกห้องหนึ่งภายใต้หลอดไฟแอลอีดีปรกติตลอดการศึกษา

ขนาดฟองไข่และองค์ประกอบ

              การเปลี่ยนจากแสงสีฟ้าเป้นสีแดง ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของขนาดฟองไข่และองค์ประกอบ นักวิจัย พบว่า แม่ไก่ที่เลี้ยงในแสงสีฟ้ามีน้ำหนักตัวที่สูงกว่าที่ช่วงไก่สาว เมื่อเปลี่ยนเป็นสีแดง แม่ไก่สามารถผลิตไข่ที่มีสัดส่วนของไข่แดงที่สูงขึ้น และไข่ขาวที่ต่ำลงเปรียบเทียบกับแม่ไก่ที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดีปรกติ

จำนวนไข่ที่ผลิตได้

              อย่างไรก็ตาม จำนวนไข่ที่ผลิตได้จริง และอีกหลายปัจจัยก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามสีของแสง นักวิจัยเชื่อว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างการให้แสงสว่างกับการผลิตไข่ของแม่ไก่ น้ำหนักสมอง การเคลื่อนที่ และความเข้มข้นของฮอร์โมน

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. The effect of light colour and changes on egg production. [Internet]. [Cited 2022 Aug 19]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/layers/the-effect-of-light-colour-and-changes-on-egg-production/

ภาพที่ ๑ การเปลี่ยนสีของแสงไฟจากสีฟ้าเป็นสีแดงระหว่างวงจรการวางไข่ สามารถส่งผลต่อภูมิคุ้มกันได้ (แหล่งภาพ Mcdougal, 2022)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...