วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โปรไบโอติกต่อสู้เชื้อคลอสตริเดียมในสัตว์ปีก



นักวิจัยได้ศึกษาเปลือกของเชื้อจุลินทรีย์โปรไบโอติก เพื่อหวังว่าจะอธิบายได้ถึงกลไกในการขับเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจากร่างกายสัตว์ปีก
                นักวิจัยจากสถาบันวิจัยอาหารวิเคราะห์สารที่เคลือบบนเชื้อจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส จอห์นสันนีไอ ที่ทราบกันมาก่อนแล้วว่าสามารถแข่งขันกับเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ในทางเดินอาหารของสัตว์ปีกที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์ให้ออกจากทางเดินอาหารของไก่ได้ ขณะน้เป็นขั้นตอนแรกสำหรับความพยายามค้นหากลไกที่แน่นอนของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ในการแข่งขันเพื่อขับเชื้อเชื้อโรค
                โดยการใช้เครื่อง NMR spectroscopy นักวิจัยค้นพบว่าเปลือกใช้สาร Exopolysacccharides (EPS) 2 ชนิด ที่มีโมเลกุลน้ำตาลสายยาวซึ่งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดใช้สำหรับสร้างเป็นแคปซูลเคลือบตัวเองเอาไว้ แคปซูลนี้อาจช่วยเชื้อแบคทีเรียให้ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม หรือการเพิ่มจำนวนเชื้อ และการเกาะยึด ผลการวิจัย พบว่า EPS จากเชื้อ 2 สายพันธุ์ที่สร้างแคปซูลมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะต่อเชื้อ แลคโตบาซิลลัส จอห์นสันนี ขณะนี้กำลังทำการวิจัยในระดับฟาร์ม เพื่อประเมินความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ในร่างกายสัตว์ปีก งานวิจัยขั้นต่อไปจะมุ่งค้นหาว่า โมเลกุลของ EPS ที่เคลือบบนเชื้อแบคทีเรียมีบทบาทอย่างไรต่อการเพิ่มจำนวนเชื้อ และการกำจัดเชื้อโรค
 แหล่งที่มา            World Poultry (4/12/13)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...