ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
คนไทยได้กินไก่ และไข่แพงแน่ เหตุหวัดนกในสหรัฐฯ และอังกฤษ แล้วแบนนำเข้าไก่พันธุ์
การแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูงสร้างความเสียในฟาร์มไก่ไข่ และไก่งวงมากกว่า
20 ล้านตัวในสหรัฐฯ และหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน รวมถึง ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่งห้ามนำเข้าไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ
ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับตามแนวทาง OIE โดยตัดสินใจแบนไก่พันธุ์จากทั้งประเทศที่มีการระบาด ขณะที่ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป
และบราซิลยึดตามหลักการควบคุมโรคเป็นพื้นที่เรียกว่า “Regionalization” และนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากสหรัฐฯ
และสหราชอาณาจักรที่เป็นแหล่งผลิตสัดส่วน 92-95 เปอร์เซ็นต์ของไก่พันธุ์เนื้อในโลกตามปรกติ
ปัจจุบัน
การสั่งห้ามการส่งไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และคานาดา
ยังไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณการผลิตไข่ และเนื้อสัตว์ปีกนอกพื้นที่อเมริกาเหนือ
แต่ผู้ผลิตไก่พันธุ์เตือนว่า การสั่งห้ามการส่งออกไก่พันธุ์จะส่งผลให้ตู้ฟัก
และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกลดลงอย่างมากจนส่งผลต่อการขาดแคลนเนื้อ
และไข่ในหลายประเทศที่มิได้ปฏิบัติตามแนวทางของ OIE และตัดสินใจสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากทั้งประเทศที่มีการระยาด
ขณะนี้ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และบราซิลยึดตามหลักการควบคุมโรคเป็นพื้นที่เรียกว่า
“Regionalization” และยังคงนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากสหรัฐฯ
และสหราชอาณาจักรที่เป็นแหล่งผลิตสัดส่วน92-95 เปอร์เซ็นต์ของไก่พันธุ์เนื้อในโลก
ประเทศจีน
และประเทศส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่งห้ามนำเข้าไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ
และสหราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557
เป็นต้นมา ผลกระทบดังกล่าวคล้ายคลึงกันทั้งในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร
แต่ไก่พันธุ์ไข่มีน้อยในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
บริษัทรายใหญ่มักตั้งอยู่ในประเทศอื่นๆในกลุ่มสหราชอาณาจักร
ผลกระทบแรกของการแบนการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯคาดว่า
ชิ้นส่วนขา และเท้าไก่จากสหรัฐฯจะหายไปจากตลาดเอเชีย แต่ผลกระทบจะชัดเจนอย่างมาก
เมื่อไก่ปู่ย่าพันธุ์ที่ไม่มีการนำเข้าในวันนี้
ไม่สามารถผลิตไก่พันธุ์ได้อีกต่อไปจากนั้นก็จะไม่มีเนื้อไก่ออกสู่ตลาดอีกต่อไป ฟาร์มไก่ปู่ย่าพันธุ์
และไก่พันธุ์ ยังคงกระจายอยู่ทั่วโลก
ดังนั้นในตอนนี้จะยังช่องเวลาก่อนที่ผลกระทบจากการแบนการนำเข้าจะส่งผลไปถึงโรงงานแปรรูปการผลิต
การสั่งแบนการนำเข้าได้ส่งผลกระทบต่อฟาร์มไก่พันธุ์ในสหรัฐฯตั้งแต่ต้นปี 2558
เป็นต้นมา ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจนกว่าจะถึงครึ่งปีหลังของปี 2559
บริษัทบางแห่งในประเทศที่มีนโยบายแบนการนำเข้าไก่พันธุ์จะต้องมีการผลัดขนที่ฟาร์มไก่พันธุ์
และไก่ปู่ย่าพันธุ์ แต่ก็จะเกิดปัญหาการผสมติดขึ้นใหม่
การผลัดขนอาจใช้ได้ในดีสำหรับแม่ไก่ แต่ไม่ได้ผลสำหรับไก่ตัวผู้
บริษัทผู้ผลิตไก่ไข่สามารถใช้วิธีการผลัดขนได้เพื่อรักษาตลาดไข่
หากไม่สามารถจัดหาลูกไก่ทดแทนได้ แต่ผลผลิตไข่รวมจะลดลง
สภาสัตว์ปีกนานาชาติเรียกร้องให้ OIE
ส่งเสริมประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามแนวทางของ OIE ว่าด้วย การจำกัดการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก
และสัตว์ปีกพันธุ์ให้มีผลเฉพาะบริเวณพื้นที่เกิดโรคเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งประเทศ
เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายต่อการค้าขาย และช่วยลดการขาดแคลนเนื้อสัตว์ปีก
และไข่ในอนาคต สำหรับ OIE ได้แนะนำแนวทางให้คู่ค้าจำกัดการค้าขายโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์สำหรับการตัดสินใจโดยจำกัดการค้าเป็นพื้นที่
หรือท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค ไม่ใช่ทั้งประเทศ