วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐ กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพอ่างสตันเนอร์

ทุกกระบวนการผลิต การเอาใจใส่ และสนใจอย่างพิถีพิพัน ทั้งการปรับแต่ง และการตรวจติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอช่วยลดจำนวนสัตว์ปีกที่ถูกปลดซาก และเพิ่มผลผลิตได้ แม้ว่าจะมีวิธีการทำให้ไก่สลบได้หลายวิธี แต่การสตันเนอร์ด้วยไฟฟ้ายังคงเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในโรงงานแปรรูปการผลิตสัตว์ปีกเพื่อให้สัตว์ปีกหมดสติไม่รู้สึกตัว แม้ว่า จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็ตาม ผู้ผลิตก็จำเป็นต้องพิจารณาอ่างสตันด้วยไฟฟ้าให้มีการใช้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานที่ผิดพลาด และการปรับแต่งเครื่องมืออย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาติดตามมา
       เมื่อการสตันไม่ถูกต้อง คุณภาพของไก่ที่ผ่านการแปรรูปจะลดลง และจำนวนของไก่ที่ถูกปลดทิ้งก็จะเพิ่มขึ้น มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการสตันเนอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องมักถูกมองข้ามไป นับเป็นสิ่งที่น่าวิตก หากผู้จัดการโรงงานละเลยความใส่ใจ หรือเข้าใจว่า การจัดการเหล่านี้ยากลำบาก หรือจำเป็นต้องใช้งบประมาณลงทุนสูงสำหรับการจัดการอ่างสตันเนอร์
สิ่งสำคัญ ๑๐ ประการสำหรับการจัดการกระบวนการสตันเนอร์ด้วยไฟฟ้าที่สามารถตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่า จำนวนสัตว์ปีกที่ถูกปลดทิ้งน้อยที่สุด 
๑. การทำให้พื้นที่ทำงานมืด (Darkening the hanging area) เมื่อไก่เข้าสู่โรงงานแปรรูปการผลิต แล้วแขวนขึ้นแชคเกิล ต้องแขวนไก่อย่างถูกต้อง และลดระดับความเครียดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ พื้นที่รับไก่ควรมีระดับแสงลดลง
โรงงานแปรรูปการผลิตหลายแห่งใช้แสงสีฟ้า แม้ว่า แสงสีแดง และเขียวก็สามารถใช้ได้ในบางโรงงานฯ ไก่ไม่สามารถเห็นแสงได้จากช่วงแสงอัลตราไวโอเล็ต และเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มืดก็จะผ่อนคลาด และบางตัวถึงกับนอนหลับสบาย  
๒. เติมแชคเกิลให้เต็ม (Fill all the shackles) สิ่งสำคัญคือ ต้องมั่นใจว่า แต่ละ และทุกแชคเกิลบนสายพาน (Overhead conveyor) ใช้แขวนไก่โดยไม่มีการว่างเว้น 
หากมีอันใดว่างเว้นมีไก่จำนวนตัวเข้าสู่อ่างสตันเนอร์น้อยกว่าที่กำหนดไว้ นั่นหมายความว่า ไก่เหล่านั้นจะได้รับกระแสไฟฟ้าสูงเกินไป ส่งผลต่อความเสียหายของซาก มิใช่เพียงปัญหาแชคเกิลที่ว่างเปล่าเพียงอย่างเดียว ไก่แต่ละตัวต้องถูกแขวนอย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน มิเช่นนั้นก็จะเกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือจากความเสียหายต่อคุณภาพซากแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า แชคเกิลที่ว่างเปล่ายังไปเพิ่มระยะเวลาการทำงานสำหรับแต่ละชุดการผลิตอีกด้วย ในบางกรณีก็อาจต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานเข้าไปอีก ต้องมีค่าล่วงเวลาให้กับพนักงานมากขึ้น 
๓. การใช้อุปกรณ์รองอกไก่ (Breast comforter) เพื่อให้ไก่สงบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตลอดกระบวนการทำให้ไก่สลบ หรือสตันเนอร์ ส่วนอกของไก่ ประกอบด้วย ปลายเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก และการสัมผัสทางภายภาพด้วยส่วนนี้ของไก่กับอุปกรณ์รองอกไก่ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และยืดคอออกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์รองอกไก่ ไม่ควรทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ เนื่องจาก การกระพรือปีกตามทางลงสู่อ่างสตันเนอร์อาจไปตีกับอุปกรณ์รองอกไก่ได้จนทำให้เกิดเลือดออก (Hematomas)
ไก่ที่ตื่นตกใจจะกระเสือกกระสน และตีปีกจนทำให้เลือดเข้าสู่กล้ามเนื้ออก และปีกมากขึ้น เมื่อซากไก่ถูกเชือดนำเลือดออก ก็จะไม่สามารถระบายเลือดที่เติมเข้ามามากขึ้นนี้ได้จนส่งผลต่อคุณภาพซากของไก่   
๔. นับตั้งแต่การแขวนครั้งสุดท้ายไปจนถึงทางเข้าอ่างสตันเนอร์ (From the last hanger to the stunner entrance) การผ่านจากการแขวนครั้งสุดท้ายไปจนถึงทางเข้าอ่างสตันเนอร์ควารใช้เวลาไม่เกิน ๒๐ วินาที เพื่อป้องกันกันมิให้เลือดออกจากปีก และคอมากเกินไปภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก หากเลือดมีการสะสมในบริเวณนี้จะไม่สามารถระบายออกได้ระหว่างขั้นตอนการทำให้เลือดออก (Bleeding)
๕. การช๊อกก่อนเวลา (Pre-shock) หากมาตรการข้างต้นมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง และกระแสไฟฟ้าในอ่างสตันเนอร์มีการปรับค่าอย่างถูกต้อง ไก่ควรเข้าสู่อ่างสตันเนอร์ด้วยสถานะที่ถูกต้อง 
วิธีการ ๒ วิธีที่นิยมปฏิบัติกันสำหรับสัตว์ปีกที่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์ 
๑.) วิธีการแรกคล้ายกับวิธีที่นำสัตว์ปีกเข้าสู่อ่างน้ำร้อน วิธีการนี้แนะนำกันมากที่สุด เนื่องจาก สัตว์ปีกเข้าสู่อ่างน้ำร้อนในระยะที่ผ่อนคลาย และหัวอยู่ในมุมที่ถูกต้องกับน้ำ
๒.) วิธีการที่สองคือ การสไลด์ตัวลงตามทางลาด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ ทางลาดมักจะเปียกชื้น เนื่องจาก เมื่อไก่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์ จะตีปีกให้น้ำกระเซ็นกลับไปบนทางลาด ภายหลังการกระพือปีก แล้วสัมผัสกับทางลาดที่เปียกชื้นจนได้รับกระแสไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดการหดตัวของคอ และยังกระพือปีกต่อไปอีก ไก่เหล่านี้อาจผงกตัวขึ้นเหนืออ่างสตันเนอร์แทนที่จะผ่านลงไปในน้ำ ดังนั้น ไก่กลุ่มนี้จะยังคงมีสติรู้สึกตัว หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อการฆ่า และการนำเลือดออก และเพิ่มรอยเลือดออกในซาก (Hematomas) อันเป็นผลมาจากไก่ดิ้นอย่างรุนแรงบนแชคเกิล เพื่อแก้ปัญหานี้ บางโรงงานจึงเพิ่มทางลาดชุดที่สองขึ้นมาด้วย
๖. ความลึกของระดับน้ำภายในอ่างสตันเนอร์ (Depth of stun bath water level) การเริ่มต้นขั้นตอนการทำให้ไก่สลบ (Stunning) คือ หัวไก่สัมผัสกับตะแกรงโลหะที่วางอยู่ใต้ระดับน้ำในอ่างสตันเนอร์ลงไปราว ๒ นิ้ว กระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่กระโหลกจะเดินทางเข้าสู่สมอง แล้วผ่านกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม จนกระทั่งผ่านลงไปที่ขา   
อย่างไรก็ตาม หากตะแกรงวางอยู่ลึกกว่า ๒ นิ้วใต้ผิวน้ำ น้ำจะท่วมบางส่วนของคอ และบางกรณีสูงขึ้นไปถึงระดับยอดอก ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และส่งผลต่อคุณภาพเนื้อไก่ได้
๗. การปรับกระแสไฟอัตโนมัติ (Automatic current adjustment) เมื่อแชคเกิลบางอันไม่มีไก่แขวน ไก่ที่เข้าสู่อ่างสตันเนอร์จะได้รับกระแสไฟฟ้ามากเกินไป วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือ อาจพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบจำนวนไก่ในน้ำ แล้วปรับค่าแอมแปร์ได้อัตโนมัติ 
๘. ทางลาดพิเศษ (Special ramp) ในโรงงานแปรรูปการผลิตที่ไม่สามารถดัดแปลงทางเข้า และทางออกสู่อ่างสตันเนอร์ได้ สามารถติดตั้งทางลาดพลาสติกแยกต่างหากออกมาโดยมีความยาว และทางลาดที่สามารถป้องกันมิให้เปียกชื้นได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการถูกช๊อกก่อนเวลา (Pre-shock)   
  ๙. ท่อพลาสติกที่ทางออกอ่างสตันเนอร์ (Plastic pipe at the stunner exit) ในบางกรณี เมื่อกระบวนการสตันมิได้ถูกควบคุมอย่างถูกต้อง ไก่จะออกจากอ่างสตันเนอร์โดยมีการสั่นกระตุก อาจติดตั้งท่อพลาสติกยาวที่ความสูงระดับอก เมื่อไก่ออกจากอ่างสตันเนอร์จะช่วยลดการสั่นกระตุก และเข้าสู่อุปกรณ์การฆ่าแบบอัตโนมัติ (Automatic killer)
๑๐. ตรวจสอบกระแสไฟฟ้า (Monitor the current) ผลของการได้รับกระแสไฟฟ้าสูงเกินไปอาจทำให้เส้นเลือดดำที่ปีกของไก่ขยายตัว เช่นเดียวกับ เส้นเลือดดำที่โคนขาจนปรากฏเป็นรอยช้ำเลือด หากกระแสไฟฟ้าที่ตั้งไว้ไม่ถูกต้อง 
เพื่อให้กระบวนการสตันเนอร์เป็นไปอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีการควบคุม และตรวจติดตามปัจจัยต่างๆเหล่านี้ให้ถูกต้อง ให้ความเอาใจใส่ทุกขั้นตอนจะช่วยให้ลดจำนวนไก่ที่ถูกปลดทิ้ง และได้ผลผลิตสูงที่สุด 

เอกสารอ้างอิง 

López EC 2013. Steps to increase stunning bath efficiency at the poultry processing plant. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 29]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/12666-poultry-processing-condemnations-a-guide-to-identification-and-causes




















ไก่ต้องสงบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อถูกแขวนบนแชคเกิล ให้ใช้แสงไฟที่ไก่จะไม่ตื่นตกใจ เช่น แสงสีฟ้า (Blue light) 




วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลดซัลโมฯ กดปัญหาซากได้อีก ด้วยกฏ ๕ ขั้นตอนสำหรับการถอนขน

การปรับปรุงกระบวนการถอนขนในการแปรรูปการผลิต ให้เพิ่มความเอาใจใส่ในขั้นตอนผลิตบางอย่างสามารถช่วยให้การถอนขนได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งของกระบวนการแปรรูปการผลิต ไก่ต้องถูกถอนขนอย่างทั่วถึง โดยขนทั้งหมดต้องถูกกำจัดออกทั้งหมด โดยเฉพาะ ตำแหน่งที่เกาะยึดกับร่างกายของไก่อย่างแน่นหนา วิธีการปฏิบัติที่นิยมกันมากที่สุดคือ การลวกน้ำร้อนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการ เพื่อให้ขนบริเวณหัว และปีกคลายตัว การลวกด้วยน้ำร้อนยังทำให้องค์ประกอบของคิวติเคิล (Cuticle) (ส่วนที่เคลือบผิวนอกของชั้นหนังกำพร้า) บริเวณขาหลวมขึ้นอีกด้วย กระบวนการนี้มีการดำเนินการตามราวแขวนไก่ (Overhead conveyor) พึงระลึกไว้ว่า การถอนขนที่ดีมีข้อพิจารณาหลายประการ ได้แก่
๑.     ระยะเวลารอการเข้าเชือดที่โรงงานแปรรูปการผลิต พื้นที่จอดรถขนส่งไก่เป็น (Reception area) ควรรออยู่บริเวณที่อากาศเย็นสบาย ในสภาวะอากาศร้อน ความเครียดจากอากาศร้อนจำเป็นต้องแก้ไขทันที เมื่อไก่รู้สึกร้อน (Overheat) ก็จะแสดงอาการหอบจนมีการสะสมของเลือดตามขา และปีก   
๒.    การแขวนไก่บนราวแขวนไก่ ต้องจับไก่อย่างเหมาะสม โดยใช้เพียง ๓ นิ้วเท่านั้น ได้แก่ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วนาง เมื่อจับไก่แขวนขึ้นแชคเกิล ให้จับที่ขา ไม่ใช่น่อง เพื่อป้องกันมิให้เกิดรอยชร้ำ และการสะสมของเลือด ขณะนำไก่ออกจากกรงขึ้นแชคเกิล ระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระพือปีก แนะนำให้ติดตั้งเบาะรองอก (Breast comforter) การกระพรือปีกอย่างรุนแรงที่ขั้นตอนนี้ของกระบวนการแปรรูปการผลิตสามารถส่งผลให้เกิดการสะสมเลือดในปีกที่ไม่สามารถระบายออกได้ระหว่างการนำเลือดออก ส่งผลทำลายทั้งภายใน และภายนอกตัวไก่
๓.    การทำให้ไก่สลบ เพื่อช่วยให้ไก่สงบมากที่สุดขณะเคลื่อนที่จากพื้นที่แขวนไก่ไปยังทางเข้าสตันเนอร์ อุโมงค์ที่เตรียมไว้ต้องคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ตลอดทางลอดอุโมงค์จะช่วยให้ไก่สงบ อย่างไรก็ตาม ข้อพึงระวังหลายประการที่จำเป็นต้องป้องกันปัญหาระหว่างขั้นตอนก่อนการสตันเนอร์ (Pre-stun) ยกตัวอย่างเช่น การกระพือปีกจนไปตีกับวัสดุโครงสร้างที่แข็ง หรือตีกับไก่ตัวข้างๆ จนทำให้เกิดรอยช้ำที่อาจลุกลามไปทั่วทั้งปีก เมื่อไก่กระพือปีกอย่างรุนแรง มักจะพยายามยืดคอขึ้น หมายความว่า หัวจะไม่จุ่มลงในอ่างสตันเนอร์ และยังคงมีรู้สึกตัว 
๔.     การฆ่า และการนำเลือดออก ขั้นตอนการสตันเหนี่ยวนำให้ไก่สูญเสียความรู้สึก และมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำลงเป็น ๓๕๐ ครั้งต่อนาที การเต้นของหัวใจที่ต่ำลงเหลือเพียง ๑๐ ถึง ๑๒ วินาที สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำคือ พารามิเตอร์หลายอย่างในอ่างสตันเนอร์ที่ต้องมีการปรับให้เหมาะกับน้ำหนักไก่ เช่น ความถี่ ความต่างศักย์ และความสูงของอ่างสตันเนอร์ ไก่บางตัว อาจได้รับกระแสไฟฟ้ามากเกินไป และบางตัว ปีกหลุดออกจากข้อได้
๕.    การลวกน้ำด้วยน้ำร้อน ก็เช่นเดียวกับขั้นตอนการสตัน โดยการลวกน้ำร้อนมีปัจจัยหลายประการที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น เวลา อุณหภูมิ การเปียกน้ำร้อนทั่วทั้งตัว และการกระจายตัวของน้ำร้อน หากซากไก่ไม่จุ่มลงในน้ำทั้งตัว ระหว่างการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องลวกน้ำร้อน ขนที่มีการเกาะยึดกันแน่นมากที่สุด เช่น หาง และคอ จะไม่โดนน้ำร้อน ผลก็คือ รูขุมขนจะไม่ขยายตัวเพียงพอ และขนจะไม่คลายตัวออก นอกเหนือจากนั้น หากระดับน้ำในอ่างไม่สามารถทำให้แชคเกิลจุ่มลงไปถึงระดับความลึกอย่างน้อย ๓ นิ้ว จะทำให้ขนบริเวณข้อต่อขา และคิวติเคิลไม่หลุดออกมา และเป็นการดีที่จะระลึกไว้ในใจว่า ความสำเร็จเหล่านี้ น้ำจำเป็นต้องมีความร้อนอย่างเพียงพอ น้ำร้อนจะทำให้อุณหภูมิซากสูงขึ้น และจะเป็นการดีหากสามารถรักษาอุณหภูมินี้ไว้ระหว่างผ่านจากเครื่องลวกน้ำร้อน (Scalder) ไปถึงเครื่องถอนขน (Plucker)   
กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ควรมีการทบทวนรายละเอียด เนื่องจาก มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของขั้นตอนการถอนขน การถอนขนจะต้องกำจัดขนออก โดยไม่ไปฉีกผิวหนัง หรือทำให้มีการสะสมของเลือดปริมาณมาก เนื่องจาก การใช้แรงตีมากจนเกินไป

ความท้าทายของขั้นตอนการถอนขน
               ตามที่บรรยายมาข้างต้นจะเป็นการดีมากหากผู้ผลิตทบทวนกระบวนการถอนขนเป็นประจำทุกวัน รวมถึง การถอนขนจากชั้นหนังกำพร้า หรือผิวหนัง ขึ้นกับว่า ไก่มีขนสีเหลือง หรือสีขาว ตามลำดับ นอกเหนือจากนั้น ควรระลึกไว้ว่า การถอนขนขึ้นกับน้ำหนักซากไก่เฉลี่ย ดังนั้น การกำจัดขนแต่ละเส้นทุกๆเส้นจากไก่ทุกตัวโดยใช้เครื่องถอนขนอัตโนมัติจึงเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีพนักงานอย่างน้อย ๑ คน ช่วยเก็บขนที่ยังถอนไม่หมด ยกตัวอย่างเช่น ที่หัว และที่หาง  อุณหภูมิสำหรับการลวกน้ำร้อนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในบางบริเวณ เช่น ขนบริเวณหัว ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำร้อนเกินไปลวกกล้ามเนื้ออกที่ส่งผลต่อคุณภาพ และปริมาณของไก่ที่ผ่านการแปรรูปการผลิต และกลายเป็นประเด็นปัญหว่า เป็นไปได้ไหมที่จะถอนขนไก่ โดยต้นทุนต่ำ และได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณของสินค้าที่สูง ขณะที่ ไก่ยังอยู่บนราวแขวนไก่ (Overhead conveyer)  

ความร้อน และน้ำ
               ซากต้องอุ่นตลอดเวลา น้ำอุ่นมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๔ ถึง ๓๖ องศาเซลเซียส ระหว่างการถอนขน และความร้อนที่ดูดซับจากเครื่องลวกน้ำร้อนต้องคงไว้ตลอดกระบวนการถอนขน เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีโครงสร้างที่ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนระหว่างการผ่านเครื่องลวกน้ำร้อนไปยังเครื่องถอนขน
               กลยุทธ์หนึ่งคือ การติดตั้งสเปรย์น้ำร้อน (Hot water sprayers) ที่อุณหภูมิ ๗๐ ถึง ๗๕ องศาเซลเซียสตลอดเวลาที่ผ่านกระบวนการถอนขน โดยเฉพาะ สปรย์ควรฉีดเข้าโดยตรงที่หัว และต้นขา และสเปรย์น้ำร้อนเป็นเวลาประมาณ ๖ วินาที  

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการถอนขน (Plucking technology)
               ความก้าวหน้าเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับขั้นตอนการถอนขน ใช้เครื่องจักรหลายชนิดที่สามารถใช้ร่วมกัน เช่น อุปกรณ์ที่สามารถปรับได้อัตโนมัติตามกายวิภาคของสัตว์ปีก อุปกรณ์ที่สามารถหมุนทวนเข็มนาฬิกา อุปกรณ์ที่สามารถวางไว้ภายในตู้ที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น หากตู้ หรือโครงสร้างเคลื่อนที่แล้ว ชุดอุปกรณ์สำหรับการถอนขนก็จะเคลื่อนที่ไปด้วย จดจำไว้ว่า การเลือกนิ้วยางสำหรับการถอนขน (Plucking fingers) มี ๓ ชนิดที่ควรใช้ ได้แก่ ชนิดนิ่ม (Soft) ชนิดกึ่งแข็ง (Semi-hard) และชนิดแข็ง (Hard) ต้องติดตั้งนิ้วยางสำหรับการถอนขนเหล่านี้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถถอนขนทั้งหมดได้โดยไม่ทำลายผิวหนัง ประสิทธิภาพของการถอนขนต้องไม่ทำให้ปีกหัก หรือเคลื่อน ไม่ทำให้เกิดรอยข่วนตามผิวหนัง และกล้ามเนื้ออก การสะสมของเลือดที่ปลายปีก และบริเวณอื่นๆของปีก หากสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ก็จะช่วยลดการทำลายซากไก่ระหว่างการถอนขน และลดต้นทุนการผลิตได้


เอกสารอ้างอิง

López EC. 2014. Improving plucking during poultry processing. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 2]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/19463-improving-appearance-minimizing-bruising-at-poultry-processing.




















ภาพที่ ๑ การเลือกใช้นิ้วยาง (Rubber fingers) อย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพซาก

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รอยช้ำเลือดที่เกิดขึ้นในโรงงานฯ

ปัจจัยหลายประการที่สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพ และผลผลิตของไก่เนื้อที่โรงงานแปรรูปการผลิต บางสิ่งสามารถจัดการได้ทันทีโดยผู้จัดการโรงงาน แต่ไม่ได้หมายถึงการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องทั้งหมด
               ข้อคำนึงด้านภูมิประเทศ ตัวอย่างเช่น ความดันบรรยากาศจะลดลงหากพื้นที่ตั้งฟาร์มอยู่ห่างจากระดับน้ำทะเล ยิ่งพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าใด จำนวนของเม็ดเลือดแดงที่จำเป็นต้องนำส่งออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จำนวนของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหนืดของเลือด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นไปพร้อมกัน เมื่อเลือดถูกสูบฉีดเข้าสู่เส้นเลือดแดง เส้นผ่านศูนย์กลางก็จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก ผนังสี่ชั้นยังคงแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มเติมเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดดำ แม้ว่า จะมีจำนวนชั้นของผนังหลอดเลือดเท่ากัน แต่ผนังสองชั้นมีความบางกว่าอย่างมาก ผลลัพธ์ก็คือ ปริมาตรของเลือดที่ผ่านเส้นเลือดดำเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการขยายขนาดของหลอดเลือด พึงระลึกไว้ในใจเสมอว่า เมื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ยากเย็นบางประการที่มักเกิดขึ้นที่โรงงานแปรรูปการผลิต โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบริเวณปีก และอก เมื่อไก่เลี้ยง และผลิตในภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูหนาว หรือที่ภูมิประเทศสูง หลอดเลือดแบกภาระเก็บกักเลือดไว้ถึง ๘๔ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ อวัยวะรับเลือดไว้เพียง ๑๖ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การกระจายของเลือดภายในหลอดเลือด แบ่งเป็น เส้นเลือดดำ ๖๔ เปอร์เซ็นต์ เส้นเลือดแดง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ และหลอดเลือดฝอย ๕ เปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่า เลือดส่วนใหญ่อยู่ในเส้นเลือดดำ และพึงระลึกไว้เสมอว่า เส้นเลือดที่ปีกมีมวลกล้ามเนื้อน้อย เพราะเหตุว่า มีการสะสมของเลือดจากเส้นเลือดดำไว้มาก จึงสังเกตเห็นได้ง่ายส่งผลให้ไก่ถูกปลดทิ้งในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพสินค้าได้บ่อยที่สุด อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงไก่ในสภาวะอากาศเย็น เส้นเลือดก็จะพยายามหดตัว เพื่อรักษาความร้อนไว้ภายในร่างกายของไก่ และเป็นสาเหตุให้ระยะเวลาการไหลของเลือดเพิ่มขึ้น (Bleeding time) ตามปรกตินานออกไปมากกว่า ๓ นาที ๓๐ วินาที ในบางสภาวะอาจนานกว่า ๔ นาทีเลยทีเดียว สำหรับการปล่อยให้เลือดออก สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการตอบสนองต่อภาวะการหดตัวของหลอดเลือด  
               ยังคงมีกระบวนการอื่นๆที่สามารถส่งผลกระทบต่อการปลดซากทิ้ง รวมถึง ระยะเวลาระหว่างการแขวนไก่บนแชคเกิล (Shackles) และเข้าสู่เครื่องสตันเนอร์ ระดับของไก่ที่กระพือปีก (Wing flapping) เมื่อแขวนบนแชคเกิล และปัจจัยที่มีผลต่อการหุบปีก ยกตัวอย่างเช่น หากไก่แขวนด้วยขา ไก่ก็จะพยายามกระพือปีกลงเพื่อให้ตัวเองเป็นอิสระ เช่นเดียวกับ การแขวนโดยคอ การสะสมของเลือดในปีก และอกที่ปรากฏในระยะนี้ของการแปรรูปการผลิต และเข้าถึงระดับวิกฤติ เป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมีการทบทวน  


ปฏิบัติการอย่างนุ่มนวล และรวดเร็ว
               การแขวนไก่บนแชคเกิลเป็นเวลานานกว่า ๓๐ วินาทีจะส่งผลให้มีการสะสมของเลือดในปีก เนื่องจาก แรงโน้มถ่วงของโลก ดังนั้น แนะนำให้ระยะเวลาจนถึงเข้าสู่เครื่องสตันเนอร์ไม่ควรเกินกว่า ๒๐ ถึง ๓๐ วินาที
               พื้นที่การแขวนไก่ที่ยังไม่มืดเพียงพอ อุปกรณ์นวดอกไก่ (Breast massager) ไม่ได้ปรับตั้งอย่างเหมาะสม และวิธีการแขวนไก่ยังไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ การกระพือปีกก็จะเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของการเคลื่อนที่ส่งผลให้การปั๊มเลือดจากหัวใจมีปริมาตรของเลือดสู่อก และปีกมากขึ้น เพื่อนำส่งออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อ หมายความว่า ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้นก็จะปรากฏตามบริเวณเหล่านี้ และเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อระยะเวลาการเลือดออก (Bleed time) พึงระลึกไว้เสมอว่า ไก่จะกระพือปีกอย่างมากระหว่างการจับส่งผลให้มีเลือดสูบฉีดเติมเข้าไปสู่ปีกเพิ่มขึ้น หากระยะเวลาการเลือดออกอยู่ระหว่าง ๓ นาที ๓๐ วินาที ไปจนถึง ๔ นาทีก็จะส่งผลให้มีเลือดถูกระบายจากอก และปีกได้มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิ สภาวะอากาศ ความสูง ระดับของการกระพือปีก หากการเลี้ยงไก่ และแปรรูปการผลิตในสภาวะอากาศอบอุ่น เลือดจะมีความหนืดต่ำ และหลอดเลือดไม่หดตัว ช่วยให้ลักษณะปรากฏของซากไก่ดีขึ้น พึงระลึกไว้เสมอว่า เลือดมีปริมาณ ๓ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักไก่มีชีวิต 

จับตามองการเปลี่ยนแปลง
               วิธีการง่ายๆสำหรับการตรวจติดตามระยะเวลาการเลือดออก (Bleeding time) ว่า เพียงพอในสภาวะอากาศเย็นหรือไม่ ให้ตรวจติดตามไก่ระหว่างที่ออกจากเครื่องถอนขน (Plucker) และเข้าสู่ขั้นตอนแรกของกระบวนการล้วงเครื่องใน (Evisceration process) หากพบว่ามีเลือดออกมาปริมาณมากตามเครื่องมือ รางระบายน้ำ หรือพื้น ให้พิจารณาเพิ่มระยะเวลาการเลือดออก
               เมื่อพิจารณาตัดสินลักษณะของปีก จุดเลือดออกสีแดงขนาดเล็กสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ปัญหาของกระบวนการก่อนการทำให้ไก่สลบ (Pre-stunning)
               จุดแดง อาจเกิดขึ้นระหว่างการผ่านอ่างสตันเนอร์ มีการสัมผัสกับทางลาด แล้วตัวเริ่มเปียกจนกระทั่ง สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ ไก่ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการยกคอ และกระพือปีกอย่างรุนแรงจนกระทั่งออกจากพื้นที่การสตันเนอร์ แล้วออกจากอ่างสตันเนอร์โดยที่ยังมีสติรู้ตัวอยู่ และเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญสำหรับขั้นตอนการฆ่าไก่ สิ่งที่ควรจำไว้เสมอคือ มีระยะห่างที่สั้นมากระหว่างแต่ละแชคเคิล ดังนั้น ปีกของไก่ตัวหนึ่งก็มักสัมผัสกับอีกตัวหนึ่ง บางครั้ง ยังสามารถเกยซ้อนกันได้อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น ไก่อาจกระพือปีกภายในตู้สตันเนอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเลือดออก (Hematomas) ตามปีกได้   
               เพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การกระพือปีกจะต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุด หากไก่กระพือปีกไปข้างหน้า ปีกอาจตีกับตู้สตันเนอร์ หากกระพือปีกไปข้างหลังก็อาจตีกับตัวเอง ราวรองอกไก่ (Breast comforter) และแม้กระทั่งตู้สตันเนอร์ ตามธรรมชาติ ปีกมีมวลกล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดนี้จึงสังเกตเห็นได้ชัด หากปัญหานี้ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้ต้องคัดทิ้งชิ้นส่วนปีกจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อมูลค่าการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และการป้องกันคือ การทำทางลง (Slopes) เช่นเดียวกับในขั้นตอนการลวกน้ำร้อนทั้งก่อน และหลังเข้าสู่อ่างสตันเนอร์ (Stunning bath) แต่เพื่อความมั่นใจคุณภาพสินค้าก็จะเป็นการดีหากได้ทบทวนกระบวนการถอนขนไก่ ความแข็งของลูกยาง (Fingers) และมุมที่ซากเข้ามาสัมผัสกับลูกยาง รวมถึง ความดันที่กดลงบนตัวซาก ล้วนมีผลต่อการเกิดรอยช้ำเลือด ควรระลึกไว้เสมอว่า การใช้น้ำอุ่นที่ระยะนี้จะช่วยลดปัญหาลงได้ ขนบางส่วนยากต่อการดึงออก ดังนั้น ควรใช้ลูกยางที่มีความแข็งหลายๆระดับ ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ด้านบน อาจใช้ลูกยางที่แข็งกว่าบริเวณอื่นๆ บริเวณตอนกลางก็ให้ใช้ลูกยางนิ่มลง และสำหรับบริเวณปีกก็เลือกใช้ลูกยางที่แข็งปานกลาง เป็นต้น  
               เมื่อปรับแต่งเครื่องถอนขน ให้มอมงจากด้านบนควรจะดูคล้ายกับรูปทรงกรวย เริ่มจากกว้างตอนที่ไก่ยังมีขนปกคลุมเต็มตัว แล้วค่อยๆแคบลงตรงทางออกเมื่อขนส่วนใหญ่ถูกถอนออกไปหมดแล้ว

เอกสารอ้างอิง
López EC. 2016. Improving appearance, minimizing bruising at poultry processing. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 2]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/19463-improving-appearance-minimizing-bruising-at-poultry-processing


















ภาพที่ 1 การสะสมของเลือดเนื่องจากความหนืดเลือดเพิ่มขึ้น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...