วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การฝังซากไก่สามารถกำจัดซัลโมฯได้

การฝังซากสัตว์ปีกเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปที่นิยมกันระหว่างการตายตามปรกติ และซากไก่ทั้งตัวถูกทิ้ง รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการย่อยสลายซากไก่อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และความชื้นที่จำเป็นสำหรับการย่อยสลายซากสัตว์ปีก การรอดชีวิตของเชื้อจุลชีพก่อโรค หรือติดต่อสู่มนุษย์ ภายใต้สภาวะการย่อยสลายยังมีการศึกษาน้อย เนื่องจาก จำเป็นต้องมีการควบคุมปัจจัยต่างๆหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลาย ได้แก่ อุณหภูมิแวดล้อม น้ำ พีเอช ความเข้มข้นของแอมโมเนีย วิธีการนำซากสัตว์มารวมกัน และนิเวศวิทยาของจุลชีพ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการลดลงของเชื้อโรคระหว่างการเน่าสลายของซากสัตว์ปีก จึงมีความจำเป็นเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานสำหรับการฝังซากสัตว์ปีก 
เมื่อถึงเวลาปลดไก่พันธุ์เนื้อ และไก่ไข่ การฝังซากสัตว์ปีกเป็นวิธีที่คุ้มค่าทางเศรฐกิจ และสะดวกที่สุดสำหรับการปลดสัตว์ปีก และเป็นการเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของซากสัตว์ปีกตายกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น ปุ๋ยหมัก การลดปริมาณเชื้อซัลโมเนลลาจากซากสัตว์ปีกสามารถจัดการได้โดยการเรนเดอริง หรือการทำให้ซากสัตว์ปีกเน่าสลาย ขณะที่ การเรนเดอริงโดยใช้อุณหภูมิ และความดันให้ผลดีสำหรับการทำให้เชื้อโรคหมดฤทธิ์ได้ในซากสัตว์ปีก ปัจจัยอื่นๆสำหรับการย่อยสลายซากสัตว์ปีกยังมีการศึกษากันน้อย เนื่องจาก กระบวนการนี้ ผู้ประกอบการแต่ละรายก็ใช้สภาวะ และขั้นตอนที่แตกต่างกัน ดังนั้น องค์ความรู้ที่มีอยู่จึงค่อนข้างจำกัด สำหรับการอธิบายผลกระทบของอุณหภูมิ และวิธีการต่อการย่อยสลายซากสัตว์ปีก เพื่อฆ่าเชื้อซัลโมเนลลาในซากสัตว์ปีก
ผลการใช้อุณหภูมิการย่อยสลายซากตั้งแต่ ๕๕ ถึง ๖๒.๕ องศาเซลเซียส และการเรนเดอริงระดับต่ำ เช่น การพาสเจอไรเซชันที่อุณหภูมิระหว่าง ๗๐ ถึง ๗๘ องศาเซลเซียสต่อเชื้อ ซ. ไทฟิมูเรียม วิธีการทดลองเริ่มจากการนำซากสัตว์ปีกบด และสัตว์ปีกทั้งตัว ภายใต้สภาวะของการผสม และการไม่ผสมที่แตกต่างกัน ผลการทดลองพบว่า  เนื้อสัตว์ปีกบด และสัตว์ปีกทั้งตัวที่บำบัดด้วยความร้อนจำลองจากการเน่าสลาย พบว่า ไม่พบเชื้อ ซัลโมเนลลา ภายหลังผ่านไปแล้ว ๑๑๐ ชั่วโมง โดยสามารถตรวจพบเชื้อเพียว ๑ ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตรของเนื้อสัตว์ปีกบด และ ๑ ซีเอฟยูต่อกรัมของซากสัตว์ปีกทั้งตัว นอกจากนั้น การบดซากสัตว์ปีกช่วยให้การฆ่าเชื้อ ซัลโมเนลลา ด้วยความร้อนได้ดีขึ้น นอกเหนือจากนั้น ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า การผสมซากสัตว์ปีกที่สม่ำเสมอ ช่วยลดระยะเวลาสำหรับการกำจัดเชื้อซัลโมเนลลาภายใต้อุณหภูมิสำหรับการเน่าสลายซากสัตว์ปีก และการเรนเดอร์ระดับต่ำ    

เอกสารอ้างอิง 
Mulder R 2016. Assessing Salmonella typhimurium persistence. [Internet]. [Cited 2016 Nov 15]. Available from: http://www.worldpoultry.net/Health/Articles/2016/10/Assessing-Salmonella-typhimurium-persistence-2898164W/?cmpid=NLC|worldpoultry|2016-10-31|Assessing_Salmonella_typhimurium_persistence 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...