วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิจัยหวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ กลายพันธุ์ติดมนุษย์


นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกัน และกลายพันธุ์ให้ติดเชื้อสู่มนุษย์ได้
               นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ ที่แยกได้จากปากีสถานสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการให้วัคซีนได้ และเพิ่มโอกาสในการติดต่อสู่มนุษย์ง่ายขึ้น นักวิจัยจากสถาบันเพอร์ไบร์ต สหราชอาณาจักรวิจัยการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสไข้หวัดนก พบว่า การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่โปรตีนบริเวณผิวอนุภาคเชื้อไวรัสที่เรียกว่า ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช ๙ เอ็น ๒ ทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ และเข้าสู่เซลล์มนุษย์ได้
               ศาสตราจารย์ มูเนอร์ อิคบัล หัวหน้ากลุ่มโรคไข้หวัดนกที่เพอร์ไบรต์ พบว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์เอช ๙ เอ็น ๒ มีอัตราการป่วย และตายปานหลางในฟาร์มสัตว์ปีก และไม่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ แต่ความสามารถของเชื้อไวรัสสับไทป์นี้ในการจับกับตัวรับของเซลล์ที่คล้ายกับมนุษย์ทำให้เกิดข้อวิตกกังวลต่อการติดต่อสู่มนุษย์ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อสู่มนุษย์ และไก่จะใช้ตัวรับของเซลล์โฮสต์ต่างชนิดกันในระยะแรกของขั้นตอนการเข้าสู่เซลล์ การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สามารถจับกับตัวรับของเซลล์มนุษย์ได้ แม้ว่า จะชอบตัวรับของเซลล์คล้ายสัตว์ปีกมากกว่าก็ตาม โปรตีนที่ผิวไวรัสชนิดฮีแมกกลูตินินใช้สำหรับการเข้าสู่เซลล์โฮสต์ เพื่อเริ่มกระบวนการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสทำให้เป็นเป้าหมายหลักสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน นักวิจัยยังพบอีกว่า การกลายพันธุ์ที่เกิดจากการแทนที่กรดอะมิโนเพียงตำแหน่งเดียว สามารถทำให้การป้องกันโรคต่ำลงในไก่ที่ให้วัคซีนเอช ๙ เอ็น ๒ การกลายพันธุ์ส่งเสริมให้การจับกับฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสเอช ๙ เอ็น ๒ กับตัวรับของเซลล์เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสถูกทำให้หมดฤทธิ์ลงได้จากแอนติบอดี อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ย่อมแลกด้วยค่าใช้จ่ายของเชื้อไวรัส นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สับไทป์เอช ๙ เอ็น ๒ จะไม่เพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม แสดงให้เห็นถึง สมดุลของธรรมชาติ ที่เชื้อไวรัสต้องรักษาไว้ เมื่อการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เชื้อไวรัสหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน และติดเชื้อเข้าสู่โฮสต์ที่แตกต่างออกไป การกลายพันธุ์หลายครั้งจะทำให้เชื้อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
               นักวิจัยกลุ่มนี้ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้เข้าใจเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์ เอช ๙ เอ็น ๒ กลายพันธุ์ สามารถกลายพันธุ์จนเกิดความสมดุลที่ถูกต้อง และยังคงสามารถจับกับตัวรับของเซลล์คล้ายมนุษย์ได้ เพื่อให้การคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่สามารถติดเชื้อสู่มนุษย์ได้ และสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ต่อไป     
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Avian flu has potential to adapt. [Internet]. [Cited 2018 Nov 21]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/11/Avian-flu-has-potential-to-adapt-362317E/ 
ภาพที่ ๑ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ กำลังกลายพันธุ์ติดสู่มนุษย์ (แหล่งภาพ: Mark Pasveer)



วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ค้นพบโครงสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองสัตว์ปีก


นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ค้นพบโครงสร้างใหม่ของเซลล์ประสาทในสมองสัตว์ปีกที่เชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการส่งสัญญาณตอบสนองต่อความเครียด
               นิวรอนที่มีตำแหน่งในรอยต่อของฮิปโปแคมปัส โครงสร้างที่อยู่ในส่วนกั้นสมอง เป็นบริเวณที่อยู่เหนือฮิปโปแคมปัส คณะผู้วิจัยโดยศาสตราจารย์ เวยน์ คูเอนเซล นักวิทยาศาสตร์ด้านสัตว์ปีกจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ กำลังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฮิปโปแคมปัส ต่อมใต้สมอง และต่อมหมวกไต (HPA axis) เป็นหนึ่งในสี่ของการทำงานสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาท และต่อมไร้ท่อที่ควบคุมสรีรวิทยา และพฤติกรรมของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
               ระบบ HPA axis เป็นวิถีการสื่อประสาทที่มีความซับซ้อนจากสมองไปยังต่อมหมวกไต เพื่อควบคุมการตอบสนองต่อความเครียดของไก่ เส้นทางการสื่อสารมีทั้งการตอบสนองทางบวก และทางลบ

ความเครียดระหว่างการขนส่ง
               หนึ่งในตัวอย่างของความเครียดในสัตว์ปีกคือ การขนส่ง ไก่ถูกเคลื่อนย้ายจากโรงฟักไปยังโรงเรือนเลี้ยงไก่ และโรงงานแปรรูปการผลิต ความเครียดระหว่างขั้นตอนดังกล่าวมีผลกระทบทางลบต่อคุณภาพเนื้อ ความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อการตอบสนองต่อความเครียดจะช่วยให้นักวิชาการค้นพบวิธีการบรรเทาความเครียดทางสรีวิทยา และช่วยให้สวัสดิภาพสัตว์ สุขภาพสัตว์ และคุณภาพเนื้อดีขึ้น
                ความเข้าใจเกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียดคือ ทั้งหมดเริ่มต้นในไฮโปธาลามัส มีที่ตั้งบริเวณฐานของสมอง สั่งงานเหนือต่อมใต้สมอง ไฮโปธาลามัสประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ประสารทขนาดเล็ก เรียกว่า นิวรัล นิวคลีไอ (Neural nueclei) ที่มีหน้าที่มากมาย หนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดคือ การเชื่อมโยงระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อผ่านต่อมใต้สมอง ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลของระบบร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อความเครียด ไฮโปธาลามัสจะปล่อยฮอร์โมน Corticotropin-releasing hormone (CRH) ที่กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ACTH ผ่านระบบหมุนเวียนเลือดไปยังต่อมหมวกไตที่ตั้งอยู่เหนือไตแล้วกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรน เป็นฮอร์โมนความเครียดที่สำคัญสำหรับสัตว์ปีก ที่มีส่วนสำคัญต่อการปรับระบบเมตาโบลิซึมเพื่อตอบสนองต่อความเครียด คณะผู้จับพบว่า บริเวณนิวเคลียสของ Hippocampus commissure (NHpC) จะถูกกระตุ้น และสร้างฮอร์โมน CRH ในไก่เกิดความเครียดแบบระยะสั้นๆ จากการจำกัดอาหาร เซลล์ประสาทเหล่านี้มีการตอบสนองก่อนเซลล์ประสาทหลักของ CRH neuron ในระบบ HPA axis โดยนักวิจัยเชื่อว่า กลุ่มเซลล์ประสาทที่พึ่งค้นพบนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ระบบ HPA axis ในการทำงานเพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์ปีก     
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. New structure of neurons in the poultry brain identified. [Internet]. [Cited 2018 Nov 2]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/11/New-structure-of-neurons-in-the-poultry-brain-identified-354628E/


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วิธีป้องกันความเสียหายของกระดูกอกแม่ไก่


ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วยุโรป เชื่อว่า ความเสียหายของกระดูกอกแม่ไก่เกิดจากหลายปัจจัย ปัญหานี้สามารถลดลงได้อย่างมาก ผลการวิจัยเผยสาเหตุของปัญหา และทางแก้ไข
               การฝึกอบรมเกี่ยวกับ ความเสียหายของกระดูกอกไก่ในแม่ไก่ที่ศูนย์วิจัยการทดลองสัตว์ปีกในเบลเยี่ยม มีการแลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการล่าสุด ศ. จอห์น ทาร์ลตัน มหาวิทยาลัยบริสตอลมีความชำนาญด้านโรคกระดูก กระดูกของสัตว์ปีกมีวิวัฒนาการสำหรับการให้ไข่ร่วมกันกับไดโนเสาร์ เรียกว่า กระดูกเมดูลาร์ (Medullary bone) กระดูกที่ปราศจากโครงสร้างที่สร้างขึ้นในโพรงไขกระดูกของกระดูกยาว เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ใช้ในการสร้างเปลือกไข่ บรรพบุรุษของไก่คือ ไก่ป่าสีแดง สามารถไข่ได้ปีละ ๑๒ ถึง ๒๐ ฟองเท่านั้น ขณะที่ แม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ปัจจุบันให้ไข่ราว ๓๕๐ ฟองต่อปี ดังนั้น แม่ไก่ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์จึงต้องการแคลเซียมมากกว่า ๘๐๐ กรัมต่อปี คิดเป็น ๓๐ เท่าของแคลเซียมจากกระดูกทั้งหมด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ไก่ไข่ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ แลกเปลี่ยน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณทั้งหมดของแคลเซียมเพื่อสร้างเป็นไข่ไก่ ทั้งนี้ต้องขอบคุณกระดูกเมดูลาร์ที่เป็นแหล่งพักพิงของแคลเซียม แหล่งของแคลเซียมนี้เกิดขึ้นก่อนเริ่มไข่ไม่นานเท่านั้น เรียกได้ว่า ก่อนที่แม่ไก่จะสมบูรณ์เพศ
               แคลเซียมในอาหารจะถูกใช้เท่าไร และแคลเซียมจะถูกเคลื่อนย้ายจากกระดูกเมดูลาร์เท่าไร เพื่อสร้างเปลือกไข่ขึ้นกับปริมาณของแคลเซียมที่มีอยู่ในกระดูกในเวลาที่เปลือกไข่ถูกสร้างขึ้น แม่ไก่สามารถสำรองแคลเซียมไว้ในกระดูกได้จำกัด จำเป็นต้องได้รับอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละวัน ขณะที่ แม่ไก่ดึงแคลเซียมมาจากแหล่งสำรองแคลเซียในกระดูกในเวลากลางคืน ปราศจากแคลเซียมในอาหาร จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายมาจากกระดูกโครงสร้าง รวมถึง กระดูกเมดูลาร์ การเสียสละแคลเซียมของกระดูกแคลเซียมเพื่อให้ไข่จึงทำให้กระดูกอ่อนแอลง โดยเฉพาะ แหล่งสำรองนี้ไม่สามารถชดเชยได้จากกระดูกเมดูลาร์
               ดังนั้น การเพิ่มแคลเซียมที่ใช้ประโยชน์ได้ในอาหารสัตว์อาจช่วยลดการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกได้ เช่น อัตราส่วนของแคลเซียม ๗๕ เปอร์เซ็นต์จากอาหาร และ ๒๕ เปอร์เซ็นต์จากกระดูกเมดูลาร์ย่อมดีกว่าอัตราส่วน ๖๐ และ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ การให้ก้อนกรวดปูนขาว หรือเกล็ดเปลือกหอย ที่เป็นแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติจึงมีความสำคัญ จากงานวิจัยโดย Robert Pottgüter ของบริษัทลอห์มัน อาหารสัตว์ของแม่ไก่ต้องประกอบด้วยแคลเซียมสัก ๒ ถึง ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ ขนาดของเม็ดแคลเซียมก็มีความสำคัญ เม็ดแคลเซียมที่มีขนาด ๐.๘ มิลลิเมตรจะดูดซึมดีกว่าเม็ดที่ละเอียดมากๆ   

การทำงานของโอเมกา ๓
               กลไกการทำหน้าที่ของกระดูก แบ่งได้เป็น ๓ ระยะ ได้แก่
๑.     ระดับการรับน้ำหนักต่ำ ส่งผลให้มีแรงเพียงเล็กน้อยต่อกระดูก
๒.    ระดับการรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น เรียกว่า ระยะอีลาสติก (Elastic phase)” สร้างแรงกดต่อกระดูก แต่กระดูกสามารถฟื้นฟูได้อย่างสมบูรณ์
๓.    ระดับการรับน้ำหนักมาก เรียกว่า ระยะพลาสติก (Plastic phase)” กระดูกเกิดความเสียหายแบบกลับคืนไม่ได้ จำเป็นต้องมีการซ่อมแซม และอาจส่งผลต่อการหักของกระดูกได้
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กระดูกของสัตว์ปีกในระบบการเลี้ยงแบบไม่ขังกรง ช่วยให้กระดูกค่อยๆแข็งแรงขึ้นตลอดการวางไข่ แต่ไม่เพียงพอต่อความทนทานกับอันตรายต่อแม่ไก่ในสิ่งแวดล้อมระหว่างการวางไข่ วิธีการแก้ไขคือ การเติมกรดไขมันโอเมกา ๓ ลงในอาหาร โอเมกา ๓ สามารถเติมลงได้อย่างง่ายๆในรูปของเมล็ดของต้นแฟลคซ์ หรือปลาป่น เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการสูญเสียกระดูก โดยการให้โอเมกา ๓ ช่วยลดอุบัติการณ์กระดูกหักจาก ๖๕ เปอร์เซ็นต์เหลือ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ที่อายุ ๕๐ สัปดาห์ และ ๗๐ เปอร์เซ็นต์เหลือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่อายุ ๗๐ สัปดาห์
กระดูกแข็งแรงมากขึ้นเพื่อรับน้ำหนักในระยะอีลาสติก ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยกระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้นเมื่อรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เช่น การออกกำลัง และกระดูกอ่อนแอลงเมื่อรับน้ำหนักลดลง เช่น แม่ไก่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัดการเคลื่อนไหว เช่น กรงตับ เป็นต้น กลไกการควบคุมเฉพาะแห่ง และตามระบบที่ส่งผลต่อการทำหน้าที่ของเซลล์กระดูก และเมตาโบลิซึมของแคลเซียม รวมถึง โกรธฮอร์โมน ฮอร์โมนไทรอยด์ เอสโตรเจน ระดับแคลเซียม และวิตามินดี เพื่อรักษาสุขภาพกระดูกที่ดี วิตามินดีเป็นศูนย์กลางที่มีหน้าที่ควบคุมการทำหน้าที่ของเซลล์กระดูก การดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ และการขับแคลเซียมในไต

ความสำคัญของการปรับระบบ
   ถึงเวลานี้ต้องยอมรับว่าเป็นความจริงที่ว่า การออกกำลัง และการฝึกให้แม่ไก่ออกกำลังช่วยให้กระดูแข็งแรงขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่เรียกว่า ความย้อนแย้งของอันตราย (Hazard paradox)” ของศาสตราจารย์ชาวดัทช์ บาส โรเดนเบิร์ก ภาควิชาสัตวศาสตร์ และสังคม คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอูเทร็คท์ ระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกที่แม่ไก่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระมีความซับซ้อนมากกว่าระบบการเลี้ยงในกรง ความเสี่ยงต่อกระดูกหักมีมากกว่าอย่างมาก เช่น แม่ไก่ที่มีโอกาสบินได้ตามธรรมชาติก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุตกลงมาได้ง่าย ความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักโดยอุบัติเหตุจะน้อยลงในระบบการเลี้ยงแบบกรงจำลองธรรมชาติ (Aviary system) ระบบการเลี้ยงแบบ Portal system มีความปลอดภัยต่อแม่ไก่มากกว่าแบบเดิม Row system เช่น ระบบ Portal system จะมีอุบัติการณ์กระดูกหักส่วนกลางของกระดูกอกต่ำกว่าระบบ Row system ราว ๑๓ เปอร์เซ็นต์ และการติดตั้งระบบ Row system พบว่า ระยะห่างระหว่างแถวมีผลต่อการบาดเจ็บของแม่ไก่ แม่ไก่สีขาวมีน้ำหนักน้อยกว่าแม่ไก่สีน้ำตาล กระโดดได้ไกลกว่า ความชุกของการบาดเจ็บที่กระดูกอกในระบบ Aviary system ที่ใช้พื้นพลาสติกต่ำกว่าลวดตะข่ายราว ๙ เปอร์เซ็นต์
การเพิ่มทางลาดที่ส่วนบนของระบบ Aviary system ช่วยลดกระดูกหักลงได้ ทางลาดพิเศษที่ส่วนบนของระบบช่วยลดการร่วงตกลงมาของแม่ไก่ได้ ๔๕ เปอร์เซ็นต์ ลดการปะทะกันลง ๕๙ เปอร์เซ็นต์ และลดกระดูกหักลงได้ไม่เกิน ๒๓ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับระบบที่ไม่มีทางลาดพิเศษ ระบบ Vencomatic ได้พัฒนาระบบนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว มุมของทางลาดชัดต้องน้อยกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ชั้นบันไดที่ประกอบด้วยตะข่ายโลหะถูกใช้ดีกว่าโดยการเลี้ยงแม่ไก่ดีกว่าพื้นที่หยาบเหมือนกระดาษทราย ผลการวิจัยก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า มุมระหว่างขอนเกาะต่างๆมีความสำคัญ เมื่อมุมที่ใช้ในระบบนี้มากกว่า ๓๐ องศา แม่ไก่จะไม่ค่อยอยากกระโดดลงมา และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเป็น ๒๒ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับการเลี้ยงบนกรง ๕ เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งที่แม่ไก่กระโดดลงมา มุมต้องน้อยกว่า ๔๕ องศา การกระโดดขึ้นของแม่ไก่มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าการกระโดดลง

ความสำคัญของการเลี้ยงไก่รุ่นที่ดี
               ระยะการเลี้ยงไก่รุ่นมีความสำคัญมากต่อการป้องกันความเสียหายของกระดูกอก งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นว่า แม่ไก่รุ่นที่เลี้ยงในระบบ Aviary system มีพัฒนาการที่ดีกว่าในแง่ของทักษะการเคลื่อนที่ และดีกว่าการเลี้ยงในกรง โดยเฉพาะ กระดูกหักน้อยกว่า ไม่ส่งผลต่อการผิดรูปของกระดูก พันธุกรรมก็มีบทบาทสำคัญมาก พันธุ์ลูกผสมสีขาวมีการเคลื่อนที่ในระบบ Aviary system ได้ดีกว่าพันธุ์ลูกผสมสีน้ำตาล แม้ว่า พันธุ์ลูกผสมสีขาวจะมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยทฤษฏีมากว่าพันธุ์ลูกผสมสีน้ำตาล เนื่องจาก มีระบบกระดูกที่เบากว่า มีโอกาสกระดูกหักน้อยกว่าแม่ไก่สีน้ำตาล เนื่องจาก พันธุ์ลูกผสมสีขาวเบากว่า จึงกระตือรือร้นมากกว่า และบินได้ง่ายกว่า พันธุ์ลูกผสมสีน้ำตาลจึงมีความเสียหายของกระดูกอกมากกว่าพันธุ์ลูกผสมสีขาว โดยเฉพาะที่ส่วนยอดของกระดูกอก ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกระดูก และความเสี่ยงของกระดูกหัก พบว่า ปัญหากระดูกหักในสายพันธุ์สีขาวที่คัดเลือกให้ความแข็งแรงของกระดูกสูงจะมีน้อยกว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกให้ความแข็งแรงของกระดูกต่ำ บ่งชี้ถึง ความสำคัญของการคัดเลือกทางพันธุกรรมต่อความเสียหายของกระดูกอก   
  
การออกแบบขอนเกาะ
               เป็นที่ยอมรับกันดีว่า ในระบบที่ไม่เลี้ยงขังกรง ความเสียหายจากกระดูกหักมีมากกว่าระบบการเลี้ยงขังกรง กระดูกหักยังรุนแรงกว่าในระบบที่ไม่เลี้ยงขังกรง การวิจัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ผ่านมาใน ๔๗ ฟาร์มจากเบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ที่เลี้ยงในระบบ Aviary system ชนิดต่างๆ พบว่า การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ส่วนกลางของกระดูกอก ความชุกของปัญหาในแม่ไก่ที่พบปัญหากระดูอกอกหักเฉลี่ยเป็น ๘๒.๕ เปอร์เซ็นต์ โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ รวมถึง พันธุกรรม พฤติกรรม สรีรวิทยา และการออกแบบระบบ Aviary system อีกด้วย และยังขึ้นกับจำนวนของทางลาด และพื้น และวัสดุที่ใช้ผลิตอีกด้วย  
ขอนเกาะมีความสำคัญสำหรับการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของแม่ไก่ และเพิ่มแรงกดต่อกระดูกอก เนื่องจาก การนั่งเป็นเวลานาน ขอนเกาะโลหะแข็งกระด้างกว่าไม้ แต่ไม้ก็มีโอกาสพบไรแดงมากกว่า ขอนเกาะที่ใช้โฟมพียูหุ้มไว้ช่วยลดแรงกระแทกได้ ในกรณีแม่ไก่บินไปชน นอกจากนั้น โฟมพียูยังช่วยให้เกาะได้แน่นขึ้นจึงลดการตกจากขอนเกาะได้ เนื่องจาก เส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่มากขึ้น แรงกดต่อกระดูกอกจึงกระจายน้ำหนักไปได้มากกว่าเดิม ช่วยลดปัญหาการคด และหักของกระดูกได้ อย่างไรก็ตาม โฟมพียูมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย และ/หรือไรแดง การเลี้ยงแม่ไก่ระยะรุ่นไม่เพียงมีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูกให้แข็งแรง แต่ยังช่วยสร้างความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย การใช้ทางลาดก็เป็นประโยชน์ต่อการลดความเสียหายของกระดูกอก ประโยชน์น่าจะมีมากกว่าผลเสียอย่างมาก
เอกสารอ้างอิง
van Doorn D. 2018. Preventing keel bone damage. [Internet]. [Cited 2018 Oct 22]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/10/Preventing-keel-bone-damage-349301E/
ภาพที่ ๑ การคลำที่บริเวณอกไก่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจสอบความเสียหายของกระดูกอก




วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...