นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกัน
และกลายพันธุ์ให้ติดเชื้อสู่มนุษย์ได้
นักวิจัยพบว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒
ที่แยกได้จากปากีสถานสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการให้วัคซีนได้ และเพิ่มโอกาสในการติดต่อสู่มนุษย์ง่ายขึ้น
นักวิจัยจากสถาบันเพอร์ไบร์ต สหราชอาณาจักรวิจัยการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
พบว่า การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่โปรตีนบริเวณผิวอนุภาคเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “ฮีแมกกลูตินิน”
ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช ๙ เอ็น ๒ ทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์
และเข้าสู่เซลล์มนุษย์ได้
ศาสตราจารย์ มูเนอร์ อิคบัล หัวหน้ากลุ่มโรคไข้หวัดนกที่เพอร์ไบรต์ พบว่า
เชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์เอช ๙ เอ็น ๒ มีอัตราการป่วย และตายปานหลางในฟาร์มสัตว์ปีก
และไม่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ แต่ความสามารถของเชื้อไวรัสสับไทป์นี้ในการจับกับตัวรับของเซลล์ที่คล้ายกับมนุษย์ทำให้เกิดข้อวิตกกังวลต่อการติดต่อสู่มนุษย์
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อสู่มนุษย์ และไก่จะใช้ตัวรับของเซลล์โฮสต์ต่างชนิดกันในระยะแรกของขั้นตอนการเข้าสู่เซลล์
การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สามารถจับกับตัวรับของเซลล์มนุษย์ได้
แม้ว่า จะชอบตัวรับของเซลล์คล้ายสัตว์ปีกมากกว่าก็ตาม โปรตีนที่ผิวไวรัสชนิดฮีแมกกลูตินินใช้สำหรับการเข้าสู่เซลล์โฮสต์
เพื่อเริ่มกระบวนการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสทำให้เป็นเป้าหมายหลักสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน
นักวิจัยยังพบอีกว่า การกลายพันธุ์ที่เกิดจากการแทนที่กรดอะมิโนเพียงตำแหน่งเดียว
สามารถทำให้การป้องกันโรคต่ำลงในไก่ที่ให้วัคซีนเอช ๙ เอ็น ๒ การกลายพันธุ์ส่งเสริมให้การจับกับฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสเอช
๙ เอ็น ๒ กับตัวรับของเซลล์เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น
เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสถูกทำให้หมดฤทธิ์ลงได้จากแอนติบอดี อย่างไรก็ตาม
การกลายพันธุ์ย่อมแลกด้วยค่าใช้จ่ายของเชื้อไวรัส นักวิจัยพบว่า
เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สับไทป์เอช ๙ เอ็น ๒ จะไม่เพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม
แสดงให้เห็นถึง สมดุลของธรรมชาติ ที่เชื้อไวรัสต้องรักษาไว้ เมื่อการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เชื้อไวรัสหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกัน
และติดเชื้อเข้าสู่โฮสต์ที่แตกต่างออกไป การกลายพันธุ์หลายครั้งจะทำให้เชื้อไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
นักวิจัยกลุ่มนี้ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้เข้าใจเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์
เอช ๙ เอ็น ๒ กลายพันธุ์ สามารถกลายพันธุ์จนเกิดความสมดุลที่ถูกต้อง
และยังคงสามารถจับกับตัวรับของเซลล์คล้ายมนุษย์ได้ เพื่อให้การคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่สามารถติดเชื้อสู่มนุษย์ได้
และสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Avian flu has potential to adapt. [Internet]. [Cited 2018 Nov 21]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/11/Avian-flu-has-potential-to-adapt-362317E/
ภาพที่ ๑ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกเอช ๙ เอ็น ๒ กำลังกลายพันธุ์ติดสู่มนุษย์
(แหล่งภาพ:
Mark Pasveer)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น