ผู้ผลิตสัตว์ปีกสามารถโฟกัสให้ไก่มีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีได้โดยการคัดเลือกพันธุ์ไก่ที่มีการปกคลุมขนที่ดี
การปกคลุมขนที่ดีมีความสำคัญสำหรับสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ผลผลิต
และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร ไก่ที่มีขนปกคลุมได้ดีจะช่วยให้การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
และขนยังช่วยปกป้องผิวหนังได้โดยตรง
การสูญเสียขนมีสาเหตุจากหลายปัจจัย
สังเกตได้จากตำแหน่งที่มีการร่วงหายไปช่วยบ่งชี้สาเหตุของปัญหาได้ การปกคลุมของขนเป็นคุณลักษณะทางสังคมของสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการสูญเสียขน
และพฤติกรรมทางสังคม ไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์กับการจิกกันเอง แต่อาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดได้
ไก่เป็นสัตว์ปีกจึงชอบที่จะกระโดดเหยียบตัวอื่นๆ
ทำให้เกิดความเสียหายของขนได้เช่นกัน
แรงจูงใจ และเหตุผลที่ไก่สักตัวแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อตัวอื่นๆ
ไม่เหมือนกับการจิกกันเอง การทดลองให้คะแนนความเสียหายของขนไก่บริเวณหัว คอ
และหลัง พบว่า ความเสียหายของขนไก่บริเวณหลัง เป็นตัวบ่งชี้ถึง
ปัญหาการจิกขนกันเอง ขณะที่ การจิกกันเนื่องจากพฤกติกรรมก้าวร้าวต่อกันมักเกิดขึ้นที่หัว
และคอมากกว่า สาเหตุของการจิกขนเกิดได้จากหลายปัจจัย รวมถึง พันธุ์ ความไม่สมดุลทางโภชนาการ
สภาพโรงเรือน และการจัดการ เป็นต้น
ในการทดลองภาคสนาม
กำหนดคะแนนสภาพการปกคลุมของขนไก่ไว้ที่เวลาต่างๆกัน ๒ ช่วง ได้แก่
หลังการให้ผลผลิตพีคที่อายุ ๔๐ สัปดาห์ และที่ ๗๐ สัปดาห์ เป้าหมายของการให้คะแนนสภาพการปกคลุมของขนก็เพื่อสังเกตความแตกต่างระหว่างพันธุ์จะแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างการเลี้ยงเชิงพาณิชย์
หรือห้องทดลอง เก็บข้อมูลจากไก่ ๓๕๐,๐๐๐ ตัวต่อปีโดยใช้วิธีการของแอสชัวร์เวล
ที่กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยกำหนดคะแนนเป็น
๐ ไม่มี หรือมีความเสียหายของขนน้อย
ไม่พบบริเวณผิวหนังที่เปลือย หรือมีขนขึ้นน้อย มีขนหายไปไม่มากนัก
๑ มีความเสียหายของขนน้อย ขนขึ้นปกคลุมปานหลาง
มีบริเวณที่เกิดความเสียหายน้อยกว่า ๒ ตำแหน่งจนเห็นผิวหนังที่เปลือย
เส้นผ่านศูนย์กลางสูงที่สุด ๕ เซนติเมตร
๒
มีความเสียหายของขนปานหลางถึงรุนแรง สังเกตเห็นบริเวณผิวหนังเปลือยชัดเจน
เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า ๕ เซนติเมตร
โดยอาศัยพื้นฐานของการให้คะแนนนี้
สามารถคำนวณความสามารถในการถ่ายทอดคุณลักษณะทางพันธุกรรมสำหรับบริเวณคอ และหลังได้
ความสามารถในการถ่ายทอดคุณลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวแตกต่างกันไประหว่างสายพันธุ์
และต่อพื้นที่ อยู่ในช่วงระหว่าง ๐.๐๘ ถึง ๐.๒
ความสามารถในการถ่ายทอดคุณลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวจะต่ำลง
เมื่อเปรียบเทียบกับคุณลักษณะการให้ไข่ และคุณภาพไข่ แต่สอดคล้องไปกับคุณลักษณะทางด้านสังคม
ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์จึงมีโอกาสสำเร็จได้ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยๆป
ค้นหายีนที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยวาเกนนิงเก้น เพื่อค้นหายีนที่เกี่ยวข้องโดยตรงทางพันธุกรรม
และทางอ้อมกับพฤติกรรมทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจิกขน การใช้สายพันธุ์เฮนดริกซ์
แล้วศึกษาผลต่อสนิปถูกประเมินทีละลักษณะทั้งทางตรงและทางอ้อม พบว่า
สนิปที่อยู่ใกล้กับตัวรับของเซลล์ชนิดกาบามีความสัมพันธ์ทั้งทางตรง และทางอ้อมกับเวลาการรอดชีวิต
การวิจัยครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการใหญ่ที่ศึกษาบทบาทของจีโนมิกต่อการแก้ไขปัญหาสวัสดิภาพสัตว์
การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปโดยการเพิ่มเติมคุณลักษณะของขนที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยเพิ่มเติมสำหรับแผนการปรับปรุงพันธุ์
เวลานี้สามารถเลือกไก่ที่เชื่อง ไม่ก้าวร้าว โดยมีขนปกคลุมเป็นเวลานาน
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019. Focusing
on welfare by selecting for good feather cover. [Internet]. [Cited 2019 Apr 5].
Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2019/4/Focusing-on-welfare-by-selecting-for-good-feather-cover-412962E/
ภาพที่ ๑ การงอกของขนที่ดีมีความสำคัญต่อสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์
ผลผลิต ประสิทธิภาพการแลกเนื้อ (แหล่งภาพ Shutterstock)