นักวิจัยศึกษาผลกระทบของระยะทางการขนส่งต่อไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ที่ระยะทางระหว่าง ๑๕ ถึง ๙๐ กิโลเมตร นักวิจัยจากบราซิลพยายามประเมินผลของอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และดัชนีความสบาย (ECL enthalpy comfort index) ของไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ที่มีการขนส่งระหว่างระยะทาง ๑๕ ถึง ๙๐ กิโลเมตร ทั้งฤดูร้อน และหนาว (ฝน และแล้ง) และผลกระทบต่อน้ำหนักตัว อัตราการตาย และความชุกของรอยช้ำ
ความเครียดจากการขนส่งต่อไก่เนื้อ ระหว่างการขนส่งไก่เข้าสู่โรงเชือด ไก่เนื้อต้องอดน้ำ และอาหารเป็นเวลานาน มีความสัมพันธ์กับ Yield losses ที่โรงเชือด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขนส่ง เช่น การสั่นสะเทือน สิ่งรบกวน และเสียงที่เกิดขึ้นบนถนนระหว่างการเดินทาง ล้วนสร้างความเครียดให้กับสัตว์ จนทำให้เกิดความสูญเสีย นอกเหนือจากนั้น ความผันผวนของสภาวะอากาศระหว่างการขนส่ง เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น และการไหลเวียนอากาศภายในกล่องไก่ ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดสำหรับไก่เนื้อ
ผลกระทบต่อผลผลิต
ผลกระทบของปัจจัยด้านสภาวะอากาศในพื้นที่ขนาดเล็ก เป็นที่ยอมรับกันดีว่าส่งผลกระทบต่อผลผลิตไก่เนื้อที่โรงเชือด เช่น Carcass yield (ปริมาณของเนื้อ) และคุณภาพซาก โดยเฉพาะ การเกิดรอยช้ำ การวิเคราะห์ผลวิจัยครั้งนี้ ยังพิจารณา และประเมินระดับของอุณหภูมิอากาศที่ทำให้สัตว์รู้สึกสบายระหว่างการขนส่งอีกด้วย นั่นคือ ปัจจัยเหล่านี้จะใช้สำหรับการพิจาณาเป็นเกณฑ์ในการเลือก และพัฒนาการจัดการในขั้นตอนก่อนเข้าสู่โรงเชือด เช่น เวลาสำหรับการจับไก่ และขึ้นรถขนส่ง ความหนาแน่นของไก่เนื้อต่อกล่อง และการราดน้ำไก่ เป็นต้น
การประเมินความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสภาวะอากาศในพื้นที่ขนาดเล็กจากการขนส่งด้วยระยะทางแตกต่างกัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการประเมินความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสภาวะอากาศในพื้นที่ขนาดเล็กระหว่างการขนส่งไก่เนื้อจับเข้าสู่โรงเชือดที่มีระยะทางแตกต่างกัน ในช่วงฤดูที่มีฝน และแห้งแล้ว และผลของปัจจัยด้านสภาวะอากาศในพื้นที่ขนาดเล็กต่อน้ำหนักไก่เข้าเชือด น้ำหนักตัวที่สูญเสียไป อัตราการตาย และการปรากฏรอยช้ำที่ซากไก่ ตามตำแหน่งของกล่องไก่บนรถขนส่ง
ฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุด
เมื่อพิจารณาด้านความเป็นอยู่ที่สบายของสัตว์ ฤดูฝนเป็นช่วงเวลาที่ถือได้ว่าวิกฤติที่สุดสำหรับสัตว์ระหว่างการขนส่ง จากผลการทดลองที่สังเกตว่ามีค่าดัชนี ECI สูงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในฤดูฝน และระยะทางไกลกว่า ๙๐ กิโลเมตร ค่าดัชนี ECI สูงที่สุดไปถึงระดับโซนที่ไก่ตายได้ ยิ่งระยะทางไกลมากเท่าไรก็ยิ่งเกิดความแตกต่างของน้ำหนักตัวไก่เพิ่มขึ้น แต่ตำแหน่งของกล่องไก่ที่มีค่าดัชนี ECI สูงก็ไม่ได้มีการสูญเสียน้ำหนักตัว และอัตราการตายสูงกว่าตำแหน่งอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ
ผลกระทบต่อสวัสดิภาพสัตว์
ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สภาวะอากาศในพื้นที่ขนาดเล็กอาจส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพสัตว์ แต่ไม่จำเป็นต้องส่งผลกระทบต่อผลผลิตไก่เนื้อให้ลดลงได้ ฤดูกาล และระยะทางขนส่งไม่มีผลกระทบต่อความชุกของรอยช้ำ เป็นไปได้ว่า ความชุกจะมีความสัมพันธ์กับการจัดการไก่เนื้อ ผลของการขนส่งที่ส่งผลต่อผลผลิตไก่เนื้ออาจสัมพันธ์กับสภาพถนน แต่ยังเป็นการยากที่จะประเมินผลกระทบที่แท้จริงของฤดูกาล และระยะทางต่อสวัสดิภาพสัตว์จริงๆ
เอกสารอ้างอิง
Berkhout N. 2020. Effect of transport distance and climate on broilers [Internet]. [Cited 2020 Sep 1]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/9/Effect-of-transport-distance-and-climate-on-broilers-634302E/
ภาพที่ ๑ รถขนส่งมาตรฐานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ (แหล่งภาพ PLOS ONE)