เทคโนโลยีนี้พัฒนาโดยนักวิจัยเดนมาร์ก และแตกต่างจากวิธีการอื่นๆที่เคยมีการใช้กันมา เนื่องจาก อาศัยการวินิจฉัยโรคด้วยพีซีอาร์ การใช้เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ ผู้ผลิตสัตว์ปีกสามารถมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ด้านสุขภาพของสัตว์ปีกทั้งฝูง โดยใช้ตัวอย่างเพียง ๑ ตัวอย่างเท่านั้น ร่วมกับวิธีการที่นิยมใช้อื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่าง Sock samples สำลีป้ายเชื้อ และตัวอย่างเลือด ในบางกรณีอาจเก็บตัวอย่างอวัยวะร่วมด้วย
เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์เป็นวิธีการที่ใช้ง่ายสำหรับการตรวจติดตามสุขภาพสัตว์จากสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม สามารถวิเคราะห์เชิงปริมาณของเชื้อก่อโรคโดยใช้เก็บตัวอย่างเพียง ๑ ตัวอย่างเท่านั้น จึงเป็นวิธีการที่ราคาไม่แพงสำหรบตรวจติดตามสุขภาพจากโรคที่สำคัญต่างๆที่มีความเสี่ยงต่อผลผลิตในฟาร์มได้ ช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกตรวจสอบโรคได้ก่อนที่อาการจะปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะ ก่อนที่เชื้อเหล่านี้จะติดต่อเข้าสู่ตัวสัตว์ทั้งฟาร์ม และส่งผลกระทบต่อการผลิตได้
กรณีตัวอย่าง ฟาร์มเลี้ยงไก่จำนวน ๒๕,๐๐๐ ตัว ช่วยให้เห็นภาพรวมของสุขภาพสัตว์ทั้งฟาร์ม สามารถมองเห็น และประเมินได้ว่า เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศภายในฟาร์ม นอกเหนือจาก การตรวจเลือดจากตัวไก่โดยตรง
ผลวิจัยสนับสนุน
ผลงานนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ ได้แก่ การดักจับเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสจากระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารได้ในเวลาเดียวกัน แม้กระทั่ง เชื้อโรคที่ตามปรกติไม่ได้แพร่กระจายตามอากาศก็ถูกดักจับได้โดยเทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์นี้ เนื่องจาก แบคทีเรีย และไวรัส เกาะอยู่ตามอนุภาคฝุ่น
จากโรคทั้งหมด ๑๖ โรคที่ เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์พิสูจน์แล้วว่าตรวจสอบได้แม่นยำทัดเทียมกับวิธีการทดสอบที่นิยมกันทั่วไป ได้รับการรับรอง EN ISO 16140-02:2016 และ Danish Accreditation Fund (DANAK) ภายใต้มาตรฐาน ISO17025
ตรวจพบโรคก่อนอาการจะปรากฏ
โรคที่ไม่แสดงอาการ เช่น โรคที่ไม่ปรากฏอาการชัดเจน หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อยจนสังเกตไม่พบ แต่โรคเหล่านี้มักจะเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู้ผลิตสัตว์ปีก เนื่องจาก เชื้อโรคเหล่านี้มักวนเวียนในตัวไก่ที่มีผลผลิตต่ำเพียงเล็กน้อย ก่อนที่จะพบว่าฝูงไก่ติดเชื้อไปแล้ว
ความจริงแล้ว ความเสียหายโดยภาพรวมจากโรคที่ไม่ปรากฏอาการมักสูงกว่าโรคที่รุนแรง และมีอัตราการตายสูง เนื่องจาก โรคที่ไม่ปรากฏอาการจะค่อยๆส่งผลต่อการผลิตน้อยๆแต่เป็นเวลานานก่อนที่จะตรวจพบโรค การใช้เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ช่วยให้ตรวจพบการปรากฏของเชื้อก่อโรคก่อนที่จะสังเกตเห็นอาการได้ การตรวจติดตามเป็นประจำช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกสามารถตรวจพบเชื้อก่อโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก และควบคุมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตของตัวเองได้อย่างทันท่วงที
ในอุดมคติ ผู้ประกอบการควรตรวจสอบฝูงไก่ทุกฝูง เพื่อเฝ้าระวังโรคสำคัญที่สุด ๕ ถึง ๑๐โรค ดังนั้น จึงเป็นการตรวจจับตั้งแต่ระยะแรกของการติดเชื้อ จึงเป็นการช่วยลดความเสียหายจากโรคก่อนที่จะปรากฏขึ้นจริง นอกจากนั้น ยังสามารถนำความรู้ที่ได้จากเทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์เกี่ยวกับปริมาณของเชื้อก่อโรคในฟาร์มที่กำลังเลี้ยงอยู่ เพื่อปรับใช้โปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงรุ่นถัดไปได้
เครื่องมือสำหรับสัตวแพทย์ในอนาคต
ตัวอย่างที่เก็บไว้สำหรับการทดสอบด้วยเทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ สามารถรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการได้ เพื่อเก็บเป็นคลังห้องสมุดตัวอย่างและข้อมูลสำหรับฟาร์มไก่ทุกแห่ง เช่น ในเดนมาร์กจะเก็บตัวอย่างสำรองไว้หกเดือน หากผู้ผลิตสัตว์ปีกทุกฟาร์มส่งตัวอย่างเป็นประจำ ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือสำหรับการสอบสวนโรคสำคัญ เช่น โรคไข้หวัดนก ในกรณีที่มีการระบาดเข้าสู่พื้นที่
โรคไข้หวัดนกเพิ่งตรวจพบในเดนมาร์ก และหากเทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ได้นำมาใช้แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐก็สามารถตรวจสอบประชากรทุกฟาร์มในเดนมาร์กสำหรับโรคไข้หวัดนกภายในไม่กี่วันที่ประกาศพบโรคจากตัวอย่างที่เพิ่งได้รับมาทั้งหมด การตรวจติดตามโรคไข้หวัดนำอย่างต่อเนื่องในอีกสองเดือนถัดมา จนกระทั่ง โรคสงบ ด้วยวิธีการดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม เพียงนำตัวอย่างที่มีอยู่แล้วในคลังห้องสมุดตัวอย่างมาใช้เท่านั้น
เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คท์ อาจเป็นเครื่องมือเชิงรุกสำคัญสำหรับสัตวแพทย์ในอนาคต เมื่อการวินิจฉัยโรคขยับไปสู่การเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ในระยะที่สัตว์ไม่แสดงอาการ รวมถึง ปัญหาเชื้อจุลินทรีย์ดื้อยาปฏิชีวนะที่กำลังได้รับการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นทั้งในสัตว์ และมนุษย์ ยิ่งผู้ผลิตสัตว์ปีกจัดการได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้ยาปฏิชีวนะถูกใช้น้อยลงเท่านั้น เป็นการช่วยลดเชื้อดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
AeroCollect. 2020. Lower infection rates using a unique testing method. [Internet]. [Cited 2020 Dec 14]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Partner/2020/12/Lower-infection-rates-using-a-unique-testing-method-684641E/
ภาพที่ ๑ การใช้เทคโนโลยีแอโรคอลเล็คช่วยให้การเฝ้าระวังโรคในฟาร์มสัตว์รวดเร็ว และแม่นยำ (แหล่งภาพ AeroCollect)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น