หน่วยบริการด้านการตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ตั้งเป้าเพิ่มความเข้มงวด และความเข้มข้นในการควบคุมการป่วยจากเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่มาเกิดจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กำหนดแผนในการลดการปนเปื้อนเชื้อ
ซัลโมเนลลา ตลอดห่วงโซ่การลิตสัตว์ปีก และระบบการผลิตทั้งหมด
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านสาธารณสุข โดยกำหนดลดการป่วยจากเชื้อ
ซัลโมเนลลา ลงให้ได้ร้อยละ ๒๕
แม้ว่าจะปรากฏเชื้อ ซัลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกลดลงอย่างต่อเนื่องหลายปี
สัตว์ปีกก็ยังมีความเชื่อมโยงกับการติดเชื้อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ ๒๓
ของการติดเชื้อทั้งหมด ๑.๓๕ ล้านรายต่อปีในสหรัฐฯ ทำให้มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล
๒๖,๕๐๐ ราย และเสียชีวิต ๔๒๐ ราย
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กำลังมองหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะแนะนำกลยุทธ์สำหรับการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา และการประเมินผล รวมถึง โครงการนำร่อง ในโรงเชือดสัตว์ปีก และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก
การลดเชื้อ
ซัลโมเนลลา ไม่ให้เข้าสู่โรงฆ่า
กุญแจสำคัญของเป็นการลดการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ไม่ให้เข้าสู่ฟาร์ม โครงการนำร่องหนึ่งจะเป็นการเพิ่มการทดสอบเชื้อแบคทีเรียเชิงปริมาณ และทดสอบเชื้อ ซัลโมเนลลา บางสายพันธุ์ ที่ทำให้คนป่วยได้ นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วัคซีนเพิ่มขึ้น รวมถึง การใช้โปรไบโอติกในอาหารสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่า วัสดุรองพื้น อาหาร และน้ำ ยังคงสะอาด เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียในตัวไก่ลงให้ได้
การปฏิรูปความปลอดภัยสำหรับการผลิตสัตว์ปีก
ระบบการผลิตในปัจจุบัน
ยังมีรอยรั่วให้เชื้อ ซัลโมเนลลา เข้าสู่ระบบการผลิตได้ อัตราการป่วยจากการติดเชื้อ
ซัลโมเนลลา และ แคมไพโลแบคเตอร์ ในสหรัฐฯ ยังคงสูงตลอดเวลา ๒๐
ปีที่ผ่านมา แม้จะมีความพยายามบังคับกฏระเบียบของภาครัฐ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแล้วก็ตาม
จึงเห็นว่า ควรยกระดับกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบันขึ้นมาอีก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ต้องค้นหานวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ความปลอดภัยอาหารต้องขยายพื้นที่ต่อไปจากวัตถุดิบไปจนถึงบรรจุภัณฑ์สุดท้าย โดยเฉพาะ แคมไพโลแบคเตอร์ จำเป็นต้องรวมไว้ด้วย และจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น
สภาไก่แห่งชาติ
ความจำเป็นต่อการให้ความรู้ผู้บริโภค
สภาไก่แห่งชาติ (National Chicken Council, NCC) เน้นย้ำว่า แม้ว่าระดับเชื้อจะต่ำอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ดิบจะถูกจัดการ
หรือปรุงสุกอย่างไม่เหมาะสม การสร้างความรู้ให้กับผู้บริโภคในการจัดการ และปรุงสุกเนื้อดิบเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป
เพิ่มเติมไปยังเชื้อแบคทีเรียทุกชนิดที่พบในไก่ดิบ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ก็สามารถทำลาย
โดยการจัดการ และปรุงสุกอย่างเหมาะสม
ขณะที่ บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีก ปรับปรุงให้ทันสมัย ทำการวิจัย สร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยี รวมแล้วนับพันล้านบาทต่อปี เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ไก่ การตรวจสอบ และทดสอบอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จระยะยาวของการจัดการเหล่านี้ในการช่วยสร้างความปลอดภัยเพื่อผลิตโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร และราคาย่อมเยาสำหรับผู้บริโภค
สหพันธ์ไก่งวงแห่งชาติ
เห็นว่า ไม่มีหนทางที่ง่าย
ไม่มีหนทางที่ง่ายสำหรับการเพิ่มความปลอดภัยอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ต้องเป็นคนกลางสร้างความร่วมมือ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา แล้ว โดยบังคับใช้กฏระเบียบในประเทศบังคับใช้สำหรับภาคการผลิตไก่ และเชื่อมโยงชนิดของเชื้อ ซัลโมเนลลา กับข้อมูลการป่วยของคน เพื่อวางแผนจัดการเชื้อ ซัลโมเนลลา ทั้งฟาร์มไก่พันธุ์ โรงฟัก ไก่เนื้อ และไก่ไข่
เอกสารอ้างอิง
Berkhout N. 2021. USDA aims to reduce salmonella illnesses linked to poultry. [Internet]. [Cited 2021 Nov 11]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/11/USDA-aims-to-reduce-salmonella-illnesses-linked-to-poultry-815596E/
ภาพที่ ๑ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
ใกล้เป้าหมายแล้วในการลดการป่วยจากเชื้อ ซัลโมเนลลา ลงร้อยละ ๒๕ (แหล่งภาพ Manfred Richter)