วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564

จีนลดการใช้ถั่วเหลืองในอาหารสัตว์

 ในฤดูใบไม้ผลิตนี้ จีนเริ่มลดระดับกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์

ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าทั้งถั่วเหลือง และข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ปริมาณสูงเป็นสถิติใหม่ ส่งผลให้จีนจำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศอย่างมาก และต้องพยายามรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้เป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐฯกับจีน และคานาดากับจีน ขณะที่ จีนยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นหลัก สร้างความวิตกกังวลต่อจีนเป็นอย่างมาก ทั้งที่ราคาข้าวโพด และถั่วเหลืองก็สูงมาก

สื่อ Global Times รายงานไว้ในเดือนพฤษภาคมว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การระบาดของโรคโควิด ๑๙ และภัยพิบัติทางธรรมชาติในหลายประเทศได้ทำให้ราคาข้าวโพดพุ่งสูงที่สุดในรอบ ๕ ปี ราคากากถั่วเหลืองก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่เดือน

ข้อแนะนำจากรัฐบาลจีน

เพื่อบรรเทาปัญหานี้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตร และชนบทจีน เรียกร้องให้บริษัทต่างๆลดการใช้ถั่วเหลือง และข้าวโพดในอาหารสัตว์ แม้ข้อเรียกร้องนี้จะเฉพาะเจาะจง แต่ก็เป็นข้อเสนออย่างสมัครใจ และเป็นแนวทางเท่านั้น อ้างตาม Zhu Xi’an หัวหน้ากลุ่มการเกษตรใน Mysteel.com บริษัทผู้ติดตามตลาดสินค้าเหล็ก และการเกษตร เห็นว่า อุตสาหกรรมได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวแล้ว และกำลังพยายามลด และใช้วัตถุดิบอื่นๆทดแทน  

สื่อ Global Times รายงานเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมาว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ New Hope Liuhe ได้ลดกากถั่วเหลืองในอาหารสัตว์แล้วเหลือร้อยละ ๒ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ ๑๒.๕ และปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ร้อยละ ๑๓.๒ แต่ผู้ผลิตเนื้อสุกรรายใหญ่ที่สุด Muyuan Foods ได้ลดปริมาณโปรตีนในอาหารสัตว์ของตัวเอง โดยการลดกากถั่วเหลืองลงแล้วเช่นกัน การใช้เหลือเพียงร้อยละ ๙.๘ อ้างตาม Nasdaq.com เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมร้อยละ ๑๘ Muyuan Foods มีการผลิตสุกร ๑๘ ล้านตัวในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

การใช้กฏหมายบังคับให้ลดถั่วเหลือง

ในเดือนพฤษภาคม Qin Yinglin ประธาน Muyuan อ้างว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่ใช้โปรตีนในอาหารสุกรมากเกินไป และเน้นย้ำว่า หากทั้งอุตสาหกรรมลดการใช้กากถั่วเหลืองในอาหารสุกรลงร้อยละ ๙.๘ ซึ่งลดการใช้ปริมาณกากถั่วเหลืองต่อสุกร ๑ ตัวลงได้ราว ๓๑ กิโลกรัม ทั้งประเทศก็จะใช้กากถั่วเหลืองลงได้ ๒๐ ล้านตัน จีนนำเข้าถั่วเหลืองราว ๑๐๐ ล้านตันต่อปี และนำไปเตรียมเป็นกากถั่วเหลืองสำหรับผลิตปศุสัตว์ และเรียกร้องให้รัฐบาลจีนกำหนดเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทต่างๆจะลดปริมาณโปรตีนในอาหารสัตว์ของตนเอง

วัตถุดิบทดแทนข้าวโพด และถั่วเหลือง

              กระทรวงเกษตรจีน แนะนำให้ใช้ข้าว มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวบาร์เรย์ และซอร์กัม เป็นวัตถุดิบทดแทนข้าวโพด กากถั่วเหลืองสามารถทดแทนด้วยกากเรพซีด กากเมล็ดนุ่น กากถั่วลิง กากเมล็ดทานตะวัน กากปาล์ม กากเฟล็กซ์ กากงา และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการแปรรูปข้าวโพด

              รัฐบาลจีนแนะนำให้ลดการใช้ข้าวโพด และถั่วเหลืองลงตามระดับท้องถิ่น ข้าวโพดสามารถลดลงได้ร้อยละ ๑๕ ในอาหารสุกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เช่น โดยการใช้ข้าว และรำข้าว หรือซอร์กัม แป้งมันสำประหลัง กากรำข้าว และข้าวบาร์เลย์ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของวัตถุดิบทดแทนก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก

วิเคราะห์ต้นทุน

              ต้นทุน และปริมาณวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญที่สำคัญสำหรับการเลือกใช้ทดแทนกากถั่วเหลือง เนื่องจาก ราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ข้าวสาลีที่มีราคาย่อมเยาว์กว่าจึงน่าสนใจที่จะเลือกใช้ ความจริงแล้วยังมีอาหารสัตว์หลายชนิดที่ใช้ข้าวสาลีทดแทนข้าวโพด แต่เป็นแรงขับที่มาจากราคาเป็นหลัก ยังคงมีโควตาจำกัดการนำเข้าสาลี ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นข้าวสาลีจากภายในประเทศ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงผลกระทบต่อการใช้กากถั่วเหลือง อ้างอิงตามนักวิเคราะห์อาวุโสจาก StoneX คาดว่า ข้าวสาลีภายในประเทศที่ใช้สำหรับปศุสัตว์ภายในประเทศจีน เพิ่มขึ้นไปแล้วราว ๓๐ ล้านตันในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ การใช้ข้าวสาลีในอาหารสัตว์เป็นผลมาจากการลดการใช้กากถั่วเหลือง ข้าวสาลีมีราคาถูกกว่าข้าวโพดได้สักพักแล้ว นอกจากนั้น ปีนี้ยังมีสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวสาลี ดังนั้น คุณภาพจึงลดลง จึงทำให้ยิ่งถูกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก

              กลยุทธ์ของ Muyuan Foods ในการลดกากถั่วเหลืองในอาหารสุกรเป็นการใช้กรดอะมิโนสังเคราะห์ ขณะที่ บริษัทเองก็พยายามใช้กลยุทธ์นี้ แต่ไม่มีการตอบสนอง ทั้งนี้เข้าใจว่า การใช้กรดอะมิโนส่วนใหญ่มาจากข้าวโพด ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้เชื่อว่ามีแรงจูงใจที่จะแสดงให้เห็นถึงความพยายามตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของภาครัฐบาลให้เปลี่ยนสูตรอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อน เนื่องจาก อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าวโพดในจีนที่ผลิดกรดอะมิโนได้ขยายไปเรียบร้อยแล้วเมื่อไม่กี่ปีที่ผานมา การใช้ข้าวโพดของอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นหมายความว่า ความต้องการที่สูงขึ้นในจีนด้วยเช่นเดียวกัน และนำไปสู่การขาดแคลน ก็จะต้องมีการนำเข้าในปริมาณที่สูงขึ้น ดังนั้น ขณะที่ภาครัฐพยายามส่งเสริมให้สูตรอาหารสัตว์ลดการใช้กากถั่วเหลือง ไม่ได้ทำให้ลดการนำเข้าวัตถุดิบลงได้

พัฒนาการที่ช้ามาก

              อุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศจีน พยายามลดการใช้กากถั่วเหลืองในเวลานี้ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก บางครั้ง กากเรพซีด และกากทานตะวันก็หาได้ง่ายในราคาที่ดีทีเดียว แต่ขณะนี้ ผลิตสุกรตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับต้นทุนการผลิต และจะเลือกใช้อะไรก็ได้ที่ราคาถูกที่สุด ในเวลาเดียวกัน ยังพบว่าวัตถุดิบทางเลือกที่จะทดแทนกากถั่วเหลือง เช่น กากเรพซีด กากเมล็ดนุ่น กากถั่วลิสง ยังใช้กันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัจจัยด้านราคา ปริมาณของวัตถุดิบโลกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือก คอนเทนเนอร์ที่จะใช้ขนส่งก็ยังหาพื้นที่ได้ยากมาก จึงเป็นการยากที่วัตถุดิบทางเลือกจะสามารถลดความต้องการถั่วเหลืองได้จริงๆ ความพยายามของรัฐบาลจีนทีจะลดการนำเข้าถั่วเหลือง และสร้างทางเลือกของวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้หลากหลายมากขึ้น ควรเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านอาหารสัตว์ เพื่อรายงานให้กับผู้ผลิตเกี่ยวกับสูตรอาหารสัตว์ต่างๆ ยังเป็นการยากอย่างมากที่จะไปเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน จากนโยบายปัจจุบัน ยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มาก เกษตรกรจะยังคงเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ราคาถูกที่สุด และสิ่งนั้นก็ยังคงเป็นถั่วเหลืองอยู่นั่นเอง        

เอกสารอ้างอิง

All About Feed. 2021. China to reduce soy in animal diets. [Internet]. [Cited 2021 Dec 9]. Available from: https://www.allaboutfeed.net/market/market-trends/china-to-reduce-soy-in-animal-diets/

ภาพที่ ๑ จีนลดการใช้ถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ (แหล่งภาพ Wikipedia)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...