วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566

รัสเซีย รณรงค์คอมพาร์ทเมนต์สู้หวัดนก

 ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียขอให้รัฐบาลใช้ระบบคอมพาร์ทเมนต์เหมือนกับฟาร์มสุกรที่ใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการต่อสู้กับโรคอหิวาต์สุกร หรือเอเอสเอฟ อ้างอิงตาม Sergey Dankvert หัวหน้าสำนักงานสัตวแพทย์รัสเซีย (Rosselhoznadzor) ระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่รัฐ

               มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่เข้มงวด เป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างหนักในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ความเสียหายจากโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นทั้งในยุโรป อเมริกา แม้กระทั่ง ญี่ปุ่น เนื่องจาก ประเทศต่างๆเหล่านี้เลือกที่จะไม่เพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันโรคทางชีวภาพ ด้วยระบบคอมพาร์ทเมนต์ แต่เลือกจะปฏิบัติตามเส้นทางสีเขียว หมายความว่า สัตว์สามารถเดิน สูดอากาศที่สดชื่น และไม่ถูกกักพื้นที่ไว้ในกรง   ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ รัสเซียเกิดการระบาดไปแล้ว ๕๖ ครั้งใน ๑๕ พื้นที่ ทำลายสัตว์ปีกไปราว ๑.๕ ล้านตัว

ฟาร์มขนาดใหญ่ได้ประโยชน์

                อุตสาหกรรมสุกรรัสเซีย ฟาร์มทั้งหมดแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม หรือคอมพาร์ทเมนต์ตามระดับของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยคอมพาร์ทเมนต์ ๑ และ ๒ เป็นฟาร์มที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ต่ำหรือไม่ดี ขณะที่ คอมพาร์ทเมนต์ ๓ เป็นฟาร์มที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพได้มาตรฐาน

               ฟาร์มที่มีการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดเป็นคอมพาร์ทเมนต์ ๔ บ่งชี้ว่า ปฏิบัติตามกฏระเบียบของสัตว์แพทย์อย่างเข้มงวดที่สุด ประโยชน์สำคัญคือ ฟาร์มสัตว์ปีกที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่โรคระบาด สามารถขายสินค้าไปยังนอกพื้นที่ หรือนอกประเทศได้

               เหตุผลสำหรับการออกแบบระบบนี้เป็นการป้องกันฟาร์มขนาดใหญ่ไม่ให้เสียหายจากการระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน เมื่อเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่ใกล้เคียง ในกรณีนี้ การกักกันโรคในบริเวณโดยรอบเขตเกิดโรคอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของฟาร์มที่เลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรม

ระบบที่มีประสิทธิภาพ

               เจ้าพนักงานรัฐของรัสเซียเชื่อว่าระบบคอมพาร์ทเมนต์ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศ ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกันได้ในเวลาไม่กี่ปี หน่วยงานรัฐบาลรัสเซียพยายามทุกวิถีทางในการใช้ระบบรีเจียนอลไลเซชัน และคอมพาร์ทเมนทาไลเซชันให้เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ เริ่มจากจีนก่อน เพื่อให้ส่งออกสินค้าจากพื้นที่และฟาร์มที่ปลอดภัยได้ ภายหลังการประกาศโรคระบาดใหม่ มาตรการต่างๆเหล่านี้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมาก     

               การขยายระบบคอมพาร์ทเมนต์ไปยังอุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นหนึ่งในหลายมาตรการของรัฐบาลรัสเซียที่ใช้สำหรับการต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียได้ขอร้องให้รัฐบาลอนุญาตใช้วัคซีนไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก แม้ว่าจะกลัวเหมือนกันว่าอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าได้  

เอกสารอ้างอิง

Global Poultry Sector Authors. 2023. Bird flu pushes Russia to rejiggle veterinary system. [Internet]. [Cited 2023 Apr 17]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/bird-flu-pushes-russia-to-rejiggle-veterinary-system/

ภาพที่ ๑ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียขอให้รัฐบาลใช้ระบบคอมพาร์ทเมนต์เหมือนกับฟาร์มสุกรที่ใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับการต่อสู้กับโรคอหิวาต์สุกร หรือเอเอสเอฟ (แหล่งภาพ Bertil van Beck)



วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

อิตาลี ชาติแรกที่แบนเนื้อสังเคราะห์จากแล็บ

 รัฐบาลอิตาลีรับรองกฏหมายแบนการใช้อาหารและอาหารสัตว์ที่ผลิตจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความปลอดภัยของประเพณีการบริโภคอาหารและการเกษตกรรมของประเทศ

               เนื้อสังเคราะห์จากแล็บ ไม่สามารถรับประกันคุณภาพ การมีชีวิตที่ดี และการปกป้องวัฒนธรรม และประเพณีของอิตาลี ตามความเห็นของกระทรวงเกษตร สมควรต้องคุ้มครองอาหารประจำชาติอิตาลีจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อาจเป็นอันตราย และเมื่อปีที่แล้ว อิตาลีก็พึ่งเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรเป็นกระทรวงเกษตรและอำนาจอธิปไตยของอาหารประจำชาติ  

               หากกฏหมายผ่านสภาแล้ว อาหารหรืออาหารสัตว์จากเซลล์หรือเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงที่มาจากสัตว์มีกระดูกสันหลังจะไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปรับเป็นเงิน ๒.๓ ล้านบาท นอกจากนั้น อิตาลียังต่อต้านการใช้แมลงเป็นอาหารทางเลือกอีกด้วย

ชาวอิตาลีไม่ได้เห็นด้วยทุกคน

               อย่างไรก็ตาม ชาวอิตาลีไม่ได้ยินดีกับข่าวนี้ทุกคน และบางส่วนยังสนับสนุนการเกษตรกรรมที่อาศัยเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ

               สถาบันอาหารที่ดียุโรปเห็นว่า การผ่านกฏหมายนี้เป็นการก้าวถอยหลังสำหรับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาสภาวะอากาศโลก และทางเลือกของผู้บริโภค  

               อิตาลีจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังประเทศยุโรป และความก้าวหน้าของโลกที่จะแสวงหาระบบการผลิตอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งที่ชาวอิตาลีร้อยละ ๕๔ ต้องการลองชิมเนื้อเพาะเลี้ยง กลับถูกแบนไปแล้ว

               ขณะเดียวกัน เครือข่ายบริษัทผู้ผลิตอาหาร เซลลูลาร์อะกริคัลเจอร์ ยุโรป ย้ำว่า หากใช้เนื้อสังเคราะห์ในการผลิตอาหาร ผู้บริโภคในอิตาลีก็ไม่ต้องกังวลกับสวัสดิภาพสัตว์ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอง   

               ทั้งนี้ การแบนยังไม่ได้ผ่านการรับรองทางกฏหมาย หลายคนเชื่อว่าเป็นการด่วนสรุปกันเกินไป

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2023. Italy – the first to ban lab meat and feed?. [Internet]. [Cited 2023 Apr 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/italy-the-first-to-ban-lab-meat-and-feed/

ภาพที่ ๑ แฮมเบอร์เกอร์จากเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการอันแรก ที่ยังไม่ผ่านการทอด แสดงในการประชุมผู้สื่อข่าวในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ สินค้าเนื้อสังเคราะห์จากเซลล์เพาะเลี้ยงได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมาสทริชท์ (แหล่งภาพ World Economic Forum)




วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซีย ชาติอาชญากรต้องปรับตัวในสงคราม

 สงครามรัสเซีย-ยูเครนผ่านไปแล้วหนึ่งปี ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งสองประเทศได้จัดการความขัดแย้งผ่านพ้นพายุลูกแรกได้แล้ว และมองไปข้างหน้าเพื่อวางแผนระยะยาว ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ 

สิ้นสุดวิกฤติโควิด ๑๙ ผ่านไป และการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเป็นการเปลี่ยนเกมส์สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกรัสเซียตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นมา

รัฐบาลรัสเซียได้ลงทุนระยะยาวในการเพิ่มการผลิตอาหารภายในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และถึงเวลานี้ได้รับผลตอบแทนแล้ว ภาคการเกษตรเป็นกระดูกสันหลังของประเทศรัสเซีย รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มมาตรการเพื่อสนับสนุนฟาร์มสัตว์ปีกภายในประเทศ ทั้งการให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็นการอุดหนุนเกษตรกรภายในประเทซ เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยเหลือผู้ผลิตสัตว์ปีกในรัสเซีย

 การคว่ำบาตรของชาติตะวันตก เป็นสิ่งกระตุ้นให้รัสเซียพยายามแก้ไขปัญหาเชิงระบบ หนึ่งในตัวอย่างนั้นได้แก่ การพัฒนาสายพันธุ์ไก่ใหม่ทดแทนการนำเข้ากลายเป็นสายพันธุ์ไก่เนื้อของรัสเซียเองชื่อว่า สมีนา ๙ (Smena-9) โดยเริ่มทดลองเลี้ยงที่ฟาร์มสัตว์ปีกในเชเลียบินสค์  

ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียพยายามลดการพึ่งพานำเข้าไข่ฟัก ผู้ผลิตสัตว์ปีกชั้นนำของประเทศได้พึ่งพาตัวเองอย่างสมบูรณ์แล้วในระดับฟาร์มไก่พันธุ์ ในปีนี้ การนำเข้าคาดว่าจะลดลงต่อไป

การควบคุมโรคระบาด

               ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ การผลิตสัตว์ปีกรัสเซียเกินกว่า ๗ ล้านตันเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ยอดการผลิตสูงขึ้นเกือบ ๓๐๐,๐๐๐ ตัน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตเป็นสถิติใหม่ การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกต่อหัวอยู่ที่ ๗๙ กิโลกรัมในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ไม่เคยก้าวถึงระดับดังกล่าวในช่วงสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม ยอดการผลิตเนื้อสัตว์ปีก ๓๐๐,๐๐๐ ตัน และเนื้อสุกร ๓๐๐,๐๐๐ ตัน ได้เพิ่มแรงกดดันด้านราคา และส่งผลกระทบต่อการเงินของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ในวันนี้รัฐบาลจึงพยายามกระตุ้นความต้องการสินค้าให้เพิ่มขึ้นอีก

ภารกิจนี้สามารถแก้ไขได้โดยการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร และได้เริ่มดำเนินการเป็นบางส่วนแล้วเมื่อปีที่แล้วในบางกลุ่มผู้บริโภค ทั้งกองทัพ ผู้เกษียณอายุ และครอบครัวขนาดใหญ่ การสำรวจโดยสหภาพสัตว์ปีกแห่งชาติ และผู้ค้าปลีก แสดงให้เห็นว่า งบประมาณอย่างน้อยร้อยละ ๕๐ จากการช่วยเหลือของภาครัฐบาลใช้สำหรับภาคการผลิตอาหาร

ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ รัสเซียวางแผนลงทุนล้านล้านบาทเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านสังคมสำหรับพลเมือง คาดว่า ชาวรัสเซียทุกๆเจ็ดคนจะได้รับเงินจากหนึ่งในแผนการสนับสนุนกิจกรรมสังคมของภาครัฐบาล

เงินสนับสนุนด้านสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เมื่อประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศกองทุนชดเชยให้ครอบครัวทหารรัสเซียที่ถูกสังหาร หรือบาดเจ็บในยูเครน ภายใต้คำสั่งนี้ ครอบครัวของทหารรัสเซีย ควรได้รับเงินประกันชีวิตตามกฏหมายรวมแล้วยอดเงินเป็นมูลค่าสูงถึง ๓.๕ ล้านล้านบาท สำหรับทหารที่บาดเจ็บจะได้รับเงิน ๑.๔ ล้านบาท

ความสำคัญของแผนด้านสังคมสำหรับกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศได้รับการสนับสนุนจากประธานสหภาพผู้ผลิตสุกรรัสเซีย โดยครอบครัวผู้มีรายได้น้อยที่ก่อนหน้านั้นไม่สามารถซื้อเนื้อสุกร หรือมีกำลังซื้อ แต่ก็ยังมีรายได้ไม่เพียงพอ

อนาคตของการบริโภคเนื้อในรัสเซียยังคงมีความไม่แน่นอน ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ชาวรัสเซีย ๕ แสนถึง ๑ ล้านคนหนีออกนอกประเทศ หากข้อมูลนี้เป้นจริง นับว่าเป็นการย้ายถิ่นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นมา เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจในอดีตราชอาณาจักรรัสเซีย ภายหลังได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมือง

ร่วมกับสถิติการเสียชีวิต ปัจจัยนี้เชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับสถิติประชากรรัสเซียให้ลำบากขึ้นอีก ในทางกลับกัน รัฐบาลยอมรับว่าจะต่อเวลา และขยายแผนการสนับสนุนด้านสังคมในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ถึง ๒๕๖๗ ต่อไป ทำให้ชาวรัสเซีย ๑๕ ถึง ๒๐ ล้านคนจะอยู่ในระดับต่ำกว่าความยากจน รายได้น้อยกว่า ๕,๙๐๐ บาทต่อเดือน ยังคงมีโอกาสเติบโตสำหรับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกในประเทศ

สงครามสำหรับตลาดส่งออก

               ในช่วง ๑๑ เดือนแรกของปี พ.ศ.๒๕๖๕ รัสเซียส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปแล้ว ๓๒๓,๓๐๐ ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๙ เปรียบเทียบกัปีที่แล้ว ผู้ผลิตสัตว์ปีกรัสเซียเร่งจำหน่ายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศ แม้ว่าจะถูกกดดันจากมาตรการคว่ำบาตรทางการค้า ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งโลจิสติก และการประกันภัย      

การส่งออกไปยังซาอุฯเติบโตอย่างมาก รวมถึง อาหรับอิมิเรต แอฟริกายังนำเข้าเนื้อไก่งวงจากรัสเซีย แม้ว่า ความจริงแล้วจะราคาแพงกว่าสินค้าพรีเมียมก็ตามที

นอกจากนั้น รัสเซีย ยังเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียทั้งเบลารุส และคาซักสถาน 

ผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรัสเซียวางแผนขยายตลาดในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ ซึ่งยูเครนเคยเป็นผู้ครองตลาดอย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ผู้ผลิตสัตว์ปีกยูเครนประสบปัญหาโลจิสติกสำหรับตลาดส่งออกถูกทำลายอย่างมาก

ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ยูเครนมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มาจากประเทศสหภาพยุโรป  มูลค่าราว ๔.๔ หมื่นบ้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๖ ของตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้เป็นผลจากสงคราม เพราะท่าเรือส่งออกทางทะเลถูกปิดทั้งหมดตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมปีที่แล้ว

สำหรับการซื้อขายวัตถุดิบอาหารสัตว์เมล็ดธัญพืช ยูเครนวางแผนฟื้นฟูการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์อีกครั้งผ่านออแดซา และท่าเรือทางทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าในตะวันออกกลาง ผู้ผลิตสัตว์ปีกยูเครนมีเรือขนส่งสินค้าของตัวเองไปยังท่าเรือโรมาเนีย และบัลกาเรียก่อน เป็นวิธีการเดียวที่จะยังช่วยให้ยูเครนสามารถรักษาตำแหน่งของตัวเองในตะวันออกกลางไว้ได้

ผู้ซื้อเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ของยูเครนคือ เนเธอร์แลนด์ มูลค่ารวม ๘.๖ พันล้านบาท ซาอุฯ ๗.๖ พันล้านบาท และสโลวาเกีย ๒.๒ พันล้านบาท ตามการคาดการณ์ของสมาคมส่งออกสินค้าเกษตร การส่งออกไข่ไก่ไปยังตลาดสำคัญคือ สิงค์โปร์ ลัตเวีย และเนเธอร์แลนด์

ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ยูเครนส่งออกเนื้อสัตว์ปีกไปแล้ว ๔๑๓,๒๐๐ ตัน น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ ๑๐.๓ รวมมูลค่าการส่งออก ๒.๙ หมื่นล้านบาทสูงกว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๔ ร้อยละ ๑๘.๖ ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกยูเครนคาดว่าจะกลับคืนได้เหมือนเดิม รัสเซียก็หวังว่าจะกระตุ้นการส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งสองประเทศมีเป้าหมายไปยังตลาดเดียวกัน และต้องแข่งขันกันเพิ่มขึ้นไปอีกหลายปี

ผิดที่ผิดเวลา

               แม้ว่า ยูเครนจะประสบปัญหาจากสถานการณ์สงคราม ขาดแคลนไฟฟ้า และความวุ่นวายทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา ในภูมิภาคฝั่งตะวันออก เชื่อว่าเลวร้ายที่สุด อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเขตปกครองโดเนสตก์ หรือดอนบาส เป็นพื้นที่การสู้รบที่หนักหน่วงที่สุด อาคารบ้านเรือนถูกทำลายอย่างกว้างขวาง

               ช่วงเริ่มต้นสงคราม บริษัทปศุสัตว์ ๖๒ แห่งมีพื้นที่อยู่ในเขตปกครองดอนบาส ตอนนี้เหลืออยู่เพียง ๒๓ แห่งเท่านั้นที่ยังดำเนินการอยู่ได้ อุตสาหกรรมสัตว์ปีกเกิดความเสียหายอย่างเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นเป็นต้นมา ๑ ใน ๘ ของฟาร์มเท่านั้นที่ยังเลี้ยงสัตว์ปีกต่อไปได้ การผลิตไข่ไก่ในพื้นที่เหลือเพียงร้อยละ ๕ ของปริมาณการผลิตก่อนสงคราม  

ฟาร์มขนาดใหญ่ที่สุด ๒ แห่งในดอนบาส ฟีนิกซ์ และ Dimitrovskaya ลดการผลิตลง สัตว์ปีกอย่างน้อย ๑ ล้านตัวหายไปจากตลาด พื้นที่การผลิตบางแห่งถูกทำลาย และที่เหลือถูกทอดทิ้งไว้โดยเจ้าของฟาร์ม ฟาร์มแกะและแพะพ่อแม่พันธุ์ย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ได้แก่  Volyn และ Dnipro แต่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไม่ได้มีโอกาสเคลื่อนย้ายพื้นที่การผลิตได้เช่นนั้น

ฝั่งรัสเซียเองก็ประสบความเสียหายเช่นกัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เมือง Belgorod ก็ประสบกับภัยสงครามทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกถูกทำลาย และคนงานเสียชีวิต ๑ คน ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๖ นี้เอง ก็ยังมีรายงานความเสียหายของฟาร์มสัตว์ปีกจากภัยสงครามนี้ด้วยเช่นกัน

 การสู้รบอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ธุรกิจรัสเซียวิตกกังวลอย่างมาก บริษัทด้านการเกษตรรัสเซีย RusAgro ได้เปิดเผยแผนการเตรียมตัวสำหรับการจัดการทรัพย์สินในเมือง Belgorod หากเกิดการยกระดับความขัดแย้งในสงครามตึงเครียดเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบหากการต่อสู้ขยายไปยังพื้นที่ของรัสเซีย     

เมื่อเดือนพฤศจิกายน รัสเซียเริ่มก่อสร้างแนวป้องกันตามพรมแดนติดกับยูเครน เพื่อเตรียมรับมือกับการโจมตีของกองทัพยูเครน  แม้ว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนจะปฏิเสธหลายครั้งแล้วว่าไม่มีแผนโจมตีรัสเซียแต่อย่างใดก็ตาม ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกยูเครนที่อยู่ทางตอนกลาง และตะวันตกของประเทศ ประสบปัญหาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างเอ็มเอชพี และผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่ โอโวสตาร์ ยูเนียน ประสบความยากลำบากอย่างยิ่งจากความผันผวนทางการตลาด ขาดแคลนพลังงาน และปัจจัยลบต่างๆมากมาย แต่ก็ยังหลงเหลือพื้นที่การผลิตสินค้าอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามรุกคืบเข้ามา ก็ไม่มีใครปลอดภัยไปได้

นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๖ เป็นต้นมา รัฐบาลยูเครน และผู้นำชาติตะวันตก หารือกันถึงแผนการป้องกันรัฐอาชญากรรัสเซีย ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ยูเครนเชื่อว่า กองทัพรัสเซียจะเพิ่มปฏิบัติการในดอนบาส และพื้นที่ทางตอนใต้ นอกจากนั้น ยังเกิดความวิตกว่ารัสเซียกำลังวางแผนปฏิบัติการต่อไปในกรุงเคียฟจากเบลารุสด้วยเช่นกัน และเชื่อว่ามุ่งเป้ายึดเมืองหลวง หรือพื้นที่ทางตะวันตก เพื่อตัดความช่วยเหลือทางการทหารจากตะวันตก

ไม่ว่าจะอะไรจะเกิดขึ้น เชื่อว่าปี ค.ศ.๒๕๖๖ จะเป็นปีท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกทั้งรัสเซียและยูเครน และกำลังเกรงกันว่าสิ่งเลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง

เอกสารอ้างอิง

Brockotter F. 2023. Poultry farmers in Russia and Ukraine adapt to the war-time economy. [Internet]. [Cited 2023 Mar 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/poultry-farmers-in-russia-and-ukraine-adapt-to-the-war-time-economy/

ภาพที่ ๑ รัสเซียตั้งเป้ากระตุ้นการส่งออกตะวันออกกลาง  (แหล่งภาพ Tovya Rabota)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...