วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

อิตาลี ชาติแรกที่แบนเนื้อสังเคราะห์จากแล็บ

 รัฐบาลอิตาลีรับรองกฏหมายแบนการใช้อาหารและอาหารสัตว์ที่ผลิตจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความปลอดภัยของประเพณีการบริโภคอาหารและการเกษตกรรมของประเทศ

               เนื้อสังเคราะห์จากแล็บ ไม่สามารถรับประกันคุณภาพ การมีชีวิตที่ดี และการปกป้องวัฒนธรรม และประเพณีของอิตาลี ตามความเห็นของกระทรวงเกษตร สมควรต้องคุ้มครองอาหารประจำชาติอิตาลีจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่อาจเป็นอันตราย และเมื่อปีที่แล้ว อิตาลีก็พึ่งเปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตรเป็นกระทรวงเกษตรและอำนาจอธิปไตยของอาหารประจำชาติ  

               หากกฏหมายผ่านสภาแล้ว อาหารหรืออาหารสัตว์จากเซลล์หรือเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงที่มาจากสัตว์มีกระดูกสันหลังจะไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปรับเป็นเงิน ๒.๓ ล้านบาท นอกจากนั้น อิตาลียังต่อต้านการใช้แมลงเป็นอาหารทางเลือกอีกด้วย

ชาวอิตาลีไม่ได้เห็นด้วยทุกคน

               อย่างไรก็ตาม ชาวอิตาลีไม่ได้ยินดีกับข่าวนี้ทุกคน และบางส่วนยังสนับสนุนการเกษตรกรรมที่อาศัยเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ

               สถาบันอาหารที่ดียุโรปเห็นว่า การผ่านกฏหมายนี้เป็นการก้าวถอยหลังสำหรับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาสภาวะอากาศโลก และทางเลือกของผู้บริโภค  

               อิตาลีจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังประเทศยุโรป และความก้าวหน้าของโลกที่จะแสวงหาระบบการผลิตอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งที่ชาวอิตาลีร้อยละ ๕๔ ต้องการลองชิมเนื้อเพาะเลี้ยง กลับถูกแบนไปแล้ว

               ขณะเดียวกัน เครือข่ายบริษัทผู้ผลิตอาหาร เซลลูลาร์อะกริคัลเจอร์ ยุโรป ย้ำว่า หากใช้เนื้อสังเคราะห์ในการผลิตอาหาร ผู้บริโภคในอิตาลีก็ไม่ต้องกังวลกับสวัสดิภาพสัตว์ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอง   

               ทั้งนี้ การแบนยังไม่ได้ผ่านการรับรองทางกฏหมาย หลายคนเชื่อว่าเป็นการด่วนสรุปกันเกินไป

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2023. Italy – the first to ban lab meat and feed?. [Internet]. [Cited 2023 Apr 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/italy-the-first-to-ban-lab-meat-and-feed/

ภาพที่ ๑ แฮมเบอร์เกอร์จากเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการอันแรก ที่ยังไม่ผ่านการทอด แสดงในการประชุมผู้สื่อข่าวในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ สินค้าเนื้อสังเคราะห์จากเซลล์เพาะเลี้ยงได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมาสทริชท์ (แหล่งภาพ World Economic Forum)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...