วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567

นวัตกรรมใหม่ในการผลิตไข่ไก่ในสหรัฐฯ

 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ออกแบบขึ้นใหม่ สำหรับเพิ่มจำนวนไข่ไก่ในสหรัฐฯ โดยเฉพาะ สำหรับคนรุ่นใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคอาหารที่ใช้เวลาเตรียมอาหารไม่เกินห้านาที

กุญแจสำหรับการพัฒนาการผลิตไข่ไก่ในระยะยาว ภายหลังการระบาดใหญ่ของโควิด ๑๙ ผ่านมาแล้ว ผู้บริโภคบริโภคอาหารว่างมากกว่าสามครั้งต่อวัน แต่รับประทานอาหารมื้อหลักปริมาณน้อยลง ความนิยมในการจับจ่ายซื้ออาหารสะดวกซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ อาหารมื้อเช้าที่ใช้เวลาเตรียมตัวสั้นๆไม่เกินห้านาที โจทย์ใหญ่สำหรับภาคการผลิตไข่ไก่ในเวลานี้

เอ้กเซเลเรเตอร์ แล็บ

เครือข่ายนวัตกรรม เอ้กเซเลเรเตอร์ แล็บ เกิดขึ้นเมื่อสองปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนางานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และวัตถุดิบสำหรับเมนูไข่ไก่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าใหม่ ในปีที่แล้ว ก็ได้เปิดให้นักเรียนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นครั้งแรก จาก ๑๔ มหาวิทยาลัยที่ร่วมแข่งขันในกิจกรรม ออนเดอะโกที่มหาวิทยาลัยจอร์เจีย โดยผู้ชนะเป็นเครื่องดื่มเอ้กเพรสโซ่ ส่วนรายอื่นๆเป็นแผนนวัตกรรมจากสแน้คโปรตีนสูงที่ใช้ไข่ไก่ ซึ่งใช้เทคโนโนโลยีที่มีพร้อมอยู่แล้ว  

ปัจจุบัน เอ้กเซเลเรเตอร์ แล็บ มีลูกค้าแล้ว ๕๐ ราย กระจายไปตามกลุ่มต่างๆในห่วงโซ่การผลิต รวถมึง บริษัทใหญ่อย่าง คราฟไฮนส์ เอ้กไลฟ์ และไทสัน

โครงการ กิสโม่

                กิสโม่ โปรเจค เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภค พัฒนาเมนูไข่ดาวใหม่ๆที่ทำได้ง่ายด้วยไมโครเวฟ โดยไม่ทำให้ไข่ระเบิดในเครื่อง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบนี้ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว และการออกแบบเครื่องมือใกล้จะสมบูรณ์เช่นกัน ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบกับร้านอาหาร และบริษัทคู่ค้า แอพลิเคชันสำหรับการปรุงอาหารที่บ้าน ยังใช้ได้กับร้านอาหารอีกด้วย หลังจากได้ความเห็นจากแมคโดนัลด์ เวนดี้ และเคเอฟซี จากปัญหาที่พนักงานภายในร้านประสบปัญหากับการใส่ไข่ลงในเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากลำบาก เมนูใหม่อย่างคัสตาร์ดเป็นครีมแบบอังกฤษ จะใช้ไข่แดงและวานิลลาแทนที่จะเป็นมันสำปะหลังแบบเก่า

เปลือกไข่สองหมื่นห้าพันล้านฟอง

               เปลือกจากไข่ไก่มากกว่า ๒.๕ หมื่นล้านฟองต่อปีจากฟาร์มไก่ไข่ในสหรัฐฯ ประเทศเดียว ปัจจุบัน จะใช้ไปผสมลงในอาหารแม่ไก่ หรือใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน หรือผู้ผลิตบางรายก็ต้องจ้างผู้รับจ้างจัดการขยะและของเสีย ดังนั้น การนำเปลือกไข่กลับมาใช้ใหม่น่าจะสร้างมูลค่าจากผลพลอยได้ในการผลิตขึ้นมาให้กับฟาร์มได้ หรือพัฒนาอาหารและเครื่องดื่มจากเปลือกไข่ต่อไปได้ คาดว่า มูลค่าของธุรกิจอยู่ที่ราว ๑.๖ พันล้านบาท แค่ในสหรัฐฯแห่งเดียว หากขยายต่อไปทั่วโลกจะเป็นมูลค่าที่สูงกว่านี้มหาศาล    

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2024. Egg innovations in the United States. [Internet]. [Cited 2024 Oct 22]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/layers/egg-innovations-in-the-us/

ภาพที่ ๑ นวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ในสหรัฐฯ ตามความต้องการผู้บริโภคสำหรับเมนูอาหารที่เตรียมเสร็จได้ภายใน ๕ นาที (แหล่งภาพ Canva)



วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567

การคัดเพศในไก่เนื้อด้วยระบบอัตโนมัติ

 อุตสาหกรรมสัตว์ปีกกำลังปรับตัวอย่างรวดเร็ว จากความต้องการโปรตีนจากสัตว์คุณภาพสูงที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่มีแรงกดดันจากการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนที่สูง และการปรับตัวตามกฏระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องเปลี่ยนการผลิตไปตามระบบการผลิตที่มีความก้าวหน้า โดยเฉพาะ เทคโนโลยีเอไอ เพื่อปรับตัวเองให้ยังสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดต่อไปได้   

เทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญ เช่น การคัดเพศตามขนปีกด้วยระบบอัตโนมัติ กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่กระตุ้นให้ต้องพัฒนาการจัดการที่โรงฟัก เพื่อให้ความสม่ำเสมอของลูกไก่ที่ฟาร์มดีขึ้น และเพิ่มผลผลิตที่โรงงานแปรรูป อย่างไรก็ตาม การนำระบบเอไอไปใช้ก็เป็นเพียงหนทางหนึ่งเท่านั้น คุณค่าที่แท้จริงของเทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถจัดการให้สมบูรณ์ได้ด้วยการบริการและการสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง หากปราศจากการดูแลเอาใจใส่ที่ไว้วางใจได้ แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดก็เสี่ยงต่อความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลผลิตต่อไปได้ การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีต่างๆให้ได้เต็มที่ งานบริการลูกค้ามีความจำเป็นต่อการลดความเสียหาย และรักษาการผลิตให้ได้อย่างสม่ำเสมอ

เพิ่มประสิทธิภาพสูงที่สุดผ่านระบบอัตโนมัติ

               เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในแวดวงผู้ผลิตสัตว์ปีกแล้วว่า การคัดเพศลูกไก่เนื้อเป็นประโยชน์ต่อการผลิต แต่ก็ยังปฏิบัติกันอยู่ไม่มาก เนื่องจาก การใช้แรงงานพนักงานจำนวนมาก และความแม่นยำในการทำงาน ระบบอัตโนมัติแบบใหม่จะช่วยทรานส์ฟอร์มกระบวนการนี้ให้กับโรงฟักได้ ทั้งความแม่นยำ และความรวดเร็ว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ไว้วางใจได้อีกด้วย

               ระบบวิงสแกนของทาร์แกนใช้เอไอในการคัดเพศ สามารถคัดเพศลูกไก่ได้ ๑๐๐,๐๐๐ ตัวต่อชั่วโมง ขึ้นกับค่าที่ตั้งไว้โดยมีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ ๙๘ ตัดปัญหาการใช้แรงงานพนักงานคัดเพศลูกไก่ ลดการจับลูกไก่ และไม่ทำให้สัตว์เจ็บปวด เป็นการเพิ่มสวัสดิภาพสัตว์ และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ มองข้ามไปจากโรงฟักบ้าง วิงสแกนยังเป็นประโยชน์ต่อผลผลิตในฟาร์มและโรงเชือดอีกด้วย การคัดแยกเพศลูกไก่ตั้งแต่แรก แล้วแยกเลี้ยง สามารถใช้สูตรอาหารสัตว์ที่แตกต่างกัน ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และความสม่ำเสมอของฝูงดีขึ้น ไก่ที่ส่งโรงเชือดจะมีขนาดสม่ำเสมอดีขึ้น ช่วยลดของเสียลง ขณะที่ ปริมาณเนื้อสูงขึ้น

               เพื่อให้มั่นใจว่า วิงสแกน นำส่งผลลัพธ์ที่เหมาะสม ทาร์กานให้ความสำคัญกับการบำรรุงรักษาเชิงป้องกัน และแก้ไขแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตไม่เกิดความเสียหาย

การบริการและสนับสนุนแบบเวิร์ดคลาส

               โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเอไอแบบอัตโนมัติ กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงสัตว์ปีก จากความต้องการด้านบริการและสนับสนุนที่พิเศษ

               แม้ว่า ระบบจากวิงสแกนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ก็ต้องอาศัยผู้ใช้งานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โปรแกรมนี้เป็นประโยชน์จริงๆ ด้วยเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอย่างมาก การสนับสนุนลูกค้าด้วยแนวทางเดิมไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ทาร์แกน จึงได้พัฒนาต้นแบบการบริการและสนับสนุนลูกค้า สำหรับระบบแห่งอนาคตนี้ โดยครอบคลุมถึงการดูแลรักษาเป็นประจำ การตรวจติดตามแบบเรียลไทม์ และการเจาะลึกไปยังข้อมูลแบบเชิงลึก ภายหลังการลงโปรแกรมแล้ว ลูกค้าแต่ละรายจะใช้เวลาสำหรับการตอบกลับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเพื่อความสำเร็จของลูกค้า และให้การสนับสนุนเพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการพัฒนาขึ้นต่อไป  

               นอกจากนั้น ยังมีการจัดการทีมผู้ให้บริการที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีจากทาร์แกนให้พร้อมสำหรับการบริการและสนับสนุนอย่างทันเหตุการณ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทาร์แกนมั่นใจว่า ความช่วยเหลืออย่างมืออาชีพพร้อมสำหรับการทำงานได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลระบบประจำวัน หรือเมื่อเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ทีมบริการภาคสนามมีบทบาทสำคัญมากในการทำงานให้มีความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ  

               โดยเฉพาะ การสื่อสารกับโรงฟัก การเข้าและประเมินการจัดการทางไกล ช่วยให้สามารถตรวจพบปัญหาตั้งแต่ต้น การอัพเดตซอฟต์แวร์ตามเวลา และทบทวนผลการปฏิบัติงาน การจัดการเชิงรุกเช่นนี้จะช่วยป้องกันความเสียหายก่อนที่จะเกิดขึ้น

               การตรวจติดตามตามเวลาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้วิงสแกนมีความแม่นยำสูงอย่างทั่วถึง ตอบโจทย์ให้กับผู้ผลิตสัตว์ปีกที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ที่มีความก้าวหน้า พิเศษยิ่งไปกว่านั้น ระบบนี้ทำงานเชิงรุก และตอบสนองกับปัญหาอย่างทันที ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับลูกค้า

คุณค่าของความเห็นลูกค้าในการออกแบบนวัตกรรมเพื่ออนาคต

               วิศวกรจากทาร์แกนพร้อมสำหรับประสานงานกับลูกค้าทันทีภายหลังการติดตั้งระบบ คอยให้ความช่วยเหลือทั้งการฝึกอบรมเชิงรุก การให้คำแนะนำกับทีมงานโรงฟักเกี่ยวกับการตรวจติดตามและสำรวจหาประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย การโคชชิ่งโดยลงมือปฏิบัติจริง ร่วมกับการจัดการความสำเร็จของลูกค้า จะสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งานได้ใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการงานประจำวันได้อย่างเชื่อมั่น 

               ขณะที่ เทคโนโลยีที่ทรงพลังด้วยเอไออย่างวิงสแกน พัฒนาตัวเองได้ผ่านแมชชีนเลิร์นนิ่ง การป้อนข้อมูลจากลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกำหนดแนวทางการสร้างนวัตกรรมในอนาคตของอุตสาหกรรม สำหรับ สำหรับ พนักงานโรงฟัก ที่คุ้นเคยกับระบบทาร์แกนแล้ว ก็จะช่วยให้วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเชิงลึก จัดการกับเทคโนโลยีเพื่อให้ทำงานได้อย่างเจาะจงตามที่ลูกค้าต้องการได้

               วิสัยทัศน์ของทาร์แกนจะก้าวข้ามการติดตั้งที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการ และวางแผนจะเดินหน้าไปสู่การใช้เอไอ เพื่อให้ระบบสามารถปรับแต่งและจัดการผลผลิตได้โดยไม่ต้องใช้มนุษย์อีกเลย การประสานงานกับลูกค้าอย่างเข้มแข็งจะช่วยให้ระบบทาร์แกนวิวัฒนาการให้สอดคล้องกับความต้องการอุตสาหกรรม ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกต่อสู้กับสิ่งท้าทายยุคใหม่ และความต้องการผู้บริโภคที่ทรงพลัง  

เอกสารอ้างอิง

Fryar J. 2024. Reshaping broiler sexing through advanced automation and support. . [Internet]. [Cited 2024 Sep 9]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/reshaping-broiler-sexing-through-advanced-automation-and-world-class-support/

ภาพที่ ๑ การคัดเพศในไก่เนื้อด้วยระบบอัตโนมัติ ระบบวิงสแกนของทาร์แกนใช้เอไอในการคัดเพศลูกไก่เนื้อ ๑๐๐,๐๐๐ ตัวต่อชั่วโมง (แหล่งภาพ Targan)




วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ผลกระทบของพันธสัญญาไก่ยุโรป ต่อต้นทุนการผลิตและสิ่งแวดล้อม

การถกเถียงต่อข้อวิตกกังวลถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านสู่พันธสัญญาไก่ยุโรป หรืออีซีซีในสหภาพยุโรป ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า สวัสดิภาพสัตว์จะดีขึ้น แต่ก็ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม และปริมาณเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ ตลอดจนต้นทุนการผลิต เอเวค ได้เผยผลการศึกษาด้านต้นทุนการผลิต ผลกระทบต่อปริมาณการผลิต และสิ่งแวดล้อม เมื่อเปลี่ยนผ่านจากการเลี้ยงไก่ปรกติเป็นอีซีซี 

ผลการศึกษาเปรียบเทียบเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่เลี้ยงภายใต้สภาวะปรกติ และยกระดับให้สอดคล้องกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า สวัสดิภาพสัตว์ช่วยเพิ่มโอกาสให้ไก่เข้าถึงแสงธรรมชาติ และความหนาแน่นการเลี้ยงไก่ที่ลดลง เอเวค ผู้แทนยุโรปด้านการค้าและแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก ได้รับมอบหมายจากบริษัทที่ปรึกษาด้านการเกษตรกรรมแห่ง
สหราชอาณาจักรหรือเอดาสให้ดำเนินการศึกษาครั้งล่าสุด ไม่ได้เน้นไปที่สวัสดิภาพสัตว์เท่านั้น แต่ยังมองไปที่มุมมองด้านต้นทุน ผลกระทบสำหรับปริมาณการผลิตต่อสภาพอากาศหลังจากการเปลี่ยนแปลงจากการเลี้ยงไก่ตามปรกติไปยังอีซีซีแล้ว เอดาสเน้นย้ำถึงผลของการวิจัยในยุโรป ๑๓ ประเทศ   

ผลที่ได้แตกต่างจากการวิจัยก่อนหน้านี้ เมื่อมองไปที่ต้นทุนต่อกิโลกรัมของเนื้อสัตว์ปีก เอเวค ประชดว่า ผู้ผลิตสัตว์ปีกขายเนื้อสัตว์ ไม่ได้ขายสัตว์ปีกมีชีวิต สักหน่อย

เอฟซีอาร์    

ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า ตลอดห่วงโซ่การผลิต ต้นทุนเพิ่มขึ้นจาก ๗๓,๘๑๑ บาทเป็น ๑๐๑,๔๖๓ บาท เมื่อเปลี่ยนจากการเลี้ยงไก่ปรกติเป็นไก่อีซีซี เพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ ๓๗.๕ ซึ่งรวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์ ผู้เลี้ยงไก่โตช้าไม่ชอบเอฟซีอาร์ที่แย่ลง ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องเลี้ยงนานขึ้น และใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น การผลิตเนื้อไก่อีซีซี ๑ กิโลกรัม ใช้อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๔.๕ และใช้พื้นที่การเลี้ยงมากขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้น้ำสูงขึ้นกว่าปรกติร้อยละ ๓๔.๔ เมื่อเอดาสคำนวณแล้ว การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการผลิตไก่ ๑ กิโลกรัมจากการเลี้ยงไก่อีซีซีก็สูงขึ้นร้อยละ ๒๔.๔ อีกด้วย

ต้นทุนที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงไก่ปรกติเป็นไก่อีซีซีอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจาก พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ได้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ แล้วยังเป็นปัญหาต่อบริษัทสายพันธุ์ไก่ โรงฟัก การขนส่ง โรงงานอาหารสัตว์ และโรงฆ่าอีกด้วย เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑๔.๘ หากคำนวณต่อกิโลกรัมของเนื้อไก่ ต้นทุนก็จะสูงขึ้นร้อยละ ๕๔.๒ เปรียเบทียบกับเนื้อไก่ปรกติ สมาคมการค้าเยอรมันคำนวณผลกระทบต่อผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีก ๓๕๖ บาทต่อกิโลกรัมของชิ้นส่วนสันในไก่

ราคาที่ต้องจ่ายของสวัสดิภาพสัตว์

               สมาคมผู้บริโภคยุโรป เน้นย้ำว่า ไม่ได้เพียงราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้น แต่ยังเกิดต้นทุนทางสังคมอีกด้วย ร้อยละ ๙๐ ของผู้บริโภคชื่นชมกับกฏระเบียบที่กำหนดให้มาตรฐานด้านสวัสดิภาพสูงขึ้น เช่น ผู้บริโภคต้องการให้ยุติการเลี้ยงไก่ขังกรง และสัตว์มีพื้นที่อาศัยที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ผลงานวิจัยในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ๙ ประเทศจากเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ ๙๐ ของผู้บริโภคในยุโรปยินดีจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ร้อยละ ๑๗ ไม่สามารถยอมรับราคาไก่ที่แพงขึ้นได้ แม้ว่า ผลกระทบครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ปีกสดค่อนข้างน้อยเปรียบเทียบกับเนื้อสดประเภทอื่นๆ ไม่สำคัญว่าผู้บริโภคอยากจะซื้ออะไร แต่ประเด็นคือ ผู้บริโภคซื้อะไรในร้ายค้าที่แท้จริงต่างหาก

การผลิตที่ลดลง

               การเปลี่ยนแปลงการเลี้ยงจากไก่ปรกติเป็นไก่อีซีซี ทำให้การผลิตไก่ต่อตารางเมตรลดลงร้อยละ ๔๔ ทั้งนี้มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นในการเลี้ยง วงจรการเลี้ยง และสัดส่วนของเนื้อจากซากไก่ งานวิจัยของเอดาส แสดงให้เห็นว่า ไก่เนื้อที่เลี้ยงแบบปรกติคิดเป็นร้อยละ ๕๖.๒๙ และไก่เนื้ออีซีซีร้อยละ ๔๙.๙๔ ซึ่งน้อยลงร้อยละ ๑๑ หากภาคการผลิตในฟาร์มเลี้ยงไก่ปรกติในสหภาพยุโรปเปลี่ยนเป็นการผลิตแบบอีซีซีทั้งหมดแล้ว ต้องสร้างฟาร์มใหม่ทั้งหมด ๑๐,๐๐๐ โรงเรือน เพื่อรักษาปริมาณการผลิต ด้วยจำนวนไก่เท่ากัน ต้องใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๘ และผลิตเนื้อไก่ปริมาณเท่าเดิมต้องใช้พื้นที่เลี้ยงไก่ต่อตารางเมตรมากขึ้นร้อยละ ๖๖ งบประมาณสำหรับการสร้างโรงเรือนใหม่เกือบสามแสนล้านบาท ด้วยจำนวนมากมายขนาดนั้น ภาครัฐก็ยากที่จะอนุญาตให้ดำเนินการต่อไปได้ ทางเลือกที่มีเป็นการนำเข้าเนื้อไก่จากประเทศที่สาม ซึ่งก็จะมีมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่ต่ำลง ซึ่งกลับไปที่ข้อถกเถียงเก่าๆเกี่ยวกับการนำเข้าเนื้อไก่ที่ไม่ได้ผลิตในสหภาพยุโรปเหมือนเดิม

ทางเลือกอย่างอิสระ

               สมาชิกควรผลิตสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ เอเวค สนับสนุนให้ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้า โดยเลือกได้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสัตว์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ที่ราคาย่อมเยา ผู้เลี้ยงไก่เนื้อในเนเธอร์แลนด์ก็ต้องตัดสินใจเหมือนกัน ในการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสดส่งให้กับซูเปอร์มาร์เก็ต ประเด็นดังกล่าวดูเหมือนจะนำมาถกกันใหม่ เนื่องจาก ผู้ค้าปลีกในเนเธอร์แลนด์ก็มีมาตรฐาน เบทเทอร์ เลเวน ๑ ดาว ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับสวัสดิภาพสัตว์อยู่แล้ว กรรมาธิการยุโรป ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างต้นทุนที่ต้องจ่าย และประโยชน์ที่ได้ ผลการศึกษาของเดดาสยังไม่ได้มองถึงการบรรเทาผลกระทบด้านลบ เช่น ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านปรกติ หน่วยงานด้านอาหารและความปลอดภัยอาหารยุโรป มองว่า ขณะนี้กำลังเป็นสิ่งท้าทายในการเปรียบเทียบระหว่างระบบการผลิตไก่แบบอีซีซีกับแบบปรกติ เนื่องจาก ยังมีความแตกต่างของมาตรฐานระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และการใช้ฉลาก รวมถึง ระบบการผลิตอินทรีย์ที่ยังมีอยู่ด้วย ภาคการผลิตสัตว์ปีกควรทำงานร่วมกับภาคอื่นๆ เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์

ข้อกำหนดพันธสัญญาไก่ยุโรป

               บริษัทผู้ให้บริการด้านอาหารมากกว่า ๒๐๐ แห่ง ได้ยอมรับพันธสัญญาไก่ยุโรปเรียบร้อยแล้ว หมายความว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๙ สองปีถัดจากนี้ จะต้องซื้อเนื้อไก่สด ไก่แช่แข็ง และไก่แปรรูป ที่ผลิตภายใต้ข้อกำหนดที่ควบคุมเป็นพิเศษ เช่น การเลี้ยงไก่ต้องเป็นสายพันธุ์ไก่โตช้าเท่านั้น และเลี้ยงที่ความหนาแน่นสูงที่สุด ๓๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีข้อบังคับให้สัตว์ได้มีโอกาสพบกับแสงธรรมชาติ และวัสดุที่เตรียมไว้ให้เล่นผ่อนคลาย พื้นที่ภายนอกโรงเรือนภายใต้หลังคาไม่มีความจำเป็น ซึ่งแตกต่างจากข้อกำหนดตามฉลากคุณภาพเบเทอร์เลเว่น 

สวัสดิภาพเป็นสิ่งที่ต้องจ่าย

               ผลการวิจัย ยังพบว่า ต้นทุนการจัดการให้สอดคล้องกับพันธสัญญาไก่ยุโรปในสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ราคาต้นทุนเพิ่มสูงมาก และจะถูกผลักภาระต่อให้กับผู้บริโภค

·      ต้นทุนการผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๗.๕ ของเนื้อไก่

·      การใช้น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕.๔ คำนวณได้เป็นปริมาณน้ำ ๑๒.๔๔ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

·      การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๔.๔ ต่อกิโลกรัมของเนื้อที่ผลิตได้

·      การผลิตเนื้อทั้งหมดลดลงร้อยละ ๔๔ เปรียบเทียบกับการผลิตด้วยวิธีมาตรฐานที่เลี้ยงความหนาแน่นสูงกว่า ๓๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร

·      จำเป็นต้องสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ใหม่ ๙,๖๙๒ โรงเรือน คาดว่าต้องมีเงินจ่ายราว ๒.๙๔ แสนล้านบาท เพื่อรักษาระดับการผลิตไว้ให้ได้เท่าปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

van der Werf N. 2024. Transition to ECC has a major impact. Poultry World. 6: 6-8.

ภาพที่ ๑ สวัสดิภาพสัตว์และผลกระทบของอีซีซี  Canva)



วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...