คนรักสวน ปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลโคกระบือ
นิยมใช้บำรุงดินในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตามกระแสความนิยมการเพาะปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ประหยัด
และผูกพันกับธรรมชาติ แต่อีกด้านหนึ่ง การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์มิได้สวยหรูอย่างที่เราคิด
ดังผลการวิจัยตีพิมพ์ล่าสุดท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลเรื่องเชื้อดื้อยา โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
จากตัวอย่างดินที่เก็บตัวอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๖ โดยนักวิจัยแสดงให้เห็นความพันธ์ระหว่างการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยบำรุงดิน
และการปรากฏยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะในดิน
ยีนส์ดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
บ่งชี้ว่า เมื่อใดที่การใช้ยาปฏิชีวนะใหม่เข้ามา ยีนส์ดื้อยาก็จะเพิ่มขึ้น
เมื่อยาปฏิชีวนะชนิดนั้นถูกเลิกใช้ ยีนส์ดื้อยาก็จะลดลง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์
ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาระหว่างการตรวจพบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล
และการตรวจพบยีนส์ดื้อยาในดินภายหลังการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์บำรุงดิน ผู้เชี่ยวชาญ
ศึกษายีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม โดยเฉพาะ ยาที่นิยมใช้ในทางการแพทย์
และเป็นยีนส์ดื้อยาชนิดแรกๆที่มีรายงานในระบบสุขภาพ
ก่อนปี พ.ศ.
๒๕๐๓ ยีนส์ดื้อยาพบได้ในระดับต่ำๆทั้งดินที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์
และดินที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์
โดยผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเพิ่มขึ้นของยีนส์ดื้อยาในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์
ในช่วงราวปี ๒๕๓๗ การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งเจริญเติบโตลดลง ในเวลาต่อมา
จึงพบว่าดินมียีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้า-แลคแตมลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน
ดินที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ก็มียีนส์ดื้อยาในระดับที่ต่ำมาก
ความสัมพันธ์อีกประการหนึ่งคือ
ยีนส์ดื้อยาเบต้า แลคแตม ในดินที่เพิ่มขึ้นก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพบยีนส์ดื้อยาในโรงพยาบาล
โดยช่วงเวลาที่เริ่มพบยีนส์ดื้อยาเป็นครั้งแรกสอดคล้องกับเวลาช่วงเวลาที่พบยีนส์ดื้อยาอย่างมากมายในดิน
ระดับของอินทีกรอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่
(Manured
soil) ตัวอย่างจากในอดีต ยังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่น่าวิตก
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นต้นมา พบว่า ระดับของอินทีกรอนในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อินทีกรอน ช่วงเร่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น
จึงเร่งให้เชื้อเกิดภาวะดื้อยาอย่างรวดเร็ว ศ. เดวิด แกรมแฮม
แห่งมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล อธิบายว่า ระดับของอินทีกรอนที่เพิ่มขึ้นหลังปี
พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นต้นมา บ่งชี้ว่า แม้ว่าจะพยายามลดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ แต่ก็ยังคงมีการแลกเปลี่ยนยีนส์ดื้อยาได้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ควรมีการศึกษาการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์อย่างใกล้ชิด