สังกะสี
และทองแดง เป็นแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย
และมีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม
แร่ธาตุเหล่านี้สามารถขับถ่ายลงในมูลไก่ และสะสมจนมีระดับสูงตกค้างในดิน
เป็นปัญหาที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการด้านอาหารสัตว์สามารถช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้
วิธีการหนึ่งสำหรับลดปริมาณสังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์คือ การลดปริมาณของแร่ธาตุเหล่านี้ผสมในพรีมิกซ์ โดยเฉพาะ
ในอาหารระยะสุดท้ายของไก่เนื้อ การหยุดการสะสมของสังกะสี
และทองแดงในดินจำเป็นต้องกระทำ ๒ สิ่ง ได้แก่
ลดปริมาณมูลสัตว์ที่กระจายลงสู่พื้นดิน อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้อาจไม่เพียงพอ
อีกวิธีหนึ่งคือ การลดปริมาณของสังกะสี และทองแดงในอาหารสัตว์ โดยทั่วไป
ความต้องการสำหรับสังกะสี และทองแดงที่เติมลงในอาหารสัตว์มักเกินความจำเป็น
ปริมาณแร่ธาตุที่มากเกินไปเหล่านี้จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
แต่จะผ่านทางเดินอาหาร แล้วขับถ่ายลงสู่มูลสัตว์
สังกะสี และทองแดง
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และต่อแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อลดระดับของสังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทราบความต้องการของไก่ที่แท้จริง
เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่แท้จริงของสังกะสี
และทองแดงแตกต่างกันค่อนข้างมาก บ่งชี้ว่า
ความต้องการที่แท้จริงของแร่ธาตุทั้งสองยังไม่ทราบแน่ชัด
การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุที่ผสมในอาหารสัตว์มีน้อยมากเปรียบเทียบกับความต้องการพลังงาน
และกรดอะมิโน เนื่องจาก การเติมแร่ธาตุในอดีตไม่ได้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สำคัญที่ต้องนำมาพิจารณามากนัก
และมีช่วงความปลอดภัยที่กว้างมาก เพื่อให้ผลการเลี้ยงที่ดี นอกเหนือจากนั้น
การกำหนดความต้องการยังขึ้นกับปัจจัยที่ผู้วิจัยเลือกศึกษา เช่น
อัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร การเจริญเติบโต หรือมวลของไข่ไก่ นอกจากนั้น
ความต้องการของไก่ยังขึ้นกับอายุ สุขภาพ ความเครียด และสารอาหารประเภทอื่นๆ รวมถึง
สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า สังกะสี
และทองแดงมีฤทธิ์ทำปฏิกิริยาต่อกัน และต่อแร่ธาตุอื่นๆที่รุนแรงมาก
หากให้สังกะสีในอาหารสัตว์ระดับสูงก็จะเหนี่ยวนำให้ขาดทองแดง
โดยแร่ธาตุทั้งสองมีฤทธิ์แย่งกันดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตามแม้ว่า
ระดับความต้องการที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปริมาณของสังกะสี
และทองแดงที่อนุญาตให้เติมในอาหารสัตว์ปีกภายในสหภาพยุโรปก็ค่อนข้างสูงกว่าความจำเป็นของไก่
ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรปอนุญาตให้เติมได้ไม่เกินระดับความปลอดภัย (Safety
margin) เพื่อให้มั่นใจว่าจะครอบคุมความต้องการของสัตว์อย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่างเช่น สังกะสีก็กำหนดไว้สูงกว่าความต้องการสองเท่ากล่าวได้ว่า
ยังมีช่องว่างระหว่างระดับที่จำเป็น และที่อนุญาตไว้กว้างมาก
การทำความเข้าใจระดับความต้องการที่แท้จริงของสัตว์จะเป็นประโยชน์มากต่อการลดระดับการเติมสังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์ลงได้
ตารางที่ ๑ ความต้องการสังกะสี และทองแดง
โดยอาศัยการวิเคราะห์แบบ Meta-analysis และระดับที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้สำหรับสังกะสี
และทองแดงในเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ
ชนิดสัตว์
|
ระดับความต้องการ
|
ระดับที่สหภาพยุโรปอนุญาต
|
สังกะสี
|
ทองแดง
|
สังกะสี
|
ทองแดง
|
ไก่เนื้อ (ppm)
|
74
|
6
|
150
|
25
|
ลูกสุกรแรกเกิดถึง 12 สัปดาห์
(ppm)
|
>67
|
4
|
150
|
170
|
สุกรโตเต็มวัย (ppm)
|
>67
|
4
|
150
|
25
|
ลูกโค (ppm)
|
|
|
200
|
15
|
โคโตเต็มวัย (ppm)
|
>25
|
21
|
150
|
35
|
หมายเหตุ ระดับความต้องการใช้แร่ธาตุดัดแปลจาก
Jongbloed และคณะ (๒๐๐๔)
และระดับที่สหภาพยุโรปอนุญาตอ้างอิงมาจาก EFSA Jounal
แนวทางการลดแร่ธาตุในอาหารสัตว์คือ การวิจัยหาความต้องการที่แท้จริงของสัตว์
แล้วลดปริมาณการเติมสังกะสี และทองแดงลงในพรีมิกซ์ โดยเฉพาะ
ในอาหารไก่เนื้อระยะสุดท้าย เนื่องจาก
ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บรักษาแร่ธาตุเหล่านี้ไว้ใช้ในระยะต่อไปอีกแล้ว
โดยแนะนำให้ใช้ปริมาณสังกะสีลดเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ จาก ๑๐๐ พีพีเอ็มเหลือ ๕๐
พีพีเอ็ม และทองแดงเหลือจาก ๑๕ พีพีเอ็มเหลือ ๗.๕ พีพีเอ็มเท่านั้น
โดยไม่มีผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่เนื้อตั้งแต่อายุ ๐ ถึง ๓๗ วัน อีกวิธีการหนึ่งในการลดปริมาณทองแดง
และสังกระสีในอาหารสัตว์คือ การเพิ่มความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้จากคุณสมบัติของแร่ธาตุในรูปอินทรีย์
และอนินทรีย์ แร่ธาตุจากแหล่งอนินทรีย์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของออกไซด์ ซัลเฟต คลอไรด์
และคาร์บอเนต แหล่งแร่ธาตุในรูปอนินทรีย์เรียกว่า “คีเลต (Chelates)” สามารถจับกับไลแกนด์ที่เป็นอินทรีย์ ได้แก่ สารผสมของกรดอะมิโน
หรือเปปไทด์ขนาดเล็ก การนำไปใช้ประโยชน์ของสังกะสีในรูปอินทรีย์ได้มากกว่าอนินทรีย์กว่า
๑๕๐
เปอร์เซ็นต์ในสัตว์ปีกจากการประเมินผลโดยอาศัยการตรวจวัดปริมาณสังกะสีจากกระดูกต้นขา
ส่วนทองแดงในรูปอินทรีย์เปรียบเทียบกับอนินทรีย์อาจไม่เห็นผลชัดเจนเท่าสังกะสี
การใช้ประโยชน์ของคีเลตทองแดงสูงกว่าคอปเปอร์ซัลเฟต ๑๑๒
เปอร์เซ็นต์โดยอาศัยการตรวจวัดปริมาณทองแดงในตับ
ซึ่งสามารถเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นพิษของทองแดงได้ ขณะเดียวกัน การใช้สังกะสี
และทองแดงร่วมกันจะไม่เกิดการแข่งขันกันในการดูดซึมเข้าสู่ทางเดินอาหาร ขณะที่
แร่ธาตุในรูปอนินทรีย์จะเกิดการแข่งขันกันดังกล่าวมาแล้ว
ดังนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังกะสี
และทองแดง ดังกล่าว สามารถพบได้ต่อเมื่อใช้แร่ธาตุทั้งสองในรูปอนินทรีย์
แต่ไม่พบเมื่อใช้แร่ธาตุชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นรูปอินทรีย์
การใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นของสังกะสี และทองแดงในรูปอินทรีย์เป็นที่น่าสนใจมาก
โดยช่วยลดการเติมแร่ธาตุทั้งสองลในอาหารสัตว์ จึงทำให้การขับออกลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อการผลิตก็อาจพบได้ แต่ไม่แน่นอน ในไก่เนื้อ
ผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว แต่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร
เมื่อใช้แร่ธาตุในรูปอินทรีย์แทนที่อนินทรีย์
ในไก่ไข่ ความแข็งแรงของเปลือกไข่
และความหนาของเปลือกไข่จะดีขึ้นโดยการใช้แร่ธาตุในรูปอินทรีย์แทนที่อนินทรีย์
ทำให้เป็นที่น่าสนใจในการใช้ในไก่อายุมาก ในไก่พันธุ์ไข่
แร่ธาตุในรูปอนินทรีย์ช่วยเพิ่มผลผลิตไข่ประมาณ ๔.๑ เปอร์เซ็นต์
และอัตราการฟักได้เพิ่มขึ้นอีก ๔.๙ เปอร์เซ็นต์
การใช้เอนไซม์ไฟเตส
วิธีที่สามที่ช่วยลดปริมาณสังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์คือ การใช้เอนไซม์ไฟเตสที่นิยมผสมในอาหรสัตว์
เพื่อช่วยให้การประโยชน์จากฟอสฟอรัสที่ถูกจับกับไฟเตต (Phytate-bound
phosphorus) อย่างไรก็ตาม สารอาหารประเภทอื่นๆ ได้แก่ กรดอะมิโน
กรดไขมัน และแร่ธาตุ เช่น สังกะสี และทองแดง ก็สามารถจับไฟเตตไว้ได้
การเติมไฟเตสในอาหารสัตว์จึงมิใช่เพียงช่วยให้การใช้ประโยชน์ฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
แต่ยังช่วยให้สารอาหารประเภทอื่นๆถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย
ผลการศึกษามากมาย แสดงให้เห็นว่า เมื่อผสมไฟเตสในอาหารไก่เนื้อแล้ว
จะช่วยให้การเก็บรักษาสังกะสี ทองแดง และแร่ธาตุอื่นๆ ได้สูงขึ้น โดย EFSA ระบุไว้ว่า
การใช้ไฟเตสในอาหารสุกรสามารถลดปริมาณสังกะสีสูงสุดในอาหารสำเร็จรูปได้ถึง ๓๐
เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่า ผลดีดังกล่าวก็จะพบในอาหารสัตว์ปีกด้วยเช่นเดียวกัน
บทสรุป
ระดับของสังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์สามารถลดลงได้โดยการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์ได้
ก่อนอื่นต้องระลึกไว้เสมอว่า สังกะสี และทองแดง เป็นสารอาหารที่จำเป็น
และต้องเสริมลงในอาหารสัตว์ สหภาพยุโรปกำหนดให้ใช้สังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์ในระดับที่สูงกว่าความต้องการของสัตว์ ดังนั้น สังกะสี
และทองแดงในอาหารสัตว์ สามารถลดลงได้โดยการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์ได้
โดยการผสมเอนไซม์ไฟเตส เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของสังกะสี
และทองแดงที่จับกับไฟเตต นอกเหนือจากนั้น
ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นได้อีกโดยการใช้สังกะสี และทองแดงในรูปอินทรีย์แทนที่อนินทรีย์
แร่ธาตุในรูปอินทรีย์อาจมิได้เพิ่มผลผลิตได้เสมอไป
แต่จะช่วยให้การใช้ประโยชน์ได้สูงขึ้น ส่งผลให้การเก็บรักษาสูงขึ้น
และลดการขับแร่ธาตุออกจากร่างกาย
ผลการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่นำเสนอระหว่างการประชุมวิชาการเฉพาะกลุ่มด้านโภชนาการสัตว์ปีกในสหภาพยุโรปที่จัดโดยบริษัทโนวัส
ณ กรุงปราก เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘
แหล่งที่มาของภาพ Jan Willem Schouten