เทคโนโลยีการแยกเพศตั้งแต่ในไข่ฟักจะแพร่หลายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
ภายหลังการตัดด้วยเลเซอร์ แล้วยกเปลือกไข่บางส่วนออกก่อนที่จะวิเคราะห์โดยสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่ห้องปฏิบัติการ
Carl gustav Carus คณะแพทยศาสตร์ของสถาบัน
Dresden Institue of Technology (TU Dresden) แห่งเยอรมัน
และมหาวิทยาลัย Leipzig ใช้สเปคโตรสโคปีเพื่อตรวเพศของลูกไก่ในไข่ฟัก
หากประสบความสำเร็จก็จะเป็นก้าวสำคัญที่โรงฟักจะยกเลิกกิจวัตรประจำวันบางประการเพื่อทำลายลูกไก่เพศผู้อายุ
๑ วัน ที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญกระตุ้นกลุ่มผู้บริโภคขึ้นมาประท้วงต่อต้าน
พลังกดดันให้ผู้ผลิตแยกเพศตั้งแต่ในไข่
พลังกดดันที่เข้มแข็งในเยอรมัน
โดยกระทรวงเกษตรแห่งเยอรมันได้ให้เงินสนับสนุนกว่า ๑๒๐ ล้านบาท
เพื่อสนับสนุนงานวิจัยการแยกเพศลูกไก่ในไข่ฟักผลักดันให้ไปสู่การพาณิชย์ให้ได้
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาก กระทรวงเกษตรแห่งฝรั่งเศสก็ได้ประกาศทุนสนับสนุนกว่า ๑๒๐
ล้านบาทเช่นเดียวกัน
โครงการวิจัยใช้ลำแสงเลเซอร์ตัดช่องกลมขนาดเล็กที่ส่วนยอดของฟองไข่
แล้วใช้กล้องสเปคโครสโคปีแบบใกล้คลื่นอินฟาเรดเพื่อตรวจหาเพศของลูกไก่โดยอาศัยปริมาณดีเอ็นเอ
สำหรับไก่เพศผู้จะมีประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้ตาเปล่า
มนุษย์ไม่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเพศผู้ และเพศเมีย
แต่ด้วยคอมพิวเตอร์สามารถช่วยได้ หากมีการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ทำงานได้สำเร็จ
ปัจจุบัน คณะผู้วิจัยสามารถแยกเพศจากไข่ฟักได้โดยมีความแม่นยำสูงถึง ๙๕
เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลาไม่ถึงนาที หากไข่ฟักมีลูกไก่เพศเมีย
เลเซอร์ก็จะปิดรูที่ตัดไว้ แล้วนำกลับคืนเข้าสู่ตู้บ่ม เครื่องจักรสำหรับการแยกเพศอัตโนมัตินี้คาดว่าจะนำไปใช้งานจริงปีหน้า
ที่ปรึกษาโครงการฟาร์มของ NFU ในสหราชอาณาจักรนาม
แกรี ฟอร์ด กล่าวว่า
เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับงานวิจัยที่กำลังพัฒนาอยู่หลายแห่งทั่วโลกในการแสวงหาวิธีการแยกเพศของตัวอ่อนในไข่ฟัก
ตอนนี้กำลังเป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดในวงการวิชาการ ยกตัวอย่างเช่น
นักวิจัยชาวคานาดาสามารถตรวจสอบเพศตัวอ่อนได้โดยมีความแม่นยำสูงถึง ๙๕ เปอร์เซ็นต์
โดยมีประสิทธิภาพการทำงานได้ ๓,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ ฟองต่อชั่วโมง
เทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เทคโนโลยีนี้คาดว่าจะมีการใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริงในอีก
๑๒ เดือนข้างหน้า โดยไม่มีต้นทุนสำหรับแรงงานอีกต่ไป เนื่องจาก
ไข่ฟักจะถูกแยกจากกันโดยเครื่องจักร
และสามารถตรวจสอบไข่ฟักที่ไม่มีเชื้อได้พร้อมกัน ดังนั้น
เทคโนโลยีนี้จึงเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างแท้จริง นอกจากนั้น แกรี ฟอร์ด
ยังเน้นว่า ไข่ฟักที่มีลูกไก่เพศผู้จะไม่ใช่ของเสียที่ทิ้งไปเฉยๆอีกต่อไป
แต่จะนำมาใช้เป็นผลผลิตข้างเคียง โดยนำไปใช้เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน
และแรพเตอร์ในสวนสัตว์ อย่างไรก็ตาม องค์กรพิทักษ์สัตว์ได้กล่าวว่า ขณะที่
การสิ้นสุดคัดทิ้งลูกไก่เพศผู้กำลังก้าวหน้าต่อไป
แต่ก็ไม่ใช่จะทำให้ไข่ฟักกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกจริยธรรมได้
การคัดทิ้งลูกไก่เพศผู้เป็นประเด็นที่อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกไม่สามารถละเลยได้
โดย McDougal T. 2016. Commercial
poultry embryo sexing a step close.
ภาพที่ ๑
ไข่ฟักภายหลังการตัดด้วยลำแสงเลเซอร์
แล้วเปิดเปลือกไข่ที่ถูกตัดออกเพื่อนำมาวิเคราะห์โดยเครื่องสเปคโตรมิเตอร์ที่ห้องปฏิบัติการ
Carl Gustav Carus คณะแพทยศาสตร์แห่งสถาบัน Dresen
Institute of Technology (TU Dresden)/ AFP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น