ข่าวล่าสุด
แหนมโปรไบโอติกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ก็ออกมาแล้ว
ถ้าใช้โปรไบโอติกผสมตั้งแต่ในอาหารสัตว์ ยังจะเหลือจุลินทรีย์ดีๆไว้ในผลิตภัณฑ์
หรือไก่จะมีสุขภาพดี ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ทำให้คุณภาพเนื้ออกไก่
ชิ้นส่วนสำคัญบนชั้นวางสินค้าดีขึ้นด้วยหรือไม่ ผลการวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสาร Poultry Science ฉบับล่าสุดพึ่งตีพิมพ์เดือนนี้เป็นการศึกษาผลการเสริมโปรไบโอติกลงในอาหาร
ต่อคุณภาพของสินค้าเนื้อหน้าอกที่วางจำหน่ายบนชั้นวางสินค้าร้านขายปลีกจะเนื้อแน่นนุ่ม เก็บได้นานขึ้นหรือไม่
ไก่ทดลองจำนวน
๓๕ ตัว แบ่งเป็น ๓ กลุ่มการทดลอง โดยกลุ่มควบคุมไม่เสริมโปรไบโอติก
อีกสองกลุ่มการทดลองให้ สปอรูลิน ๒๕๐ พีพีเอ็ม และโพลทรีสตาร์ ๕๐๐ พีพีเอ็ม พบว่า
กลุ่มทดลองที่เสริมโปรไบโอติกไม่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนอาหาร
และน้ำหนักตัวทั้งที่อายุ ๒๙ และ ๔๔ วัน (p>0.05) ภายหลังเข้าโรงฆ่า นำตัวอย่างหน้าอกไก่
(กล้ามเนื้อ เพคโตราลิส เมเจอร์) เก็บเป็นเวลา ๑ หรือ ๕ วัน พบว่า
เนื้อไก่จากไก่ที่เสริมโปรไบโอติกไม่ได้มีอิทธิพลต่ออัตราการลดของ pH ของเนื้อหน้าอกไก่ระหว่างการเก็บตั้งแต่ ๖ ชั่วโมง (p>0.05) ไม่พบความแตกต่างระหว่างคุณภาพของเนื้อระหว่างกลุ่มที่ให้ และไม่ให้โปรไบโอติก
(p>0.05) ปัญหา Drip loss ภายหลังการเก็บรักษาลดลงจาก
๒๕.๓ เหลือ ๑๘.๐๕ เปอร์เซ็นต์ (p>0.05) กลุ่มทดลองที่ให้โพลทรีสตาร์
มีดัชนีการแตกของเส้นใยกล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่มควบคุม (p>0.05) อย่างไรก็ตาม ค่าแรงฉีกไม่มีความแตกต่างกัน สี และความเสถียรของลิปิดในกล้ามเนื้อหน้าอกลดลงระหว่างการแสดงสินค้าบนชั้นวาง
(p<0.05) แต่ไม่มีผลจากการใช้โปรไบโอติก (p>0.05)
ผลการทดลองครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การเสริมโปรไบโอติกไม่มีผลต่อการย่อยสลายโปรตีน
และ Oxidative changes ระหว่างการแสดงสินค้าไว้เป็นเวลา ๕ วัน
แหล่งข้อมูล Kim HW, Yan EF, Hu JY, Cheng HW
and Kim YHB. 2016. Effects of probiotics feeding on meat quality of chicken
breast during postmortem storage. Poultry Science. 95(6): 1457-1464.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น