วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

เซลล์ภูมิคุ้มกันใหม่ในไก่ที่เพิ่มความไวรับต่อโรคมาเร็กซ์

ศูนย์วิจัยแห่งสหราชอาณาจักรได้พบเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมาเร็กซ์
               โรคมาเร็กซ์เป็นโรคติดต่อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เรียกว่า ลิมโฟมาและภาวะการกดภูมิคุ้มกันในสัตว์ปีก ทำให้สัตว์มีความไวรับต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน เชื้อไวรัสก่อโรคมาเร็กซ์เป็นอันตรายคุกคามการผลิตสัตว์ปีก ความเสียหายจากโรคเชื่อว่าสูงมากกว่า ๖ หมื่นล้านบาททั่วโลก งานวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นว่า เชื้อไวรัสก่อโรคมาเร็กซ์ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดใหม่ที่เรียกว่า ซัพเพรสเซอร์ ลิมโฟไซต์ (Suppressor lymphocytes)” มีชื่อเล่นๆว่า ทีเร็ก (regulatory T)” ของไก่ ที่มีฤทธิ์กดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของไก่ 
               ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จำนวนของเซลล์ซัพเพรสเซอร์ ลิมโฟไซต์ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ไก่มีความไวรับต่อการพัฒนาก้อนเนื้องอก เชื้อไวรัสมาเร็กซ์ฉกฉวยโอกาสจากเซลล์ภูมิคุ้มกันของตัวสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับตัวเองในการรุกรานร่างกายของสัตว์ โดยการกระตุ้นเซลล์ซัพเพรสเซอร์ ลิมโฟไซต์ จนเกิดภาวะกดภูมิคุ้มกัน และการสร้างเนื้องอกของเซลล์น้ำเหลือง โดยนักวิจัย พบว่า เซลล์น้ำเหลืองที่รวมกันเป็นเนื้องอกนี้มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับเซลล์ซัพเพรสเซอร์ ลิมโฟไซต์ แสดงให้เห็นว่า เซลล์เหล่านี้สามารถกดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสัตว์ได้ นับเป็นการค้นพบวิถีการพัฒนาของโรคใหม่ เพื่อให้นักวิจัยได้ใช้ประโยชน์สำหรับการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสมาเร็กซ์   

เอกสารอ้างอิง
  

ภาพที่ ๑ ดร. Shahriar Behboudi หัวหน้ากลุ่มภูมิคุ้มกันวิทยาสัตว์ปีกที่สถาบันเพอร์ไบร์ตได้กล่าวไว้ว่า "เชื้อไวรัสบางชนิดสามารถฉกฉวยโอกาสจากเซลล์ภูมิคุ้มกันให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองในการรุกรานกลไกการต่อต้านเชื้อโรคของสัตว์" (แหล่งภาพ Jan Willem Schouten) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...