การใช้ความดันบรรยากาศต่ำในการทำให้ไก่สลบ หรือสตันนิ่งที่โรงเชือด
โดยไม่ใช้แก๊ส ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในสหรัฐฯ หรือยุโรป
ผู้ผลิตสัตว์ปีกยังคงคิดถึงการใช้วิธีการสตันนิ่งทางเลือกอื่นๆ
โดยเฉพาะ การสตันนิ่งด้วยความดันบรรยากาศต่ำ ดร. ไดแอน บัวราสซา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกมหาวิทยาลัยเออร์เบิร์น
กำลังวิจัยการใช้การสตันนิ่งด้วยความดันบรรยากาศต่ำ หรือ LAPS (Low atmosphere
pressure) ด้วยการค่อยๆลดความดันบรรยากาศจนกระทั่งสัตว์หมดสติ
ปัจจุบัน ได้รับการรับรองแล้วในสหรัฐฯ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการรับรองในสหภาพยุโรป
แต่ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
วิธีการทำงานของ LAPS
คล้ายคลึงกับการใช้ระบบการสตันนิ่งด้วยวิธีควบคุมบรรยากาศ หรือ CAS
(Controlled atmosphere stunning) ระบบ LAPS ช่วยให้สัตว์หมดสติโดยค่อยๆลดความดันบรรยากาศอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งสัตว์หมดสติ
และหยุดรีเฟล็กซ์ของระบบหายใจ สัตว์จะถูกทำให้สตันนิ่งขณะที่อยู่ในกล่องจับไก่ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาในโมดุลของระบบ
LAPS
ระบบหายใจของสัตว์ปีกถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในความดันบรรยากาศต่ำที่ภูมิประเทศสูง
ดังนั้น สัตว์ปีกจึงไม่รู้สึกเจ็บปวด คล้ายกับระบบ CAS คือ
กระบวนการนี้ใช้เวลาหลายนาที และสามารถแขวนไก่ได้ทันทีภายหลังนำออกจากโมดุลของ LAPS
ข้อดีของระบบ LAPS
เช่นเดียวกับระบบ CAS คือ
ประโยชน์พื้นฐานของระบบนี้คือ สัตว์จะไม่รู้สึกตัวตั้งแต่ตอนแขวนบนแชคเคิลแล้ว
จึงทำให้พนักงานทำงานสะดวกสบายมากขึ้น และสถานที่ปฏิบัติงานก็จะน่าทำงานมากขึ้น
ระบบ LAPS ช่วยให้ไก่สลบทุกตัว ไม่เหมือนกับการใช้บ่อน้ำสตันเนอร์ที่มีความผันแปรไปตามขนาดของไก่
เมื่อถูกทำให้สลบแล้วด้วยระบบ LAPS ไก่เนื้อจะสลบเหมือด
ไม่มีความรู้สึกอีกต่อไป
ระบบยังช่วยให้พัฒนาคุณภาพเนื้อสัตว์ และลดการบาดเจ็บจากปีกหัก และขาช้ำ
สิ่งที่ไม่เหมือนกับ CAS คือ ไม่จำเป็นต้องใช้แก๊ส เนื่องจาก
เป็นระบบที่ไม่ใช้แก๊สใดๆในการสตันนิ่ง
ข้อเสียของระบบ LAPS
เช่นเดียวกับระบบ CAS คือ ระบบ LAPS ก็มีราคาค่อนข้างแพงกว่าการสตันนิ่งด้วยไฟฟ้าทั่วไป จึงเป็นการลงทุนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพ และผู้บริโภค
ประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้ง LAPS ไว้ที่ราวสามสิบกว่าล้านบาทเปรียบเทียบกับระบบการสตันนิ่งด้วยไฟฟ้าเพียงสามล้านกว่าบาทเท่านั้นเรียกว่าแพงกว่ากันสิบเท่า
และฮาลาลยังไม่ยอมรับระบบนี้อีกด้วย ตอนนี้จึงยังอาจจะไม่ถึงเวลาของระบบ LAPS
จึงยังไม่เป็นที่นิยมใช้กันในโรงฆ่าในปัจจุบัน ขณะที่ได้รับการรับรองแล้วในสหรัฐฯ
และรอการรับรองอยู่ในยุโรป ทำให้ผู้ที่มีประสบการณ์ต่อระบบนี้ยังไม่มากนักในปัจจุบัน
Alonzo A. 2018. Breaches in biosecurity: Sanderson Farms vet shares three
valuable lessons. [Internet]. [Cited 2018 May 11].
Available from: https://www.wattagnet.com/articles/34412-low-atmospheric-pressure-stunning-pros-and-cons
แหล่งภาพ Yurii Bukhanovskyi, Bigstock
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น