ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการผลิตสัตว์ปีก
โดยเฉพาะ ท่ามกลางการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง
ที่กำลังเกิดขึ้นในฟาร์มสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์สหรัฐฯ
ความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นกระบวนการที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคในประชากรสัตว์
ความเสี่ยงที่สุดคือ การคิดว่าไม่มีความเสี่ยง แต่เช่นเดียวกับที่เราทราบกันมา
เกือบทุกกิจกรรมที่มีการปฏิบัติในฟาร์มสัตว์ปีกก่อให้เกิดความเสี่ยงเสมอ ดังนั้น
เป้าหมายของเราคือ
การควบคุมความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้
สิ่งนี้จำเป็นต้องทบทวนการจัดการของเราว่าดีพอแล้วหรือยังที่จะเป็นปราการที่แข็งแกร่งระหว่างสัตว์ปีกในโรงเรือน
และแหล่งของเชื้อโรคระบาด
ในสถานการณ์โรคระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด
เราทราบดีว่า นกน้ำป่าสามารถเป็นพาหะของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง ดังนั้น
จะต้องแยกโรคนี้ออกจากฟาร์มสัตว์ปีก เราต้องป้องกันมิให้มีการสัมผัสกับนกน้ำป่า
และมูลสัตว์เหล่านี้ ดังนั้น เราควรห้ามมิให้บุคลากรในฟาร์มล่าสัตว์
และไปยุ่งขิงกับนกน้ำป่า
เราสามารถช่วยป้องกันนกป่าได้โดยการจัดการสิ่งที่สามารถเป็นอาหารนกที่อยู่รายรอบโรงเรือน
ตัดหญ้าให้สั้นเสมอ และป้องกันไม่ให้มีน้ำใกล้กับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
การฆ่าเชื้อเน้นบริเวณใต้พื้นรองเท้าก่อนเข้าสู่โรงเรือน รวมถึง
อุปกรณ์ใดๆที่จะนำเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกก็ต้องผ่านการฆ่าเชื้อเป็นอย่างดี
บริษัท ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์รายสำคัญอย่างแซนเดอร์สัน มีแผนระบบความปลอดภัยทางชีวภาพบางข้อที่หยิบยืมมาจากคำแนะนำทั่วไป
เช่น สภาไก่แห่งชาติสหรัฐฯ หรือบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกพันธุ์ปฐมภูมิ
ที่ฟาร์มแซนเดอร์สัน
ได้มีการนำกระบวนการความปลอดภัยทางชีวภาพถ่ายทอดต่อฟาร์มไก่ประกันด้วยสัญญาการเลี้ยง
รวมถึง เอกสารมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ของบริษัท
บทเรียนที่ ๑ หัวเข่าแพร่โรค
ILT
บทเรียนการระบาดโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ (Infectious
laryngotracheitis, ILT)
ในฟาร์มฟาร์มแซนเดอร์สันสร้างความเสียหายจนทำให้ต้องตัดสินใจทำลายไก่มากกว่าเจ็ดแสนตัวทีเดียว
ดังที่เราทราบกันดีว่าโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อเป็นโรคที่สร้างความเสียหายอย่างมาก
เริ่มต้นด้วยการทำลายทางเดินหายใจส่วนต้น และมักนำไปสู่การตายของไก่ที่ติดเชื้อ
ตามปรกติ การเกิดโรคจะต้องรายงานไปยังภาครัฐ ดังนั้น
ผู้ประกอบการจึงให้ความสำคัญกับโรคนี้มากกว่าโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
ภายหลังการเกิดโรค ILT แต่ละราย
สัตวแพทย์ของบริษัทจะเข้าสอบสวนเพื่อสืบค้นแหล่งต้นตอของเชื้อไวรัส
และปรับกระบวนการความปลอดภัยทางชีวภาพ เราไม่อยากเป็นไปตามสุภาษิตเก่าที่ว่า “ความโง่เขลาเกิดจากการคาดหวังผลที่แตกต่างจากพฤติกรรมเดิมๆ” นับตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา เมื่อเกิดโรคแต่ละครั้ง
บุคคลากรในฟาร์มไก่เนื้อของบริษัทก็แค่สวมถุงพลาสติกครอบรองเท้าบู๊ท
โดยไม่คิดปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพอื่นๆใด ในทางตรงกันข้าม
ความปลอดภัยทางชีวภาพจำเป็นต้องมีความเข้มงวดสำหรับการทำงานของบุคลากรในฟาร์มเลี้ยงไก่พันธุ์
ทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงที่สุดของเรา
นักวิชาการด้านสัตว์ปีกพันธุ์จำเป็นต้องสวมชุดคลุมตลอดตัวตลอดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงนิ้วเท้าเพื่อให้มั่นใจว่า
จะไม่เป็นผู้นำโรคเข้าฟาร์ม
ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ.๒๕๕๒ โรค ILT เกิดการระบาดในฟาร์มไก่เนื้อส่วนใหญ่ทางตะวันตกของรัฐเท็กซัส ระหว่างการสอบสวนโรค
สัตวแพทย์ของบริษัทสอบสวนแล้วพบว่า
การนำโรคครั้งนี้มาจากความบกพร่องอย่างรุนแรงของพื้นฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
ฟาร์มไก่ป่วยรายสำคัญเกิดจากฟาร์มเลี้ยงไก่ประกันที่มีการแปรรูปสัตว์ปีกที่ไม่ใช่ของบริษัทที่ฟาร์มเลี้ยงไก่ของตัวเอง
โรค ILT ถูกสอบย้อนกลับไปยังเมืองแคนตัน รัฐเท็กซัส
ในงานตลาดค้าสัตว์ปีก ในงานมีไก่เนื้อที่ให้วัคซีนป้องกันโรค ILT จากรัฐอาร์คันซอจำหน่ายด้วย
ตามเส้นทางของฝูงไก่หลังบ้านที่ติดเชื้อไวรัส ILT อยู่ตามทางหลวงสายหลัง
ฝูงสุดท้ายที่ทราบว่าเกิดการติดเชื้ออยู่ทางตอนเหนือของวาโค เป็นที่ชัดเจนว่า
หนึ่งในฝูงไก่หลังบ้านที่ติดเชื้อเลี้ยงโดยฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเชิงพาณิชย์เอง
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ที่เกิดโรค ILT มักเดินทางกลับบ้านอยู่กับครอบครัว
และเพื่อนฝูง
บางคนก็เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อประกันให้กับบริษัทแซนเดอร์สันเช่นกัน ดังนั้น
จึงเป็นการแพร่กระจายโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อไปยังฟาร์มไก่เนื้อข้างเคียง
หลังจากเกิดโรคในฟาร์มดังกล่าวแล้ว กลุ่มฟาร์มใกล้เคียงกันในรัศมี ๑.๕
ไมล์ก็เกิดโรคตามในที่สุด สิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การเกิดโรคสองแห่งคือ
นักวิชาการของบริษัทแซนเดอร์สันนั่นเอง หลังจากสอบถามนักวิชาการ
และสอบสวนฟาร์มที่เกิดโรคก็ทำให้ทราบได้ว่า
บุคลากรเหล่านี้เป็นผู้นำเชื้อไวรัสจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งจากบริเวณที่ไม่มีการป้องกันบริเวณเข่า
ฟาร์มที่เกิดโรค
และโรงเรือนทั้งหมดในกลุ่มฟาร์มที่เกิดโรคกลุ่มที่สองมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนในระดับหัวของไก่
นักวิชาการของบริษัทแซนเดอร์สันเข้าตรวจเยี่ยม
และก้มลงคุกเข่าเพื่อตรวจสอบ และย้อนดูข้อมูลย้อนหลังจากเครื่องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน
ความเสียหายจากโรค ILT ได้สอนให้เราทราบว่า
บุคลากรผู้ให้บริการด้านการเลี้ยงไก่เนื้อจำเป็นต้องสวมชุดป้องกันที่สะอาดที่ปกคลุมทั้งตัว
รวมทั้งสวมหมวกตะข่ายด้วย เช่นเดียวกับบุคลากรที่เลี้ยงไก่พันธุ์เช่นกัน
เอกสารอ้างอิง
Stayer PA. 2018. Breaches in
biosecurity: Sanderson Farms vet shares three valuable lessons. Poultry
Health Today. [Internet]. [Cited 2018 May 16]. Available
from: https://poultryhealthtoday.com/breaches-in-biosecurity-lessons-learned/
(แหล่งภาพ: https://pixabay.com/en/flag-blow-wind-flutter-characters-75047/)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น