วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ราคาเนื้อไก่โลกสดใสในปีนี้


ราคาสัตว์ปีกโลกอาจสวิงเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ ความต้องการของตลาดจีนกำลังเติบโต และตลาดเนื้อสัตว์ปีกที่ล้นอยู่กำลังปรับตัวเข้าสู่สมดุล
               การวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดสัตว์ปีกโลกโดยโรโบแบงค์ให้ความเห็นถึงโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกาทำลายประชากรสุกรในจีนจำนวนมาก ผู้บริโภคต้องหันมาหาเนื้อสัตว์ปีกทดแทน คาดว่า ประชากรสุกรจะลดลงร้อยละ ๑๐ ถึง ๒๐ ในประเทศ
                รายงานในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจาก หลายปัจจัย รวมถึง ข้อจำกัดต่างๆทางการค้า และโรคระบาด และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การผลิตสัตว์ปีกได้เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และไทย แต่ความต้องการลดลง เนื่องจาก ตลาดโดยภาพรวมที่ชะลอตัว และหยุดรอคอยตลาดระหว่างประเทศภายหลังข้อจำกัดทางการค้าต่างๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ ๒ ถึง ๔ ของปีที่แล้วคือ ราคาสัตว์ปีกตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
               อย่างไรก็ตาม ราคากำลังเพิ่มสูงขึ้น โรโบแบงค์ มองภาพเป็นบวกต่อตลาดค้าสัตว์ปีกได้มาถึงจุดกลับตัวแล้ว ระดับราคาโลกกำลังไต่ระดับ โดยเฉพาะ สภาวะการค้าขายโลกกำลังดีขึ้น และเชื่อว่าจะสูงทำลายสถิติในไตรมาสที่ ๔ ของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นแล้วก็จะทำให้สภาวะการตลาดสัตว์ปีกโลกสดใสขึ้นมา นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีทั้งสำหรับการผลิตภายในประเทศ และตลาดโลก แต่ความไม่แน่นอนยังคงสถิตย์อยู่ เนื่องจาก การปรับเปลี่ยนของกลไกการค้าขายโลกในปีนี้                     
เอกสารอ้างอิง
Davies J. 2019 Global poultrymeat prices on the rise. [Internet]. [Cited 2019 Mar 18]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/3/Global-poultrymeat-prices-on-the-rise-405288E/  

ภาพที่ ๑ การตลาดสัตว์ปีกโลกสดใสในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (Photo: Shutterstoc)


วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

ยากันบิดเป็นยาปฏิชีวนะ หรือสารเติมอาหารสัตว์?

การใช้ยากันบิดสำหรับป้องกันโรคนิยมใช้กันทั่วโลก เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่ดีมาเป็นเวลาหลายสิบปี บางครั้วก็มีข้อถกเถียงว่า ความจริงแล้วยากันบิดคืออะไรกันแน่ วัตถุเติมอาหารสัตว์ หรือยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบัน ยากันบิดยังถือเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ในรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ในสหภาพยุโรป
               การใช้ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ได้แก่ โมเนนซิน เป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการต่อสู้กับโรคบิด ก่อนหน้านั้น การเกิดโรคบิดพบได้บ่อย และโรคนี้รักษาได้ยากกว่าการป้องกัน เนื่องจาก ยากันบิดที่ไม่ใช่กลุ่มไอโอโนฟอร์เท่านั้นที่มีการใช้กัน แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เพราะเชื้อโปรโตซัวสามารถดื้อยาได้อย่างรวดเร็ว
               ฟาร์มไก่เนื้อในสหภาพยุโรปนิยมใช้ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ในอาหารสัตว์ปีกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจาก สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจากปรสิตเซลล์เดียวที่ชื่อว่า ไอเมอเรีย (Eimeria) ในปัจจุบัน สหภาพยุโรปได้จัดยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ไว้เป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เรื่องนี้กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงกัน บางกลุ่มคิดว่า จะเป็นการดีกว่าที่จะติดฉลากให้ยากันบิดเป็นยากันบิด ขณะที่ บางกลุ่มคิดว่า ยากันบิดควรจัดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์เหมือนเดิม

ทำไมสหภาพยุโรปต้องการให้ยากันบิดยังเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์
               ด้วยเหตุผลหลายประการที่สหภาพยุโรปเลือกที่จะจัดยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ โรคบิดเป็นโรคประจำถิ่น ปรสิตพบได้ทั่วไป และทนทานต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก นอกเหนือจากนั้น ยังปรากฏในทุกระบบโรงเรือน สัตวแพทย์ไม่จำเป็นต้องเข้าฟาร์มเมื่อปรากฏปรสิตขึ้น เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจเยี่ยม การจำแนกให้เป็นยาปฏิชีวนะหมายความว่าจะไปตรงเข้ากับความต้องการด้านการผลิตในการจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะ และกลายเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็นอีก นอกจากนั้น การกำหนดให้ยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์เป็นหลักประกันว่าจะมีการให้ยาในขนาดที่ถูกต้อง โดยแบ่งให้ในสูตรอาหารสัตว์ และป้องกันมิให้ขนาดยาสูง หรือต่ำเกินไป  

การพัฒนาเชื้อบิดดื้อยา
               การพัฒนาเชื้อบิดดื้อยา เมื่อเชื้อบิดดื้อต่อยากลุ่มไอโอโนฟอร์แล้วจะดื้อยาในมนุศย์ด้วยหรือไม่ การวิจัยด้านความเสี่ยงจากการใช้ยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์ โดยคณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์จากนอร์เวย์สำหรับประเด็นความปลอดภัยอาหาร บ่งชี้ว่า การใช้ยากันบิดสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการพัฒนาเชื้อดื้อยากลุ่มไอโอโนฟอร์ และยาปฏิชีวนะกลุ่มแบซิทราซิน และแวนโคไมซินได้ ยาดังกล่าวถูกใช้ในทางการแพทย์ นักวิจัยจากนอร์เวย์ระบุว่า ผลการวิจัยนี้อาจมีข้อมูลค่อนข้าน้อย และรัฐบาลนอร์เวย์ก็ไม่ได้จำกัดการใช้ยากันบิด
 ถึงกระนั้นก็ไม่พบการดื้อยากันบิด
               ยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์นิยมใช้กันทั่วโลกเป็นเวลานานหลายปีแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้ การดื้อยาของเชื้อบิดต่อยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์ก็ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน กลไกการทำงานของยากันบิดกลุ่มไอโนฟอร์มเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทางเภสัชกรรมแตกต่างจากยาปฏิชีวนะในมนุษย์ และสัตว์ หมายความว่า ยากันบิดไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์เลย
               ความปลอดภัยของยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์ถูกตอกย้ำโดยข้อเท็จจริงที่ว่า ยากันบิดกลุ่มไอโอโนฟอร์มิได้อยู่ในรายชื่อยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีความสำคัญขั้นวิกฤติทางการแพทย์โดยองค์การอนามัยโลก หรือองค์การโรคระบาดสัตว์โลกที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง การป้องกันโรคบิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี และมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์ที่ดี สวัสดิภาพสัตว์ การป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดี นั่นคือ เป็นการผลิตสัตว์ปีกอย่างยั่งยืน ที่มีความต้องการสูงมากสำหรับเนื้อสัตว์ปีก

นอร์เวย์ และสหรัฐฯเลิกใช้ยากันบิดแล้ว
                หลายประเทศที่ไม่ใช้ยากันบิดแล้วโดยยกเลิกการกำหนดมาตรฐาน โดยเฉพาะ นอร์เวย์ และสหรัฐฯ ในสหรัฐฯ การผลิตสัตว์ปีกในห่วงโซ่การผลิตที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก สหรัฐฯกำหนดให้ยากับนิดเป็นยาปฏิชีวนะ จึงไม่ถูกใช้ในห่วงโซ่การผลิตเหล่านี้ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อยุโรปไม่ต้องการให้มีมาตรการที่ไม่อนุญาตให้ใช้ยากันบิดในอาหารสัตว์ โดยชี้ให้เห็นถึงต้นทุนที่ผู้เลี้ยงไก่เนื้อสหรัฐฯต้องจ่ายเมื่อไม่ใช้ยากันบิด
               การห้ามใช้ยากันบิดเป็นอุปสรรคต่อการผลิตอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน การผลิตอย่างยั่งยืนไม่ได้หมายถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ความสำคัญต่อเศรฐกิจ และสวัสดิภาพมนุษย์ และสัตว์ก็มีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อยต่อกัน ในสหรัฐฯ การผลิตสัตว์ปีกเนื้อโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะห้ามใช้ยากันบิด ตอนนี้เกือบครึ่งหนึ่งของการผลิตสัตว์ปีกในสหรัฐไม่ใช้ยากันบิด

สวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ
               การตายของสัตว์จำนวนมากเป็นเครื่องบ่งชี้อยู่แล้วว่า สวัสดิภาพสัตว์ในโรงเรือนสัตว์ปีกเป็นอย่างไร เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกได้เห็นอัตราการตายของสัตว์ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นมา อัตราการตายค่อยๆสูงขึ้นอย่างช้าๆจากการรณรงค์ให้ผลิตสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ฟาร์มเหล่านี้มักมีอัตราการตายเฉลี่ยร้อยละ ๕.๕ ขณะที่ การผลิตสัตว์ปีกทั่วไป อัตราการตายเฉลี่ยเพียงร้อยละ ๓ ถึง ๓.๕ เท่านั้น
               ปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นมากในห่วงโซ่ของการผลิตไก่โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยกตัวอย่างเช่น กระจกตาของไก่เนื้อเกิดความเสียหายมากกว่าปรกติ ๓.๕ เท่า เนื่องจาก แอมโมเนียในอากาศ รอยโรคที่โรงฆ่ามากขึ้น ๑.๔ เท่า และปัญหาระบบหายใจมากขึ้น ๑.๕ เท่า สภาวะทั้งสามประการนี้ไม่ได้พบในโรงเรือนที่เลี้ยงสัตว์ปีกแบบไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังร้ายแรงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

มุมมองด้านสิ่งแวดล้อม
               เนื่องจาก ต้องเลี้ยงไก่นานขึ้น และประสิทธิภาพการแลกเนื้อที่ด้อยลงในห่วงโซ่การผลิตไก่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ประสิทธิภาพการผลิตจึงน้อยลงไปไกล ยิ่งอัตราการตายที่สูงขึ้น ยิ่งห่างเหินจากความต้องการเนื้อสัตว์ปีกสำหรับการบริโภค ถ้าการเลี้ยงไก่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมดเกิดขึ้นจริง ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องผลิตไก่เป็นพิเศษอีก ๖๘๐ ถึง ๘๘๐ ล้านตัว เพื่อให้มีเนื้อเพียงพอสำหรับผู้บริโภคชาวอเมริกัน หมายความว่า ต้องมีอาหารสัตว์ น้ำ และพื้นที่เลี้ยงไก่เหล่านี้มากมายมหาศาล กลายเป็นเพิ่มวิกฤติการณ์ด้านอื่นๆขึ้นอีกมาก ในสถานการณ์ที่ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทวีคูณนับจากนี้

ผู้ประกอบการที่เลือกเลี้ยงไก่ปลอดยาปฏิชีวนะต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่
               การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนย่อมสูญเสียไป ผู้ประกอบการที่ผลิตสัตว์ปีกโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะได้รับราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับต้นทุนที่ต้องจ่ายมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างราคาจำหน่ายเนื้อไก่ปรกติ และเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะลดลงเรื่อยๆตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึง ความยากลำบากต่อการจัดการคุณภาพซากของเนื้อไก่จากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ  

ผู้บริโภคต้องการสัตว์ปีกจากฟาร์มที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะมีมากอย่างชัดเจน
ยังคงเป็นคำถามว่า ผู้บริโภคต้องการแบบนี้จริงๆหรือ ผู้บริโภคอีกจำนวนมากก็ไม่ได้ต้องการจากผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคอีกมากที่คิดว่าเนื้อไก่ปรกติมียาปฏิชีวนะ และฮอร์โมน นั่นเป็นเหตุผลที่พวกเขาเลือกเนื้อไก่ที่ติดฉลากบ่งชี้ว่าไม่มียาปฏิชีวนะ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์ป่วยไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดเนื้อสัตว์ปีก จะดีกว่าหรือเปล่าที่จะให้ผู้บริโภคเลือกสวัสดิภาพสัตว์ และการผลิตอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรผู้ผลิตไก่เนื้อสามารถทำได้จริง ท่ามกลางข่าวลือว่า ยากันบิดจะถูกเลิกใช้ โดยไม่แน่ชัดว่า ข่าวลือนี้มีที่มาจากไหน หรือเป็นจริงหรือเท็จเพียงใด สหภาพยุโรปกำหนดให้ใช้ยากันบิดได้ตามกฏระเบียบหมายเลข ๑๘๓๑/๒๐๐๓ โดยมีการปรับแก้ไขเกี่ยวกับการใช้วัตถุเติมอาหารสัตว์ และการใช้ยากันบิด
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อในสหภาพยุโรปยังใช้ยากันบิดได้ในอาหารสัตว์ เมื่อร่างแผนปฏิบัติการหนึ่งสุขภาพในยุโรปต่อปัญหาเชื้อดื้อยา (ARM) ถูกเขียนขึ้น ได้มีการเสนอให้แก้ไขในเดือนกันยายนเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมียาสำหรับควบคุมเชื้อโปรโตซัว เช่น บิด ได้ ร่างแก้ไขดังกล่าวได้รับการรับรองโดยสภายุโรป การไม่เข้าไปควบคุมยากันบิดเป็นความคิดที่ไม่สร้างสรรค์ เนื่องจาก การเลี้ยงไก่เนื้อโดยไม่ใช้ยากันบิดในอาหารสัตว์ทำให้สัตว์ป่วยได้บ่อย แล้วยังทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา จากการกินเนื้อไก่ สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการป้องกันเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะอยู่แล้ว เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในทางการแพทย์ก่อนที่จะห้ามใช้วัตถุเติมอาหารสัตว์
ในเวลานี้ไม่มีสัญญาณว่า สภายุโรป วางแผนที่จะถอนยากันบิดออกจากรายชื่อวัตถุเติมอาหารสัตว์ โดยกำหนดคณะทำงานเฉพาะสำหรับภารกิจนี้ เช่น สหพันธ์สัตวแพทย์แห่งยุโรป (FVE) องค์กรนี้เชื่อว่า การใช้ยากันบิดไม่ควรจัดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์อีกต่อไป ตามความเห็นของ FVE เชื่อว่าจะสมเหตุสมผลกว่าที่จะให้การใช้ยากันบิดต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์ เช่นเดียวกับ ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดการดื้อยาของเชื้อบิด FVE ให้เหตุผลว่า ยากันบิดในกลุ่มไอโอโนฟอร์อาจจำเป็นต้องนำมาใช้ในทางการแพทย์ในอนาคต สำหรับควบคุมโรคมะเร็ง การศึกษาบ่งชี้ว่า ยากันบิด เช่น โมเนนซินมีฤทธิ์ควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากไตได้
     
เอกสารอ้างอิง
Swormink BK. 2019 Coccidiostats: Antibiotic or feed additive?. [Internet]. [Cited 2019 Mar 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/Nutrition/Articles/2019/3/Coccidiostats-Antibiotic-or-feed-additive-401585E/


ภาพที่ ๑ ปัจจุบัน สหภาพยุโรปยังกำหนดให้ยากันบิดเป็นวัตถุเติมอาหารสัตว์ (แหล่งภาพ Fabian Brockötter)


วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

กุญแจ ๑๔ ไขตลาดสัตว์ปีกโลกปี ๒๕๖๒


ความต้องการผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อการผลิตโปรตีนจากสัตว์ และอาหารสัตว์
               ความต้องการของผู้บริโภคมีอิทธิพลอย่างเข้มแข็งต่อการผลิตโปรตีนจากสัตว์ และอาหารสัตว์จากวิสัยทัศน์ของ Nan-Dirk Mulder นักวิเคราะห์อาวุโสด้านโปรตีนจากสัตว์ที่โรโบแบงค์ กุญแจสำคัญ ๑๔ ข้อนั้น ได้แก่
๑.     ทั่วโลก ความต้องการโปรตีนจากสัตว์จะมากกว่าร้อยละ ๓๕ ในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า เนื้อสัตว์ปีกจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงที่สุดราวร้อยละ ๒ ขณะที่ ไข่สัตว์ปีกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑.๖ สัตว์ทะเลร้อยละ ๑.๒ เนื้อโคร้อยละ ๑.๑ และเนื้อสุกรร้อยละ ๑
๒.    ความต้องการของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลง ขณะที่ เศรษฐกิจกำลังพัฒนาต่อไป ผู้บริโภคจากประเทศที่มั่งคั่งต้องการเนื้อสัตว์มากขึ้น ออสเตรเลียมีการบริโภคเนื้อสูงที่สุดในโลก
๓.    การเปลี่ยนแปลงทางสังคมสามารถส่งผลต่อภาพตลาดของโปรตีนจากสัตว์ การค้าปลีกของสิ่งที่ทดแทนเนื้อสัตว์จะมีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชีย แปซิฟิก และต่ำที่สุดในละตินอเมริกา
๔.    ต้นทุนการผลิตสัตว์ปีกมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อมีชีวิตสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น และต่ำที่สุดในประเทศบราซิล
๕.    อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อ และสัตว์ปีกกำลังมองหาสิ่งท้าทายทางการตลาด บราซิลมุ่งส่งออกเป็นหลัก แต่ต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายทางการค้าในหลายภูมิภาค
๖.     ความผันผวนอย่างมากของตลาดยุโรป และตะวันออกกลาง การนำเข้าไก่ของสหภาพยุโรปจากบราซิลลดลงร้อยละ ๕๐ ขณะที่สหภาพยุโรปเพิ่มการนำเข้าจากประเทศยูเครนมากขึ้น
๗.     สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะสั่นคลอนสะเทือนไปถึงบราซิลต่อไป จีนนำเข้าถั่วเหลืองทั่วโลกร้อยละ ๖๒ และนำเข้าถั่วเหลืองมากขึ้นจากบราซิล และอาร์เจนตินา
๘.    การระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกาในจีนจะส่งผลต่อตลาดเนื้อสุกร และโครงสร้างอุตสาหกรรม โรคนี้ยังส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อตลาดค้าเนื้อสัตว์ทั่วโลก
๙.     เนื่องจาก ความยากลำบากในการนำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์ (เนื้อ) เข้าสู่จีน ความต้องการเนื้อสัตว์ไก่จะไม่เพียงพอ  
๑๐.  เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดสำคัญที่จะเติบโต รวมถึง อินโดนีเซีย พม่า ฟิลลิปปินส์ เวียดนาม และอินเดีย
๑๑.  นอกจากบราซิลแล้ว ประเทศกลุ่มลาติน อเมริกาอีกหลายประเทศจะเป็นตลาดผลิตสัตว์ปีกที่เติบโตที่รวดเร็วที่สุดในโลก
๑๒.          ตลาดสัตว์ปีกในแอฟริกาจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปีในทศวรรษต่อจากนี้ โดยประเทศที่เติบโตใหญ่ที่สุดจะเป็นแอฟริกาใต้ และไนจีเรีย
๑๓. ความต้องการของสังคมจะเป็นโอกาสของตลาดใหม่ ความปลอดภัยอาหาร สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการผลิตในท้องถิ่นจะเป็นแนวโน้มสำคัญของอนาคต
๑๔. เทคโนโลยีใหม่จะช่วยแก้ปัญหาการผลิต และก้าวข้ามความท้าทายความต้องการของสังคมต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง
Reus A. 2019. 14 key facts about the global poultry market in 2019. [Internet]. [Cited 2019 Feb 13]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/36885-key-facts-about-the-global-poultry-market-in-2019




วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

การฟัก สาเหตุของปัญหาลูกไก่ขาถ่าง


อุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่าง หรือขาบิดในฝูงไก่ และไก่งวงเพิ่มขึ้น เกิดจากกระบวนการฟัก โดยเฉพาะ อุณหภูมิในตู้เกิด และการระบายอากาศ การจัดการในโรงฟัก หรือระหว่างการขนส่งไปยังฟาร์มจึงมีบทบาทสำคัญมาก
               สิ่งที่เห็นลูกไก่ขาถ่าง (Splayed legs) ที่โรงฟักอาจพบได้น้อยมาก ตามปรกติไม่ควรเกินกว่าร้อยละ ๐.๓๕ ถึง ๐.๕ แต่อาจเพิ่มขึ้นในบางกรณี ลูกไก่ที่พบภาวะนี้อาจเกิดขึ้นทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว ขาชี้ออกด้านข้างจากข้อต่อสะโพก และไม่สามารถยืนได้เอง บางครั้ง ปัญหาไปปรากฏที่ฟาร์ม และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของการคัดทิ้งระหว่างสามสัปดาห์แรก
               สภาวะดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับความชื้นที่สูงระหว่างการฟัก แต่ผลการวิจัย บ่งชี้ว่า อุณหภูมิที่สูงระหว่างช่วงสุดท้ายของพัฒนาการตัวอ่อนเป็นสาเหตุใหญ่ ปัญหาขาถ่างพบได้ในลูกไก่แรกฟักต้องยืนอยู่บนพื้นที่ลื่นไม่มั่นคง อุณหภูมิที่สูงระหว่างการบ่มยังมีผลกระทบอย่างมากต่อปัญหาขาถ่าง เนื่องจาก ส่งผลต่อพัฒนาการของกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ และเมตาโบลิซึมของต่อมไทรอยด์   
               ตัวออ่นอาจเกิดความเครียดจากความร้อนในโรงฟักเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก การออกแบบระบบการบ่ม และการฟัก ทำให้การไหลเวียอากาศไม่เพียงพอรอบฟองไข่ในบางตำแหน่ง บางครั้ง การระบายอากาศที่ลดลงระหว่างการบ่ม และเวลาการฟักที่ยืดยาวผิดปรกติ ๑๒ ถึง ๒๔ ชั่วโมงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดจากความร้อน เหนี่ยวนำให้เกิดอุบัติการณ์ลูกไก่ขาถ่างได้

การพัฒนากล้ามเนื้อ (Muscle development)
               ลูกไก่ที่เผชิญหน้ากับอุณหภูมิการบ่มที่สูงขึ้นทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ไม่สามาถยืนขึ้นได้เมื่อฟักออกเป็นตัว เนื่องจาก ไกลโคเจนสำรองในกล้ามเนื้อที่ลดลง และเส้นใยกล้ามเนื้อบางลงกว่าปรกติ อุณหภูมิการฟักที่เพิ่มขึ้นกระตุ้นการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความต้องการออกซิเจนผ่านรูเปลือกไข่สูงขึ้นอย่างมาก ตัวอ่อนลูกไก่จึงเปลี่ยนจากการใช้ลิปิดในไข่แดงที่ต้องการออกซิเจนไปใช้แหล่งพลังงานสำรองจากไกลโคเจนที่เก็บไว้ในกล้ามเนื้อ กระบวนการเผาผลาญไกลโคเจนไม่ต้องการออกซิเจน แต่สร้างกรดแลกติกขึ้นมาเป็นผลพลอยได้ ในสภาวะกรดขัดขวางการหดตัว และเมตาโบลิซึมของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาวะความเป็นกรดได้ตามปรกติ การสะสมของกรดแลกติกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า บางครั้งเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง และทำให้ตัวอ่อนตายช่วงท้ายของการฟักไข่ แต่บ่อยครั้ง ลูกไก่ที่ประสบกับปัญหาร้อนเกินฟักออกเป็นตัวได้ แต่จะแสดงอาการเฉื่อยชา และเซื่องซึม ไม่ค่อยอยากเดินเข้าหาอาหาร และน้ำ และขาดอาหารที่ฟาร์มทำให้อัตราการตายสัปดาห์แรกสูงขึ้น

การพัฒนาเส้นเอ็น (Tendon development)
               นักวิจัยยังพบว่า สภาวะการบ่มมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาเส้นเอ็น ความแข็งแรงของเส้นเอ็นมีความสำคัญมากต่อการเคลื่อนที่อย่างเหมาะสมในสัตว์ปีกทุกชนิด โดยเฉพาะ ไก่งวง
ความแข็งแกร่งของโครงสร้าง และการทำหน้าที่ทางกายภาพของเส้นเอ็นขึ้นกับการจัดเรียงอย่างถูกต้องของเส้นใยคอลลาเจนชนิดที่ ๑ ระหว่างการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เส้นใยคอลลาเจนโดยทั่วไปจะหนาขึ้นตามอายุ และการออกกำลังกาย เอ็นประกอบด้วยโปรตีโอไกลแคนหลายชนิด โดยเฉพาะ ดีโคริน (Decorin) มีหน้าที่ควบคุมการสร้างองค์ประกอบของเอ็นโดยจำกัดการสร้างเส้นใยคอลลเจน และการจัดเรียงทิศทางของเส้นเอ็นโดยอาศัยความเค้นแรงดึง ผลการวิจัยประเมินโปรคอลลาเจนชนิดที่ ๑ และดีคอลลินด้วยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมีในเส้นเอ็นกาสตร๊อกนีเมียสของไก่ที่ถูกบ่มภายใต้อุณหภูมิที่เปลือกไข่ตามมาตรฐาน ๓๗.๖ องศาเซลเซียส หรือภายใต้สภาวะผิดปรกติ อุณหภูมิที่เปลือกไข่ต่ำ ๓๖ องศาเซลเซียสระหว่าง ๗ วันแรก และอุณหภูมิที่เปลือกไข่ต่ำ ๓๙ องศาเซลเซียสระหว่าง ๗ วันสุดท้าย พบว่า เส้นใยคอลลาเจนบางลงในไก่ที่มาจากกระบวนการฟักที่ผิดปรกติตั้งแต่เมื่อฟักเป็นตัว ที่อายุ ๔ ๑๔ และ ๒๑ วัน ตามลำดับ

การพัฒนากระดูก (Bone development)
               การพัฒนากระดูกในสัตว์ปีกอาจได้รับผลกระทบโดยกระบวนการฟัก การสร้างโครงสร้างแมทริกซ์ของคอลลาเจนในกระดูกเริ่มขึ้นระหว่างการฟักช่วงแรก นักวิจัยแสดงให้เห้นว่า กระดูกของสัตว์ปีกเริ่มต้นกระบวนการสร้างกระดูก (Ossification) เช่น การแสดงออกของคอลลาเจนชนิด เอ็กซ์ การปรากฏของเอนไซม์อัลคาไลน์ ฟอสฟอเตส และการแสดงออกของเอนไซม์เมตัลโลโปรตีเนส ตั้งแต่ที่อายุ ๑๖ วันของการฟักในไก่เนื้อ และ ๑๘ วันของการฟักในไก่งวง รายงานผลการวิจัยอีกฉบับ พบว่า การสร้างกระดูกยาวในไก่งวงเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอ่อนอายุ ๑๒ วัน และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการฟักเป็นเวลา ๒๐ วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ก่อนฟักเป็นตัว ปัจจัยหลายประการที่ควบคุมกระบวนการสร้างกระดูกอ่อนที่เรียกว่า เอนโดคอนดรัล ออสซิฟิเคชัน (Endochondral ossification) ของกระดูกยาวที่อาจได้รับผลกระทบจาการฟัก โดยเฉพาะในระหว่างระยะพลาโต (plateau stage) ของการใช้ออกซิเจน หรือ ๓ ถึง ๔ วันก่อนการฟัก เมื่อกระดูกมีอัตราการยืดยาวรวดเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาการพัฒนากระดูกอาจมีสาเหตุจากสภาวะการบ่มที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยที่ระยะใดๆของการเจริญเติบโตตัวอ่อนก็ได้

               การเพิ่มจำนวน และการพัฒนาของเซลล์กระดูกอ่อนอาจได้รับผลกระทบโดยความเครียดจากอุณหภูมิระหว่างกระบวนการฟักได้ สภาวะที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยในตู้ฟักมีอิทธิพลโดยตรงต่ออุบัติการณ์ของโรคทิเบียล ดิสคอนโดรพลาเซีย (Tibial dyschondroplasia) หรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกยาวภายหลังการฟัก บ่อยครั้งที่สังเกตพบว่า การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการกระดูกแข้งส่วนปลาย และการสร้างกระดูกคอนไดล์ที่ผิดปรกติที่ทำให้เกิดปัญหาขาบิด ในช่วงแรกของชีวิตคล้ายคลึงมากกับสภาวะขาถ่าง อุณหภูมิการบ่มส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่ ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ไอจีเอฟวัน และโกรธฮอร์โมน (Thyroid-IGF1-GH hormonal axis)” ที่ควบคุมพัฒนาการของเซลล์กระดูกอ่อนที่บริเวณแถบการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth plate) และพัฒนาการของกระดูกทั่วไป นอกเหนือจากนั้น ลิปิด แร่ธาตุ และวิตามินในไข่แดงก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับรูปร่าง และการปรับรูปร่างใหม่ของกระดูก หากไข่แดงไม่ถูกดูดซึมระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว กระดูกจะม่สามารถได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูกในระยะแรก

ความเครียดจากกระบวนการฟัก     
               ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อปัญหาขาถ่าง ซึ่งเป็นความไม่สมมาตรระหว่างขาข้างซ้าย และขวา เนื่องจากความเครียดจากการฟักไข่ ในการทดลองทั้งหมด สังเกตพบว่า ความเครียดจากขั้นตอนก่อนการฟักส่งผลต่อความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ของพารามิเตอร์บางชนิดของกระดูกในไก่งวง และไก่ ความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ระหว่างแขนขา และคุณลักษณะทางฟีโนไทป์ทั้งสองข้างสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการฟักไข่ที่ส่งผลต่อความเครียดระหว่างพัฒนาการของตัวอ่อนลูกไก่ ยิ่งความไม่สมมาตรของกระดูกสูงมากเท่าไรก็ยิ่งเชื่อมโยงต่อปัญหาการเคลื่อนที่ และทำให้คะแนนท่าเดินยิ่งแย่ลง ความไม่สมมาตรสัมพัทธ์เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้สำหรับประเมินสวัสดิภาพสัตว์ แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงบ้างเกี่ยวกับความเพียงพอของพารามิเตอร์นี้สำหรับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์ปีกโตเต็มวัยแล้ว ปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ภายหลังการฟักไข่ แต่ดูเหมือนจะเป็นวิธีการประเมินสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่แม่นยำสำหรับพัฒนาการตัวอ่อนลูกไก่ในไข่ฟัก

ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์สัตว์ปีก
               บ่อยครั้งที่กล่าวถึงกันว่า มีความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์สัตว์ปีกต่อความชุกของปัญหาขา หรืออุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่าง ผู้วิจัยประเมินรูปแบบของอุณหภูมิการบ่ม ๓ ลักษณะต่อสายพ่อแม่พันธุ์เพศเมีย ๓ สายในไก่งวงที่สายปู่ย่าพันธุ์เพศเมียมีการผสมข้ามกันกับสายปู่ย่าพันธุ์เพศผู้ ๓ สาย ด้วยวิธีนี้ คุณลักษณะด้านการให้ไข่คล้ายคลึงกัน แต่พันธุกรรมของตัวอ่อนมีความแตกต่างกัน รูปแบบของอุณหภูมิ ๓ ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบของอุณหภูมิที่สูงขึ้น ปรกติ และต่ำลง ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการฟัก และสายพันธุ์ต่อพัฒนาการของกระดูก คะแนนของความผิดปรกติการจัดท่ากระดูกเป็นมุมขากาง หรือหุบ (Valgus/varus angular deformities) อย่างไรก็ตาม รูปแบบการฟักส่งผลกระทบโดยตรงต่อพารามิเตอร์ต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพกระดูก และขา บ่งชี้ว่า โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ไก่ การฟักมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพขา รูปแบบอุณหภูมิการฟักที่สูงทำให้อุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่างเมื่อฟักสูง โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ ลูกไก่ที่ฟักออกมาเกือบร้อยละ ๒๐ ที่รูปแบบอุณหภูมิการฟักสูงเกิดปัญหาขาถ่าง ผลบางประการของตัวอ่อนที่ผ่านการฟักที่อุณหภูมิสูงสังเกตได้ขณะฟักเป็นตัวปรากฏเป็นลูกไก่ขาถ่าง แต่อุณหภูมิที่สูงยังส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ การใช้สารอาหาร โครงสร้างของตัวไก่ และสุขภาพของไก่ และไก่งวงโดยภาพรวม ลูกไก่ขาถ่างเป็นตัวบ่งชี้ว่า เกิดสภาวะความเครียดจากความร้อนแล้ว และจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาการจัดการเครื่องจักร หรือการจัดการโรงฟัก       
  
เอกสารอ้างอิง
Oviedo-Rondón EO and Wineland MJ. 2011. Incubation distress easily leads to splayed legs. [Internet]. [Cited 2011 Aug 23]. Available from: https://www.poultryworld.net/Breeders/Incubation/2011/8/Incubation-distress-easily-leads-to-splayed-legs-WP009251W/ 


วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...