กรดกัวนิไดโนอะซิติก (Guanidinoacetic acid, GAA) ในอาหารไก่เนื้อ ช่วยลดปัญหาคุณภาพเนื้ออกไก่
ปัจจุบัน
ไก่เนื้อปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีกล้ามเนื้ออกใหญ่และหนัก เนื่องจาก
ชิ้นส่วนอกไก่เป็นชิ้นส่วนที่มีราคาสูงที่สุดในตลาดค้าปลีกและตลาดร้านจำหน่ายอาหาร
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงพันธุกรรมได้ส่งผลให้ความชุกของโรค เช่น กล้ามเนื้อแข็งเหมือนไม้
หรือวู้ดดี้เบรสต์ (woody
breast, WB) และการปรากฏเป็นลายทางสีขาว (white striping,
WS) ส่งผลให้กำไรของผู้ผลิตไก่เนื้อลดลงอย่างมาก ปัจจัยอื่นๆ เช่น
ไขมันที่รวมกับออกซิเจนในอาหารสัตว์
ก็ส่งผลให้อุบัติการณ์และความรุนแรงของพยาธิสภาพกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากค้นพบสาเหตุของการเกิดพยาธิสภาพกล้ามเนื้อ
หนึ่งในวิธีการในการลดปัญหาเป็นการใช้กรดจีเอเอ
ซึ่งผลิตได้เองตามธรรมชาติในเซลล์สัตว์ ช่วยลดอุบัติการณ์ของปัญหานี้ได้
โดยไม่ส่งผลต่อผลผลิตการเลี้ยง เช่น อัตราการเจริญเติบโต
กรดกัวนิไดโนอะซิติก
กรดกัวนิไดโนอะซิติก
และอาร์จินีนในอาหารสัตว์เสริมฤทธิ์กันโดยตรงสร้างเป็นครีเอทีน
ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการเมตาโบลิซึมพลังงาน ดังนั้น
จึงมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของสัตว์และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ตามคำอธิบายของ ดร.เคซีย์ โอเวน นักวิจัยด้านเนื้อสัตว์
และศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกที่มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ เห็นได้ชัดเจนว่า
กรดอะมิโน เช่น อาร์จินีน จำเป็นต้องการสร้างกล้ามเนื้อและโปรตีน
ดร.โอเวน รายงานว่า
กลุ่มนักวิจัย เช่น ดร.บิล โดซิเออร์ และคณะที่มหาวิทยาลัยเออร์เบิร์น
ได้ประเมินกรดอะมิโนที่สำคัญที่เวลาต่างๆในวงจรการเจริญเติบโตไก่เนื้อ
ซึ่งการดึงให้เจริญเติบโตช้าลง ช่วยลดอุบัติการณ์ปัญหากล้ามเนื้ออกได้
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เป็นที่พอใจต่อผู้ผลิตสัตว์ปีก ทั้งผลผลิต
ปริมาณเนื้อที่ได้ลดลง และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารแย่ลง
ไม่กี่ปีมานี้เอง
คณะนักวิจัยอีกกลุ่มที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็มได้ประเมินกลยุทธ์ต่างๆ
รวมถึง การเสริมอาร์จินีนและวิตามินซี
การเพิ่มวิตามินเป็นสองเท่าของปริมาณที่ผสมในพรีมิกซ์ การลดกรดอะมิโน พบว่า
การใช้วิตามินซี การเพิ่มวิตามินเป็นสองเท่าของปริมาณที่ผสมในพรีมิกซ์
และผสมผสานกลยุทธ์ร่วมกัน สามารถลดปัญหากล้ามเนื้ออกได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม
ก็ยังส่งผลกระทบต่ออัตราการแลกเปลี่ยนอาหารด้วยเช่นกัน
การเสริมอาหารไก่เนื้อด้วยอาร์จินีนระดับสูงอย่างเดียว
ช่วยลดปัญหากล้ามเนื้ออกได้เล็กน้อยเท่านั้น
นักวิจัยยังพยายามทดลองใช้ครีเอทีนลดปัญหากล้ามเนื้ออก
ครีเอทีนเคยเป็นความหวังในการลดปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อ
แต่มีข้อด้อยด้านความคงตัวในการเสริมอาหารสัตว์ ดังนั้น
จึงไม่ประสบความสำเร็จในการลดปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม ดร.โอเวน
อธิบายว่ากรดจีเอเอเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของครีเอทีนที่มีความคงตัวมากกว่าในอาหารสัตว์
กรดจีเอเอสามารถสำรองอาร์จินีน ที่ช่วยขยายหลอดเลือด
และหากไม่มีระดับที่สูงอย่างเพียงพอ อาจพบปัญหาการหล่อเลี้ยงเลือดไม่เพียงพอ
ส่งผลต่อการพัฒนากล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ กล้ามเนื้ออกของไก่
การศึกษากรดจีเอเอ
ดร.เอ็ดการ์ โอเวียโด-รอนดอน ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ปีก และโภชนาการ
มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยกรดจีเอเอในอาหารไก่เนื้อตั้งแต่ปี
พ.ศ.๒๕๖๑ ผลการศึกษาแรก บ่งชี้ว่า การเติมกรดจีเอเอที่สัดส่วนร้อยละ ๐.๐๖
ในอาหารสัตว์ช่วยลดปัญหาวู้ดเด้นเบรสต์ ขณะที่ ช่วยให้การเจริญเติบโต
ผลผลิตเนื้ออก และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารดีขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้ยังพบความแปรปรวนของผลตามสูตรอาหารสัตว์
เช่น สูตรที่ใช้ข้าวฟ่างจะมีความสามารถในการย่อยได้ของอาร์จินีน และเมไทโอนีนต่ำ
เนื่องจาก การปรากฏของแคฟิริน และแทนนิน ทำให้ประสิทธิภาพของกรดจีเอเอลดลง
ดร. โอเวียโด-รอนดอน
ตั้งข้อสังเกตว่า ด้วยปัจจัยด้านสูตรอาหาร เช่น การปรากฏของตัวให้หมู่เมธิล
หรืออาร์จินีนที่เพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่จะได้ผลเชิงบวก
ผลการวิจัยล่าสุด
ดร.โอเวน
เพิ่งเสร็จสิ้นการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินผลของกรดจีเอเอในสูตรอาหารไก่เนื้อ
เพื่อลดปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อ
โดยนำเสนอผลการวิจัยที่การประชุมด้านโภชนาการสัตว์ของคานาดาในปี พ.ศ.๒๕๖๖ มานี้เอง
การทดลองแรกใช้กรดจีเอเอร้อยละ
๐.๑๒ พบว่า มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการลดปัญหาวู้ดดี้เบรสต์ การเสริมกรดจีเอเอร้อยละ
๐.๐๖ หรือ ๐.๑๒ ช่วยลดความรุนแรงของไวต์สไตรบ์ปิงได้ ระดับที่เติมลงไปไม่มีผลต่อน้ำหนักมีชีวิตที่โรงงานแปรรูป
และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่อายุ
๕๕ วัน
ในการทดลองครั้งที่ ๒ อัตราการใช้ร้อยละ
๐.๐๘ ในสูตรอาหารลดพลังงานลง ๒ ระดับเป็น ๒๕ หรือ ๕๐ กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
เมื่อเข้าโรงงานแปรรูปฯไม่พบความแตกต่างของน้ำหนักมีชีวิตสุดท้าย หรือปริมาณเนื้ออก
บ่งชี้ว่า กรดจีเอเอช่วยลดปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อ เช่น วู้ดดี้เบรสต์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า
กรดจีเอเออาจมีผลต่างกันไปขึ้นกับพันธุกรรมหรือไม่ สองสายพันธุ์หลักที่นิยมเลี้ยงกับทั่วโลกมีโอกาสพบปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อ
โดยทั่วไปยิ่งสายพันธุ์ที่มีขนาดอกใหญ่ก็มีโอกาสพบปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อสูงกว่าปรกติอยู่แล้ว
แต่กรดจีเอเอสามารถทำงานได้คล้ายคลึงกันไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ของไก่
การวิจัยในอนาคต
ห้องปฏิบัติการของ ดร.โอเวน ยังพยายามผสมผสานการใช้แร่ธาตุชีเลต และสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อลดปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้ออีกด้วย กรดจีเอเอตัวเดียวดูเหมือนจะไม่เพียงพอที่จะลดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารและการเจริญเติบโต ผู้วิจัยยังไม่ได้ลองเพิ่มอัตราการผสมให้สูงขึ้น และอาจจะลองร่วมทดลองกับพันธมิตรด้านอุตสาหกรรมบางราย แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่า หากเสริมลงไปในระดับที่สูงขึ้นอีกจะยังให้ผลดีขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลกระทบเชิงลบด้วย
เอกสารอ้างอิง
Hein T. 2023. Reducing breast myopathies in
broilers with Guanidinoacetic acid in diets. [Internet]. [Cited 2023 Sep 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/reducing-breast-myopathies-in-broilers-with-guanidinoacetic-acid/
ภาพที่
๑
การให้กรดจีเอเอมีประสิทธิภาพลดอุบัติการณ์ปัญหาคุณภาพกล้ามเนื้อได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต
(แหล่งภาพ Lexo
Salverda)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น