วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

นักวิจัยตัดแต่งจีนกันหวัดนกสำเร็จ

 นักวิจัยพบว่า การปรับแต่งจีนที่สำคัญเชื่อมโยงกับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สามารถช่วยป้องกันได้ เป็นการส่งสัญญาณถึงเส้นทางในการพัฒนาสัตว์ปีกต้านทานโรคไข้หวัดนกได้แล้ว

การใช้เทคนิคแก้ไขจีน นักวิจัยได้ค้นคว้าและปรับเปลี่ยนส่วนของดีเอ็นเอไก่ที่ช่วยควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัส แม้ว่าจะไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ แต่ยังสามารถจำกัดและควบคุมไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ หรือความเป็นอยู่ของสัตว์ได้

ปรับปรุงพันธุ์ไก่โดยใช้เทคนิคการแก้ไขจีน

               คณะวิจัยจากสถาบันโรสลิน อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน และสถาบันเพอร์ไบร์ต ได้ปรับปรุงพันธุ์ไก่โดยใช้เทคนิคการแก้ไขจีนเพื่อเปลี่ยนบางส่วนของดีเอ็นเอที่มีความสำคัญสำหรับการผลิตโปรตีนชื่อว่า เอเอ็นพี๓๒เอ (ANP32A) ระหว่างการติดเชื้อไวรัสได้แย่งเอาโมเลกุลเหล่านี้ช่วยในการเพิ่มจำนวน

การให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกกับไก่

               ไก่ที่ผ่านการตัดแต่งจีนเอเอ็นพี๓๒เอแล้ว นักวิจัยได้ทดลองให้เชื้อไวรัสสับไทป์เอช ๙ เอ็น ๒-ยูดีแอล (H9N2-UDL strain) พบว่า ไก่ ๙ ใน ๑๐ ตัวไม่ติดเชื้อ และไม่มีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังไก่ตัวอื่น นักวิจัยจึงเพิ่มขนาดเชื้อไวรัส พบว่า ครึ่งหนึ่งของไก่ทดลอง ๑๐ ตัวติดเชื้อ

               อย่างไรก็ตาม ไก่กลุ่มทดลองยังสามารถป้องกันโรคได้บ้าง โดยปริมาณของเชื้อไวรัสในไก่ที่ตัดแต่งจีนและให้เชื้อพิษทับมีระดับของเชื้อไวรัสที่ต่ำกว่าอย่างมากเปรียบเทียบกับไก่กลุ่มควบคุม และยังช่วยจำกัดการแพร่กระจายต่อไปยังไก่กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ตัดแต่งจีนอีก ๔ ตัวที่เลี้ยงในตู้บ่มเดียวกันไว้ จึงไม่มีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากไก่ที่ตัดแต่งจีน

               นักวิจัยยังพบว่าในไก่ที่ตัดแต่งจีนเอเอ็นพี๓๒เอ เชื้อไวรัสยังสามารถปรับตัวให้ใช้โปรตีนอีก ๒ ชนิด ได้แก่ เอเอ็นพี๓๒บี และเอเอ็นพี๓๒อี เพื่อเพิ่มจำนวนตัวเองได้ ภายหลังการทดสอบในห้องปฏิบัติการต่อไป นักวิจัย พบว่า เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์ให้ใช้เอเอ็นพี๓๒ จากร่างกายมนุษย์ได้ แต่การเพิ่มจำนวนยังต่ำในเซลล์เพาะเลี้ยงจากทางเดินหายใจมนุษย์

ยังไม่สำเร็จทั้งหมด

               งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเนเจอร์ คอมมิวนิเคชัน แสดงให้เห็นว่าจีนเอเอ็นพี๓๒เอ ตัวเดียวไม่เพียงพอ การป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสหลุดรอดออกไปได้ คณะผู้วิจัยต้องพุ่งเป้าไปที่ดีเอ็นเอที่ใช้สำหรับการผลิตโปรตีนทั้งสามชนิด ได้แก่ เอเอ็นพี๓๒เอ เอเอ็นพี๓๒บี และเอเอ็นพี๓๒อี ภายในเซลล์ไก่ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ซึ่งพบว่าสามารถยับยั้งได้ด้วยการแก้ไขจีนทั้งสามชนิด

               ศาสตราจารย์เวนดี้ บาร์เคลย์ จากสถาบันโรสลิน อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ตื่นเต้นกับความการประสานความร่วมมือผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาที่มีศักยภาพด้านพันธุศาสตร์ชั้นนำของโลกที่สถาบันโรสลิน แม้ว่า อาจจะยังไม่สามารถสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ แต่ผลการวิจัยครั้งนี้ก็บ่งบอกมากมายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ภายในเซลล์ที่ติดเชื้อ และวิธีการชะลอการเพิ่มจำนวนของไวรัส

               ศาสตราจารย์ ไมค์ แมคกรู จากสถาบันโรสลิน เห็นว่า การให้วัคซีนป้องกันโรคมีข้อเสียหลายอย่างทั้งภาระการให้วัคซีน และค่าใช้จ่าย การตัดแต่งจีนอาจจะเป็นความหวังใหม่ให้สัตว์มีความต้านทานต่อโรคอย่างถาวร ที่สามารถผ่านไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานให้ป้องกันโรคได้อีกด้วย เป็นการลดความเสี่ยงต่อมนุษย์ และนกป่า ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง การหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ อาจจะต้องไปปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหลายอย่างพร้อมกัน ขั้นตอนถัดไปจะต้องพยายามพัฒนาไก่ด้วยการตัดแต่งจีนทั้ง ๓ จีน

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2023. Scientists claim gene editing breakthrough in bird flu fight. [Internet]. [Cited 2023 Oct 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/scientists-claim-gene-editing-breakthrough-in-bird-flu-fight/

ภาพที่ ๑ นักวิจัยอ้างตัดแต่งจีนกันหวัดนกสำเร็จแล้ว (แหล่งภาพ Canva)



1 ความคิดเห็น:

  1. autoplay 168 เว็บไซต์พนันออนไลน์ของพวกเรานั้นเป็นเว็บไซต์ที่สุดในประเทศไทย สามารถเข้าถึงได้ตลอด1วันทุกคนสามารถหารายได้อย่างเสถียรและไม่สะดุด pg slot สบายและก็มั่นอกมั่นใจ

    ตอบลบ

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...