วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ฟักลูกไก่ที่ฟาร์มช่วยลดการใช้ยา

 ผลการศึกษาจากฟาร์มไก่เนื้อ ๒,๔๗๑ ฟาร์ม พบว่า ฝูงไก่เนื้อที่ฟักในฟาร์ม (on-farm hatched flocks) ช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ ๔๘ เปรียบเทียบกับฝูงไก่เนื้อปรกติ นอกจากนั้น ยังลดการรักษาได้ร้อยละ ๔๔ ฝูงไก่เนื้อที่ฟักที่โรงฟักมีโอกาสใช้ยาต้านจุลชีพมากกว่าฝูงไก่เนื้อที่ฟักในฟาร์มถึง ๕.๖ เท่า   

เทคนิคการฟักลูกไก่ในฟาร์มได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้นในยุโรป เพื่อลดปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ เช่น ลดการใช้ยาต้านจุลชีพที่เป็นปัญหาทั่วโลก ต้องหานวัตกรรมแบบต่างๆเพื่อจัดการ

ระบบการฟักปรกติ ความหนาแน่นลูกไก่แรกเกิดในตู้ฟักสูงมากจนกระทั่งออกจากไข่ทั้งหมดตาม แฮทชิ่ง วินโดว์ (hatching window)” ไม่เกิน ๒๔ ถึง ๓๖ ชั่วโมง ตลอดช่วงเวลานี้ ลูกไก่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารและน้ำได้ ทำให้บางตัวต้องอดอาหารและน้ำนานถึง ๔๘ ชั่วโมง

ระบบการฟักในฟาร์ม ไข่ฟักจะถูกขนส่งไปที่ฟาร์มไก่เนื้อตั้งแต่อายุการฟัก ๑๘ วัน ลูกไก่สามารถเข้าถึงอาหารและน้ำได้ทันทีภายหลังออกจากไข่ ไม่ต้องทนเครียดจากกระบวนการภายหลังการฟัก เช่น การเกรดลูกไก่ นับจำนวน บรรจุใส่กล่อง และขนส่ง สิ่งแวดล้อมที่สะอาดก็เป็นประเด็นที่สำคัญเช่นกัน

สำนักความปลอดภัยอาหารยุโรป หรือเอฟซา อ้างว่า การขนส่งไข่มีเชื้อสำหรับฟักที่ฟาร์มเป็นหนทางเดียวที่จะลดปัญหาด้านสวัสดิภาพสัตว์ระหว่างการขนส่ง และที่ฟาร์มไก่เนื้อ และย้ำว่า แนวทางปฏิบัติด้านสวัสดิภาพสัตว์ เอฟซาเน้นย้ำว่า หลักปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีเป็นการช่วยให้ลูกไก่ และไก่เนื้อสุขภาพดีขึ้น

การศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเยียมจากฟาร์มไก่เชิงพาณิชย์ในเบลเยียม ๒,๔๗๑ แห่ง เพื่อตรวจประเมินผลกระทบของวิธีการฟัก โดยในการเก็บข้อมูลจากฟาร์มจำนวนมาก และเปรียบเทียบการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มที่ลูกไก่ฟักโดยใช้ระบบการฟักปรกติกับการฟักในฟาร์ม

การเก็บข้อมูล

               ข้อมูลการใช้ยาต้านจุลชีพจากฟาร์มไก่เนื้อเบลเยียม ๒๑๑ แห่ง ประกอบด้วย อุบัติการณ์การรักษา (TI) ที่ใช้สำหรับตรวจเชิงปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพแบบมาตรฐาน จากฟาร์ม ๒๑๑ แห่ง มี ๒๐๔ ฟาร์ม (๔๑๕ โรงเรือน) ที่ใช้การฟักปรกติ ขณะที่ ๒๘ ฟาร์ม (๕๔ โรงเรือน) ใช้การฟักที่ฟาร์ม จากจำนวน ๒๐๔ ฟาร์มที่ใช้การฟักเป็นปรกติตั้งแต่เริ่มต้นการเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๓ พบว่า ๒๑ ฟาร์ฒ เคลื่อนย้ายไปฟักที่ฟาร์มระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ การใช้ยาต้านจุลชีพจาก ฝูงไก่ที่ฟักแบบปรกติจำนวน ๒,๒๔๔ ฝูง และฝูงไก่ที่ฟักที่ฟาร์มจำนวน ๒๒๗ ฝูง ขนาดฝูงราว ๓๐,๓๐๐ ตัว     

               ฟาร์มทั้งหมดมีการผลิตไก่เนื้อปรกติโดยใช้สายพันธุ์ไก่โตช้า ทุกฝูงมีการจับไก่ระหว่างการเลี้ยงหนึ่งครั้งร้อยละ ๒๕ ของจำนวนไก่ทั้งหมดที่น้ำหนักราว ๒ กิโลกรัม และที่เหลือร้อยละ ๗๕ จับที่อายุ ๔๐ ถึง ๔๒ วัน น้ำหนักสุดท้ายราว ๒.๗ กิโลกรัม การให้วัคซีนไม่แตกต่างกัน ข้อมูลไก่เนื้อทั้งหมดรวมอยู่ในชุดข้อมูลที่มาจากโรงฟักในเบลเยียม ๒ แห่งทั้งสองโรงฟักอยู่ในอินติเกรตเดียวกัน มีสุขภาพและการจัดการเดียวกันจากไก่พันธุ์เนื้อเดียวกัน

ผลการทดลอง

               การให้ยาต้านจุลชีพใน ๒,๐๙๑ ฝูง คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๖๒ ของฝูงการผลิตทั้งหมด ๒,๔๗๑ ฝูงในชุดข้อมูล ที่เหลือ ๓๘๐ ฝูงไม่ใช้ยาต้านจุลชีพระหว่างการผลิต

               ในจำนวนฝูงที่ให้ยาต้านจุลชีพ ๒,๐๙๑ ฝูง ประกอบด้วยการฟักปรกติ ๑,๙๗๓ ฝูง และการฟักที่ฟาร์ม ๑๑๘ ฝูง เหลือเพียงร้อยละ ๑๒.๐๗ ที่ไม่ได้ให้ยาจากลูกไก่ที่ฟักปรกติ (๒๗๑ ฝูง) และร้อยละ ๔๘.๐๑ ที่ไม่ให้ยาจากลูกไก่ที่ฟักในฟาร์ม (๑๐๙ ฝูง)

               ฟาร์มที่ใช้ระบบการฟักปรกติมีโอกาสสูงที่จะใช้ยาต้านจุลชีพมากกว่าฟาร์มที่ใช้ระบบการฟักที่ฟาร์มถึง ๕.๖ เท่า ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ และช่วงความเชื่อมั่นระหว่าง ๓.๖ ถึง ๘.๘ เมื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การรักษาทั้งหมด ๒,๔๗๑ ฝูงภายหลังรอบการผลิต โดยไม่คำนึงว่าให้ยาต้านจุลชีพหรือไม่ เปรียบเทียบโดยอาศัยระบบการฟัก พบว่า การฟักที่ฟาร์มมีอุบัติการณ์การรักษาที่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๔ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่นน้อยกว่า ๐.๐๑ เปรียบเทียบกับการฟักปรกติ ฟาร์มไก่พันธุ์ และขนาดฝูงก็มีบทบาทเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ     

               เมื่อเปรียบเทียบในฝูงที่ให้การรักษา ฟาร์มที่ฟักในฟาร์มจะมีค่ากลางเอเอ็มยู หรือการใช้ยาต้านจุลชีพที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบกับฝูงที่ฟักปรกติ การรักษาในลูกไก่ที่ฟักปรกติ พบว่า ร้อยละ ๗๕ ของอุบัติการณ์รักษาทั้งหมดเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกเปรียบเทียบกับร้อยละ ๕๑ ในฟาร์มที่ฟักลูกไก่ในฟาร์ม นอกเหนือจากนั้น ลูกไก่ที่ฟักปรกติร้อยละ ๓๗ ของการให้ยาต้านจุลชีพเกิดขึ้นในช่วงสองวันแรกของการผลิตคิดเป็นสองเท่าเทียบกับลูกไก่ที่ฟาร์มในฟาร์มร้อยละ ๑๖ เท่านั้น  

               เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของฝูงที่ได้รับการวินิจฉัยเพื่อการใช้ยาต้านจุลชีพต่อสัปดาห์ พบว่า การใช้ยาต้านจุลชีพปรากฏเป็นร้อยละ ๙๔.๖๒ ของสัปดาห์ในฝูงที่ลูกไก่ฟักแบบปรกติ ขณะที่ การใช้ยาต้านจุลชีพเป็นร้อยละ ๖๙.๖๔ ของสัปดาห์ในฝูงที่ลูกไก่ฟักในฟาร์ม ทั้งสองระบบเห็นการเพิ่มขึ้นในการใช้ยาต้านจุลชีพในช่วงสัปดาห์ที่ ๔ โดยเป็นฟาร์มที่ให้การรักษาร้อยละ ๑๙ และไม่ให้การรักษาร้อยละ ๑๖ ตามลำดับ  

               ในทั้งสองระบบการผลิต และการฟักที่ฟาร์ม ยาลินโคสเปคติน และเตตราซัยคลิน นิยมใช้มากที่สุด โดยลินโคสเปคตินใช้สูงเป็นสามเท่าในฝูงไก่ที่ฟักปรกติเปรียบเทียบกับฝูงไก่ที่ฟักที่ฟาร์ม บ่งชี้ว่า การฟักที่ฟาร์มช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพในไก่เนื้อ และจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตไก่เนื้ออย่างยั่งยืน และตามหลักจริยธรรมสัตว์

เอกสารอ้างอิง

Maertens L. 2024. On-farm hatching leads to significantly lower antimicrobial use. [Internet]. [Cited 2024 Feb 5]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/on-farm-hatching-leads-to-significantly-less-use-of-antimicrobials/

ภาพที่ ๑ การใช้ยาต้านจุลชีพในฝูงไก่ที่ฟักในฟาร์มต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนฝูงที่ไม่ใช้ยาต้านจุลชีพมากกว่าด้วย (แหล่งภาพ Maertens, 2024)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...