ไก่เนื้อมักถูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่จำกัดอยู่บนวัสดุรองพื้นภายในโรงเรือนเท่านั้น มหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน ทดลองใช้ระบบเพนเอนริชเมนต์ แล้วเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย แม้ว่า เอนริชเมนต์ช่วยกระตุ้นการทำกิจกรรมของสัตว์ แต่ก็ทำให้การเจริญเติบโตลดลง และการแลกเปลี่ยนอาหารแย่ลงด้วย
ผู้ผลิตสัตว์ปีกไม่ค่อยนิยมใช้เอนริชเมนต์
โดยเฉพาะ การเลี้ยงไก่เนื้อปรกติ แม้ว่า จะส่งผลเชิงบวกต่อสวัสดิภาพสัตว์
และสุขภาพขา การเตรียมเอนริชเมนต์ภายในโรงเรือน เช่น การจัดคอน หรือก้อนฟาง
เพิ่มระยะทางไลน์อาหารและน้ำ และยกพื้นขึ้นมา
ช่วยกระตุ้นให้ไก่เนื้อมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นแทนที่จะเอาแต่นอนอย่างเดียว
การเพิ่มกิจกรรมช่วยให้เกิดผลเชิงบวกต่อสุขภาพขาไก่เนื้อ
ทั้งรอยโรคฝ่าเท้าอักเสบ ผิวหนังอักเสบบริเวณเข่า ขาพิการ
ผลของการให้เอนริชเมนต์ต่อการกระตุ้นให้ไก่ผ่อนคลายยังให้ผลที่แปรปรวน
อาจสัมพันธ์กับหลายปัจจัยตั้งแต่พันธุ์ อัตราการเจริญเติบโต
และปริมาณของเอนริชเมนต์
สุขภาพขาไก่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
อัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นก็เสี่ยงต่อความผิดปรกติของขาไก่ ดังนั้น
เป็นไปได้ที่การจัดให้มีเอนริชเมนต์จะช่วยลดปัญหาความผิดปรกติขาได้อย่างมากในการเลี้ยงไก่เนื้อปรกติมากกว่าไก่เนื้อโตช้า
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน
ทดลองศึกษาผลของการใช้เอนริชเมนต์ต่อการเจริญเติบโต
และสุขภาพขาไก่ในระบบการเลี้ยงไก่เนื้อปรกติ และโตช้า
การทดลอง
คณะผู้วิจัยแบ่งไก่ทดลองเป็นรอส
๓๐๘ จำนวน ๔๒๐ ตัว และฮับบาร์ด เจเอ ๗๕๗ จำนวน ๔๒๐ ตัว ลงในกรง จำนวน ๒๘ ชุดขนาด ๓
ตารางเมตร แต่ละกรงก็จะมีไก่เพศผู้พันธุ์รอส ๓๐ ตัว หรือฮับบาร์ด ๓๐ ตัว
ทั้งสองสายพันธุ์ครึ่งหนึ่งก็จะให้เอนริชเมนต์
ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งก็จัดคอนที่ปรับไม่ได้เท่านั้น
โดยกรงที่จัดเตรียมเอนริชเมนต์ไว้มี ๕ ชนิด ได้แก่
· เพิ่มระยะห่างระหว่างรางอาหารและนิปเปิ้ลให้น้ำ
๓ เมตรแทนที่จะเป็น ๑ เมตร
· จัดเตรียมพื้นให้อยู่ในแนวลาดเอียงทั้งสองข้ามตามแนวยาวของกรง
· จัดเตรียมก้อนฟางไว้บริเวณกึ่งกลางกรง
· จัดเตรียมคอนที่ปรับได้ไว้ทั้งสองข้างของบริเวณที่มีก้อนฟาง
· ให้หนอนแมลงวันที่มีชีวิตทุกวันบริเวณที่มีกองฟาง
ลูกไก่พันธุ์รอสถูกเลี้ยงไว้จนอายุ
๓๘ วัน และฮับบาร์ดจนกระทั่งวันที่ ๔๙ อุณหภูมิ ๓๔ องศาเซลเซียสตอนกกลูกไก่
แล้วลดลงจนเป็น ๑๘ องศาเซลเซียสตั้งแต่อายุ ๒๕ วันไปจนตลอดการเลี้ยง
ในวันที่ลงลูกไก่จัดให้มีแสงสว่างตลอด ๒๔ ชั่วโมง ติดตามด้วย ๒๐ ชั่วโมงในอีก ๖
วันถัดมา แล้วปรับเป็น ๑๘ ชั่วโมงต่อวัน
ลูกไก่ให้วัคซีนหลอดลมอักเสบติดต่อในวันลงลูกไก่ และนิวคาสเซิลในวันที่ ๑๑
ให้อาหารเต็มที่แบ่งเป็น ๓ ระยะ
ขณะที่
ลูกไก่ในกรงที่เอนริชเมนต์ได้รับหนอนแมลงวันทหาร
ลูกไก่ในกรงที่ไม่ได้ให้เอนริชเมนต์ ชดเชยด้วยการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน
โดยผสมลงในอาหารปรกติในเวลาเดียวกับการเติมหนอนแมลงวันในกรงที่เอนริชเมนต์
การประเมินผลทดลอง
คณะผู้วิจัยชั่งน้ำหนักลูกไก่รายตัว
ตั้งแต่วันลงไก่และชั่งเป็นประจำทุกวัน เก็บข้อมูลการกินอาหาร แล้วคำนวณเป็นเอฟซีอาร์ในช่วง
๐ ถึง ๑๔ วัน ๑๔ ถึง ๓๕ วัน ๓๕ ถึง ๔๙ วัน และตลอดการเลี้ยง ในวันที่ ๘ ๒๒ ๒๙ และ
๔๓ ให้คะแนนพฤติกรรมของลูกไก่ และสังเกตการใช้เอนริชเมนต์ ในวันที่ ๒๗
นักวิจัยประเมินคะแนนท่าเดินลูกไก่รอส ๔ ตัวต่อกรง
เช่นเดียวกับลูกไก่ฮับบาร์ดในวันที่ ๓๕ โดยเฉลี่ยแล้ว
ลูกไก่จากทั้งสองฟาร์มมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน
ในวันที่ ๓๘ (รอส) และ ๔๙ (ฮับบาร์ด) ลูกไก่ ๒
ตัวต่อกรงที่มีน้ำหนักเดียวกัน ฆ่าอย่างมีมนุษยธรรม
แล้วประเมินความผิดปรกติของขาข้างซ้าย เช่น วารัส-วากัส
เนื้อตายของกระดูกอ่อนจากเชื้อแบคทีเรีย (คอนโดรเนโครซิส) และไขสันหลังและกระดูกสันหลังอักเสบ
ความผิดปรกติและความเสียหายของโกรธเพลต รวมถึง รอยโรคที่ฝ่าเท้า
โดยนำกระดูกแข้งขวาออกแล้วประเมินความยาว ความหนา ปริมาตร
ปริมาณและความเข้มข้นแร่ธาตุ หักกระดูกแล้วประเมินแรงที่ใช้
ยิ่งปริมาณแร่ธาตุสูงเท่าไร และแรงที่ใช้มากเท่าไรในการหักกระดูกก็บ่งชี้ถึง
การพัฒนาของกระดูกที่ดี และสามารถค้ำจุนน้ำหนักลูกไก่ได้ดี
ผลการทดลอง
ตั้งแต่วันที่
๒๑ เป็นต้นไป
ลูกไก่ในกรงที่ให้เอนริชเมนต์มีน้ำหนักต่ำกว่าลูกไก่ที่ไม่ให้เอนริชเมนต์ ในวันที่
๓๕ น้ำหนักเฉลี่ย ระหว่างรอสและฮับบาร์ดแตกต่างกัน ๙๙ กรัม ขณะที่
ไก่ฮับบาร์ดในวันที่ ๔๙ ความแตกต่างกันเป็น ๙๓ กรัม
การกินอาหารไม่แตกต่างกันระหว่างกรงที่ให้เอนริชเมนต์หรือไม่ให้ก็ตาม หมายความว่า
ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารระหว่างวันที่ ๑ ถึง ๓๕ วันในกลุ่มที่ให้เอนริชเมนต์สูงขึ้น
๕ จุด (เปรียบเทียบรอสและฮับบาร์ด) และ ๖ จุด ระหว่างช่วง ๐ ถึง ๔๙ วัน
สำหรับลูกไก่ฮับบาร์ดเท่านั้น เหตุผลที่กรงที่ให้เอนริชเมนต์มีการเติบโตที่ต่ำกว่า
และเอฟซีอาร์สูงกว่าอาจเกิดจากความซับซ้อนของเอนริชเมนต์ เนื่องจาก ใส่ไปมากเกินไป
เหตุผลอีกประการอาจเกี่ยวข้องกับการยกคอนสูงเกินไป
ซึ่งลูกไก่ต้องข้ามไปกินอาหารและน้ำ กลายเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่
หรือมีจำนวนไก่จำนวนมากนั่งขวางทางผ่านข้ามไปมา
ทั้งไก่พันธุ์รอสและฮับบาร์ดในกรงที่ให้เอนริชเมนต์มีพฤติกรรมเล่นกองฟาง
และความก้าวร้าวน้อยลงเปรียบเทียบกับกรงที่ไม่ให้เอนริชเมนต์ นอกจากนั้น
ทั้งสองพันธุ์ในกรงเอนริชเมนต์ใช้เอนริชเมนต์จำนวนเท่ากัน
โดยลูกไก่รอสใช้เวลาบนพื้นมากกว่า
และลูกไก่ฮับบาร์ดใช้เวลามากขึ้นทั้งบนพื้นและคอนเกาะ หมายความว่า
การใช้เอนริชเมนต์เกิดประโยชน์ทั้งในลูกไก่ปรกติ และลูกไก่โตช้า
ปัญหาขาพบน้อยมากทั้งสองสายพันธุ์
และเปอร์เซ็นต์ไก่ที่เกิดปัญหาขาไม่แตกต่างกันระหว่างกรงที่ให้เอนริชเมนต์
และไม่ให้เอนริชเมนต์ หรือระหว่างทั้งสองสายพันธุ์ นักวิจัยพบว่า
กระดูกแข้งแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น
แต่ลูกไก่ในกรงที่ให้เอนริชเมนต์จะมีปริมาตรกระดูกแข้งมากกว่า ไม่พบความแตกต่างของน้ำหนัก ความหนาแน่นแร่ธาตุ
หรือความแข็งของกระดูกต้นขาระหว่างกรงที่ให้และไม่ให้เอนริชเมนต์ อย่างไรก็ตาม
น้ำหนักไก่เข้าเชือด
กระดูกต้นขาของลูกไก่ฮับบาร์ดมีการพัฒนามากกว่าลูกไก่รอสสำหรับเกือบทุกคุณลักษณะของกระดูกแข้ง
การใช้เอนริชเมนต์ในรูปแบบต่างๆทั้งไก่เนื้อปรกติ
และโตช้า เป็นไปตามความต้องการของลูกไก่ การให้เอนริชเมนต์ช่วยกระตุ้นทั้งสองพันธุ์
แต่ส่งผลให้โตช้าลง และเอฟซีอาร์แย่ลงไป คุณภาพกระดูกดีขึ้นในไก่โตช้าเปรียบเทียบกับไก่ปรกติ
แต่ไม่พบปัญหาขาพิการทั้งไก่เนื้อปรกติและโตช้า
เอกสารอ้างอิง
van den
Brand H. 2024. Pros and cons of pen
enrichment for broilers. [Internet]. [Cited 2024 Feb 14]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/pros-and-cons-of-pen-enrichment-for-broilers/
ภาพที่
๑
การใช้เอนริชเมนต์แบบต่างๆทั้งการเสริมพื้นยกระดับขึ้นมา การสร้างทางลาดให้ไก่เดิน
(แหล่งภาพ Jan
Willem Schouten, 2024)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น