มหาวิทยาลัยเทลอาวิว
ร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยุคใหม่ ประเทศอิสราเอล
เปิดเผยผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอกไก่ในหลอดทดลอง
เมื่อสองปีที่แล้ว มหาวิทยาลัย Maastricht
ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเนื้อวัวในจานเลี้ยงเซลล์
และผลิตเป็นแฮมเบอร์เกอร์เนื้อให้อาสาสมัครลองชิมเป็นการจุดประกายความหวังในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตอาหารในอนาคต
เนื้อวัว ๑ ชิ้นน้ำหนัก ๑๔๐ กรัม ยังมีต้นทุนการผลิตเนื้อบนจานเลี้ยงเซลล์ที่สูงถึง
๘๗๕,๐๐ บาทโดยใช้ชิ้นส่วนเนื้อจากแม่วัวที่มีชีวิต ดังนั้น อิสราเอล
จึงคิดผลิตเนื้อชนิดอื่นบ้าง การศึกษาครั้งนี้ จะเป็นการแสวงหาวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อในจานเลี้ยงเซลล์จากสเต็มเซลล์ของสัตว์
และความเป็นไปได้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ต้นทุนของเทคโนโลยี และปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ศาสตราจารย์ Amit Gefen ภาควิชาวิศวกรรมด้านชีวการแพทย์
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมของเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยการผลิตเนื้อสัตว์ในจานเลี้ยงเซลล์
การผลิตเนื้อในจานเลี้ยงเซลล์อาศัยสเต็มเซลล์เพาะเลี้ยงในอาหารเซลล์ที่ประกอบด้วย
ส่วนประกอบของ Fetal bovine serum ที่สกัดจากมดลูกของแม่โค และอุดมไปด้วยสารให้พลังงาน
กรดอะมิโน เกลืออนินทรีย์ ที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการเมตาโบลิซึมภายในเซลล์
ตลอดจนการเจริญเติบโตของเซลล์ เซลล์จะมีการแบ่งเพิ่มจำนวน เจริญเติบโต
จนได้ชิ้นเนื้อสัตว์ออกมา การวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ประชากรมนุษย์ที่กำลังทวีเพิ่มขึ้นในอนาคต
มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหากระบวนการผลิตอาหารที่มีความยั่งยืนขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
การผลิตเนื้อสัตว์บนจานเลี้ยงเซลล์เป็นทางออกที่ดีช่องทางหนึ่ง
ผู้วิจัยมีเป้าหมายสำคัญคือ การพัฒนาเนื้ออกไก่โดยอาศัยความรู้ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อสัตว์
เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และหาช่องว่างทางด้านองค์ความรู้
และสิ่งทางท้ายในการผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ให้ได้ โครงการวิจัยครั้งนี้คาดว่า
จะใช้เวลาศึกษาเป็นเวลาหนึ่งปี
แหล่งที่มา: World Poultry (1/4/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น