วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

การจัดการระบบระบายอากาศในฤดูร้อน

มูลนิธิสัตว์ปีกแห่งสหรัฐฯ ประกาศทุนวิจัยที่มหาวิทยาลัยจอร์เจียในเมืองเอเธนส์ รัฐจอร์เจีย โดยการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความร้อนในโรงเรือนที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (Tunnel ventilated broiler houses)
               โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการวิจัยที่ครอบคลุมตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกทั้งเนื้อ และไข่ ตลอดจนกระบวนการแปรรูปเนื้อสัตว์
               การประเมินการปลดปล่อยความร้อนจากโรงเรือนแบบอุโมงค์ลม วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เป็นการประเมินประสิทธิภาพในการกำจัดความร้อนออกจากโรงเรือนภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อแบบอุโมงค์ลม โดยจำลองโรงเรือนเลี้ยงไก่เป็นเสมือนแคลอริมิเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีไก่เป็นตัวสร้างความร้อนออกมา แล้วควบคุมโดยใช้อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการระบายอากาศ ผลรวมความร้อนที่สร้างขึ้นมา และรู้สึกได้ ตรวจวัดจากโรงเรือนเลี้ยงไก่หลายๆโรงเรือนที่อายุจับ
การลดความเครียดจากความร้อนในฤดูร้อน
               การสูญเสียความร้อนที่รู้สึกได้ ส่งผลต่ออุณหภูมิในโรงเรือนที่สูงขึ้นเกิดขึ้นจากการปลดปล่อยความร้อนจากตัวไก่ไปยังอากาศรอบตัว ส่วนความร้อนแฝง (Latent heat) เป็นการสูญเสียความร้อนจากตัวไก่ผ่านการระเหยของความชื้นผ่านระบบทางเดินหายใจส่งผลต่อความชื้นภายในโรงเรือนที่สูงขึ้น ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวโน้มของการสร้าง และสูญเสียความร้อนจากตัวไก่ ความรู้ดังกล่าว นักจัดการจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในช่วงฤดูร้อนต่อไปได้
1.         ในช่วงฤดูร้อน ความร้อนจากตัวไก่เป็นสัดส่วน 97 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตความร้อนในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ดังนั้น การเพิ่มฉนวนความร้อนภายในโรงเรือนจึงมีประโยชน์ไม่มาก
2.         การผลิตความร้อนรวมต่อไก่ 1 ตัว เพิ่มขึ้นแปรผันตรงต่อความเร็วลม สำหรับความเร็วลมระหว่าง 350-525 ฟุตต่อนาที คิดอย่างง่ายก็คือ การสร้างความร้อนเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์จากผลร่วมกันของน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น และการกำจัดความร้อนที่เพิ่มขึ้นตามความเร็วลม  
3.         การสร้างความร้อนทั้งหมดโดยเฉลี่ยแบ่งได้เป็น ความร้อนที่รู้สึกได้ 40 เปอร์เซ็นต์ และความร้อนแฝง 60 เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ว่า แม้จะมีความเร็วลมระหว่าง 350-525 ฟุตต่อนาทีแล้ว ไก่ที่อายุจับก็ยังสูญเสียความร้อนที่สร้างขึ้นผ่านการระเหยเอาความชื้นออกจากระบบทางเดินหายใจ สิ่งที่สำคัญคือ อัตราส่วนของการสร้างความร้อน 40 ต่อ 60 เป็นปรกติสำหรับไก่ และไม่จำเป็นว่าไก่จะกำลังหอบหรือไม่ก็ตาม
4.         ที่ความเร็วลมสูง 450-550 ฟุตต่อนาที การสร้าง และการปล่อยความร้อนแฝงจะลดลงอย่างรวดเร็วระหว่าง 75-85 องศาฟาเรนไฮต์ ขณะที่ ความชื้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ผู้ผลิตต้องระมัดระวังไม่ให้ใช้การทำความเย็นด้วยความชื้นมากเกินไป แม้ว่า จะส่งผลให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงก็ตาม เนื่องจาก อาจส่งผลกระทบต่อการปล่อยความร้อนจากตัวไก่ได้
5.         สัดส่วนระหว่างความร้อนที่รู้สึกได้ และความร้อนแฝง อาจแปรผันไปตามขนาดตัวไก่ อุณฆภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม
6.         สำหรับไก่ที่มีน้ำหนัก 4 ปอนด์ และความเร็วลมเป็น 600 ฟุตต่อนาที อัตราส่วนระหว่างความร้อนแฝง และรู้สึกได้ที่ถูกสร้างขึ้นมาใกล้กับ 50 ต่อ 50 มากกว่า 40 ต่อ 60 (อุณหภูมิอากาศระหว่าง 75 ถึง 85 องศาฟาเรนไฮต์ สัดส่วนของความร้อนที่รู้สึกได้ และความร้อนแฝง บ่งชี้ว่า ผลร่วมกันของความเร็วลมที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย 600 และ 500 ฟุตต่อนาที และไก่ที่ตัวเล็ก อาจส่งผลทำให้ไก่รู้สึกหนาว เนื่องจาก อัตราส่วน 50 ต่อ 50 จะไม่มีโอกาสพบในโรงเรือนที่เลี้ยงไก่ตัวใหญ่ ดังนั้น ไก่ตัวใหญ่ (มากกว่า 6 ปอนด์) จะได้รับผลดีจากความเร็วลมที่สูง (สูงกว่า 525 ฟุตต่อนาที) มากกว่าไก่ตัวเล็ก
7.         อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 75 องศาฟาเรนไฮต์ร่วมกับความเร็วลม 600 ฟุตต่อนาทีส่งผลต่อการสร้างความร้อนจากไก่ที่ตัวเล็ก (4 ปอนด์) จนผลผลิตลดลงได้
8.          การสร้างความร้อนโดยรวมของไก่แปรผันไปตามช่วงกลางวันกลางคืน ความแปรปรวนของกลางวันกลางคืนได้รับอิทธิผลมาจากโปรแกรมการให้แสง และการทำงานของพัดลม
9.          ช่วงเวลากลางวันที่สั้นลงส่งผลให้การสร้างความร้อนในเวลากลางคืนน้อยลง และการสร้างความร้อนในช่วงกลางวันที่เพิ่มขึ้นสามารถส่งผลต่อความเครียดจากอากาศร้อนในไก่ได้
10.    การเพิ่มการระบายอากาศในช่วงกลางคืน ส่งผลต่อการสร้างความร้อนในช่วงกลางคืนเพิ่มขึ้น และการสร้างความร้อนในช่วงกลางวันลดลง เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอธิบายว่า ทำไมการศึกษาอื่นๆก่อนหน้านี้จึงพบว่า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นระหว่างอากาศร้อนเป็นผลมาจากการใช้ความเร็วลมที่สูงระหว่างเวลากลางคืน

แหล่งที่มา:          World Poultry (27/4/15)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...