ซัลโมเนลลาระบาดใน ๔๐
รัฐในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วย ๑๘๑ ราย ทุกรายมีความสัมพันธ์กับการสัมผัสลูกไก่
และลูกเป็ดมีชีวิตที่ซื้อมาจากร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ และโรงฟัก
ตามรายงานของกรมควบคุมโรค
ผู้ติดเชื้อ
๓๓ รายต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยรัฐอลาบามามีผู้ป่วยมากที่สุด ๑๗
ราย ขณะที่ รัฐอื่นๆมีน้อยกว่า ๑๐ ราย การป่วยเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคมถึง
๑๓ มิถุนายนที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคยังรายงานต่อไปว่า ในผู้ติดเชื้อ ๑๘๑ รายนี้
แบ่งการระบาดออกเป็น ๔ กลุ่มจากซีโรไทป์ของเชื้อซัลโมเนลลา ได้แก่ เอนเทอไรทิดิส
ฮาดาร์ อินเดียนา และมึนเช่น
ในจำนวนผู้ติดเชื้อเหล่านี้ มีการสอบประวัติที่ผ่านมา ๙๕ ราย พบว่า ๘๖
เปอร์เซ็นต์ มีประวัติการสัมผัสกับสัตว์ปีกก่อนแสดงอาการป่วย และ ๖๔
รายมีการซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกจากร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ และโรงฟัก ๑๗
ร้านในรัฐต่างๆ ผู้ป่วยรายงานว่า
ได้ซื้อสัตว์ปีกมีชีวิตสำหรับเลี้ยงไว้หลังบ้าน เพื่อผลิตไข่ หรือเนื้อ
หรือเป็นสัตว์เลี้ยง ผู้ป่วยหลายรายมีประวัตินำสัตว์ปีกมีชีวิตเข้ามาในบ้าน และจูบ
หรือนอนกอดสัตว์ปีกมีชีวิต พฤติกรรมเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซัลโมเนลลา
หากการแยกเชื้อซัลโมเนลลาจากผู้ป่วย ๗
รายที่ติดเชื้อด้วยซัลโมเนลลาที่มีรายงานการระบาด
และไม่มีการดื้อยาปฏิชีวนะก้จะมีการทดสอบในขั้นตอนต่อไป กรมควบคุมโรคได้อาศัยระบบ PulseNet
system เป็นเครือข่ายของห้องปฏิบัติการที่มีการรวบรวมฐานข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อโรคชนิดต่างๆ
เพื่อสอบกลับการระบาดของเชื้อซัลโมเนลลาทั้ง ๔ ครั้งที่ผ่านมา
สรุปข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
๑.
เชื้อซัลโมเนลลา
เอนเทอไรทิดิส มีผู้ป่วย จำนวน ๔๐ รายใน ๑๖ รัฐ เข้าโรงพยาบาล ๓ ราย
ระยะเวลาการป่วย ๖ มกราคมถึง ๑๓ มิถุนายน
๒.
เชื้อซัลโมเนลลา ฮาดาร์ มีผู้ป่วย จำนวน ๖๙
รายใน ๓๐ รัฐ เข้าโรงพยาบาล ๑๙ ราย ระยะเวลาการป่วย ๒๔ กุมภาพันธ์ถึง ๑๑ มิถุนายน
๓.
เชื้อซัลโมเนลลา
อินเดียนา มีผู้ป่วย จำนวน ๕๖ รายใน ๑๖ รัฐ เข้าโรงพยาบาล ๙ ราย ระยะเวลาการป่วย ๒๐
กุมภาพันธ์ถึง ๑๑ มิถุนายน
๔.
เชื้อซัลโมเนลลา
มึนเช่น มีผู้ป่วย จำนวน ๑๖ รายใน ๘ รัฐ เข้าโรงพยาบาล ๒ ราย ระยะเวลาการป่วย ๔ เมษายนถึง
๕ มิถุนายน
ดังนั้น การจำหน่ายสัตว์ปีกมีชีวิตควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพด้วย โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเชื้อซัลโมเนลลาให้กับผู้ซื้อก่อนที่จะขายออกไป
กรมควบคุมโรคยังได้เตือนให้ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้านควรล้างมือให้ทั่วภายหลังการสัมผัสสัตว์
หรือเข้าไปในพื้นที่การเลี้ยง กรมควบคุมโรคยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า
เมื่อปีที่แล้วมีผู้ป่วย ๓๖๓ รายใน ๔๓ รัฐที่ติดเชื้อซัลโมเนลลาจากการซื้อสัตว์ปีกผ่านทางไปรษณีย์จากโรงฟักในโอไฮโอ
แหล่งที่มา: World Poultry (3/7/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น