การพัฒนาปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์ให้มีความต้านทานต่อโรคเป็นวิธีการควบคุมปัญหาโรคในสัตว์ปีกอย่างยั่งยืน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ศูนย์วิทยาศาสตร์ชีวภาพฟื้นฟู วางแผนโครงการวิจัยใช้เวลาสี่ปีเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านพันธุกรรมสัตว์ปีก
คณะผู้วิจัย
ประกอบด้วย สตีเวน สติส และแฟรงกิน เวสต์ ในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตร
และสิ่งแวดล้อม และคลอดิโอ อาฟองโซ
แห่งห้องปฏิบัติการวิจัยสัตว์ปีกภาคพื้นตะวันออกเฉียงใต้แห่ง USDA ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า shRNA (Short hairpin RNA) เป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวที่มีการพับกลับตัวเอง
เพื่อหยุดการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น นิวคาสเซิล เนื่องจาก
โรคนิวคาสเซิลเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วโลก
และมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอันตรายร้ายแรงต่อสัตว์ ปัจจุบัน
โรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง ได้ถูกกำจัดออกจากสหรัฐฯ และคานาดาแล้ว
เหลือเพียงเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดอ่อนแรงที่นำมาใช้เป็นวัคซีน
วิธีการที่ดีกว่าวัคซีนในการป้องกันโรค
คณะผู้วิจัยกำลังพยายามหาเครื่องมือสำหรับสร้างความต้านทานต่อโรคโดยตีพิมพ์ในวารสาร
Journal of the International Alliance for Biological Standardization นับได้ว่าเป็นหนทางที่มีโอกาสมากสำหรับการป้องกันโรคนอกเหนือจากการใช้วัคซีน
เนื่องจาก การสร้างความต้านทางทางพันธุกรรมอย่างถาวรนี้สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้
ในทางตรงกันข้าม วัคซีนส่วนใหญ่สามารถป้องกันโรคได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
และจำเป็นต้องมีการกระตุ้นซ้ำอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้
ผู้วิจัยสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังตำแหน่งยีนส์ที่เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลใช้สำหรับการดำรงชีวิต
การป้องกันเชื้อไวรัสนี้จึงเป็นการควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในร่างกายไก่
และลดระดับของการถ่ายทอดเชื้อไวรัสโดยภาพรวมจากไก่ตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า
อาจไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนนิวคาสเซิลอีกแล้ว และในอนาคต ผู้วิจัยยังเล็งไว้ว่า
จะนำไปใช้สำหรับโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดสุกรต่อไปอีกด้วย ยิ่งมองไปที่ปัญหาการเก็บรักษาวัคซีนในประเทศยากจน
ผู้เลี้ยงสัตว์อาจไม่มีตู้เย็นสำหรับการเก็บวัคซีน
แต่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านสามารถใช้บริโภคเพื่อสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง
ในทางตรงกันข้าม การผลิตไก่ที่มีความต้านทานโรคผลิตใน US อาจเป็นหนทางการไขปัญหาโรคระบาดในประเทศยากจนเหล่านี้
แต่การวิจัยยังต้องใช้เวลาไปอีกหลายปี
แหล่งที่มา: World Poultry (7/7/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น