วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ข่าวดีสำหรับโรงเชือด หลอดแอลอีดีลดค่าไฟดี ฆ่าแบคทีเรียได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร์ศึกษาการใช้หลอด LEDs สีฟ้า (Blue light emitting diodes) มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส เอสเชอริเชีย โคไล โอ ๑๕๗ เอช ๗ และซัลโมเนลลา ไทฟิมูเรียม โดยมีประสิทธิภาพสูงที่สุดระหว่างอุณหภูมิ ๔ ถึง ๑๕ องศาเซลเซียส และมีสภาวะเป็นกรดอ่อนๆราว ๔.๕
               การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำหลอด LEDs สีฟ้าสำหรับใช้ในการถนอมอาหารโดยปราศจากสารเคมี อาหารที่มีความเป็นกรด เช่น ผลไม้สดตัดแต่ง และเนื้อสัตว์พร้อมบริโภคสามารถนำมาผนอมอาหารภายใต้แสงไฟจากหลอด LEDs สีฟ้านี้ได้ ร่วมกับอุณหภูมิสำหรับทำความเย็น โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีที่นิยมกันมากสำหรับการถนอมอาหาร
               ขณะที่หลอด LEDs นิยมใช้กันในปัจจุบันมาก เนื่องจาก เป็นหลอดไฟที่ช่วยประหยัดพลังงาน แต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันดีว่า มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย เซลล์แบคทีเรียประกอบด้วย องค์ประกอบภายในเซลล์ที่มีความสามารถในการดูดซับแสงในช่วงที่มองเห็นได้ที่สเปรคตรัมระหว่าง ๔๐๐ ถึง ๔๓๐ นาโนเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแสงหลอดไฟในช่วงแสงสีฟ้า การสัมผัสแสงสีฟ้าจากหลอด LEDs สามารถหยุดกระบวนการภายในเซลล์แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เซลล์แบคทีเรียตายได้
               ผลการศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียของหลอด LED มักประเมินประสิทธิภาพในตัวอย่างอาหาร หรือโดยใช้ระยะห่างที่ใกล้มากน้อยกว่า ๒ เซนติเมตรระหว่างสารละลายแบคทีเรีย และหลอด LED สภาวะดังกล่าวนี้ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการถนอมอาหาร
               คณะผู้วิจัยนำโดย ผศ. Yuk Hyun-Gyun จากโปรแกรมวิทยาศาสตร์อาหาร และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ NUS เป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของหลอด LED ได้แก่ อุณหภูมิ และระดับ pH ของอาหาร โดยในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เชื้อแบคทีเรียก่อโรค ได้แก่ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส เอสเชอริเชีย โคไล โอ ๑๕๗ เอช ๗ และซัลโมเนลลา ไทฟิมูเรียม ภายใต้หลอดไฟ LEDs สีฟ้า โดยมี pH ที่ระดับต่างๆตั้งแต่กรดไปจนถึงด่าง ผลการวิจัย พบว่า เชื้อแบคทีเรียถูกฆ่าที่ระดับ pH ที่เป็นกรด และด่างมากกว่ากลาง โดยเฉพาะ สภาวะกรดมีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อได้มากกว่าด่างสำหรับเชื้อ  ล. โมโนไซโตจีเนส สำหรับเชื้อ เอสเชอริเชีย โคไล โอ ๑๕๗ เอช ๗ และซัลโมเนลลา ไทฟิมูเรียม ให้ผลกลับกัน สภาวีทีเป็นด่างให้ผลได้ดีที่สุด แม้ว่า สภาวะที่เป็นกรดจะสามารถทำให้เชื้อหมดฤทธิ์ได้เช่นกัน ขั้นถัดไปสำหรับการวิจัยคือ การนำเทคโนโลยีหลอด LED มาใช้กับตัวอย่างอาหารจริง เช่น ผลไม้สดตัดแต่ง อาหารพร้อมรับประทาน หรืออาหารทะเลดิบ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อศึกษาต่อไปว่า หลอด LED ยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้ได้หรือไม่ โดยไม่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า

แหล่งที่มา:          World Poultry (24/7/15)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...