นักศึกษาปริญญาโทจากสหรัฐฯ
วิจัยการแพร่ซัลโมเนลลาในฟาร์ม เพื่อหาวิธีการป้องกัน แม้ว่า
ซัลโมเนลลาจะเป็นที่รู้จักกันมานานแสนนานในฐานะของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ
แต่วิธีการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียภายในฟาร์มสัตว์ปีกยังทราบกันน้อยมาก
Yichao
Yang ภาควิชาวิทยาศาสตร์สัตว์ปีก มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ ทำการการวิจัยครั้งนี้โดยมุ่นเน้นไปที่การต่อภาพที่ชัดเจนของการแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลาเข้าสู่ตัวไก่
เพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลาตั้งแต่ระยะแรก
และสร้างความมั่นใจต่อการผลิตสัตว์ปีก Yang ได้ใช้แบคทีเรียที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม
เพื่อให้สามารถติดตามการแพร่กระจายของเชื้อจากไก่สู่ไก่
และพบสิ่งที่แตกต่างจากผลการวิจัยที่ผ่านมาคือ ไก่สามารถติดเชื้อซัลโมเนลลาหลายสายพันธุ์ได้ในเวลาเดียวกัน
การสอบย้อนกลับเชื้อซัลโมเนลลาทั่วทั้งฟาร์ม
Yang ได้สร้างเชื้อซัลโมเนลลา ๖
ตัวอย่างที่มีการติดฉลากเครื่องหมายทางพันธุกรรมแตกต่างกันโดยการแรนดอมนิวคลีโอไทด์
๖ ชนิดลงในโครโมโซมของ ซัลโมเนลลา เอนเทอไรทิดิส ที่เป็นสายพันธุ์ที่สำคัญสำหรับการก่อโรคอาหารเป็นพิษ
หลังจากนั้น การสอบย้อนกลับการแพร่กระจายเชื้อก็อาศัยนิวคลีโอไทด์ที่ใส่ไว้แต่ละตัวอย่าง
การทดลองแรกให้เชื้อซัลโมเนลลากับลูกไก่ทางปาก
การทดลองที่สองให้เชื้อซัลโมเนลลาขนาดสูงเติมลงไปในน้ำ และการทดลองที่สาม
นำเชื้อซัลโมเนลลาเติมลงในอาหารสัตว์ที่ขนาดต่ำ และสูง
การติดเชื้อผสมหลายชนิด
(Mixed infection) จากการวิจัยพบเชื้อซัลโมเนลลาหลายสายพันธุ์ภายหลังให้เชื้อซัลโมเนลลาขนาดสูงกับลูกไก่
เมื่ออายุ ๑๔ วัน สามารถพบเชื้อซัลโมเนลลาในลูกไก่ได้ทุกสายพันธุ์ นับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มากเหนือความคาดหมายของนักวิจัย
เนื่องจาก ทฤษฏีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลาเรียกว่า
ทฤษฏีการยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อ (Colonization inhibition theory) กล่าวว่า หากมีเชื้อซัลมเนลลาสายพันธุ์หนึ่งติดเชื้อในลูกไก่แล้ว
สายพันธุ์ที่สองจะไม่สามารถติดต่อสู่ลูกไก่ต่อไปได้ แสดงว่า ยังมีกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวข้องด้วย
แหล่งที่มา: Rosie Burgin (20/7/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น