นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Pirbright ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลมากขึ้นสำหรับโรคมาเร็กซ์
นับเป็นการปูเส้นทางไปสู่วัคซีนสัตว์ปีกรุ่นใหม่
การผลิตสัตว์ปีกทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในระยะยี่สิบปีที่ผ่านมา
และอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักรมีมูลค่า ๑.๕๘ แสนล้านบาท
สร้างแรงงานประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน การเติบโต
และความปลอดภัยของอุตสาหกรรมมีสิ่งคุกคามจากโรคมากมาย เช่น โรคมาเร็กซ์
ที่สามารถสร้างความเสียหายได้กว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์
วัคซีนควบคุมโรคปัจจุบัน
โรคมาเร็กซ์ถูกควบคุมได้ด้วยวัคซีน
ในแต่ละปีมีการใช้วัคซีนมากกว่า ๒ หมื่นล้านโด๊สทั่วโลก โดยเฉพาะเชื้อไวรัส Turkey
herpes virus (HVT) นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับการพัฒนาวัคซีนสัตว์ปีกเป็นพาหะนำส่งเชื้อก่อโรคชนิดอื่นในสัตว์ปีก
ปัจจุบัน เทคโนโลยีสำหรับการสร้างวัคซีนรีคอมบิแนนท์โดยใช้เชื้อไวรัส HVT ค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลา อย่างไรก็ตาม กรณีของโรคมาเร็กซ์
วิธีการที่ใช้กันอยู่ยังขัดขวางระดับของการป้องกันโรคได้ เนื่องจาก
สัตว์ปีกสามารถป้องกันโรคมาเร็กซ์ได้เพียงไม่กี่สายพันธุ์
จึงมีความอ่อนไหวต่อการเกิดโรคจากเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงได้
เทคนิคการแก้ไขยีนใหม่
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีได้กระตุ้นให้มีการพัฒนาวิธีการแก้ไขยีนด้วยเทคนิคใหม่เรียกว่า
“CRISPR/Cas9 (Clustered Regularly
Interspaced Palindromic Repeats/ associated Cas9)” ที่ช่วยให้การวิจัยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
และแม่นยำในการกำหนดเป้าหมาย การตัด และการแก้ไขลำดับยีนได้
ดร. Yongxiu Yao นักวิทยาศาสตร์อาวุโสในกลุ่ม Viral Oncogenesis ที่สถาบันได้ใช้เทคโนโลยี
CRISPR/Cas9 เพื่อปรับแต่งทางพันธุกรรมเชื้อไวรัส HVT
แทรกส่วนของเชื้อไวรัสมาเร็กซ์เข้าไป
เพื่อสร้างเป็นวัคซีนพันธุวิศวกรรมใหม่ (Genetic modified vaccine, GM) ที่สมบูรณ์ สามารถป้องกันโรคมาเร็กซ์จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์อันตรายที่สุดได้
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
วัคซีนนวัตกรรมใหม่นี้
จะช่วยให้การผลิตวัคซีนง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้น มีศักยภาพที่จะช่วยลดต้นทุนได้หลายสิบล้านบาทสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร
และโลก นับเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่จะสรรค์สร้างวัคซีนรุ่นใหม่ วัคซีนชนิด HVT
มีการใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ปีกหลายชนิด
และพันธุวิศวกรรมเป็นการปลดข้อจำกัดสำหรับวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ให้มีประสิทธิภาพต่อต้านกับเชื้อไวรัสมาเร็กซ์ทุกสายพันธุ์
รวมถึง เชื้อไวรัสอันตรายในสัตว์ปีก เช่น โรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ด้วย
สถาบันวิจัยกำลังปรึกษากับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนสัตว์ปีกระหว่างชาติเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมเข้าสู่การพาณิชย์
การวิจัยครั้งนี้ร่วมกับ Wellcome Trust Sanger Institute และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
International Journal of Vaccines and Technologies
เอกสารอ้างอิง
Burgin R. 2016. Is GM technology the future of poultry vaccines?.
[Internet]. [Cited 2016 Dec 27]. Available from: http://www.worldpoultry.net/Health/Articles/2016/12/Is-GM-technology-the-future-of-poultry-vaccines-74867E/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น