ขณะที่
สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ปรับเปลี่ยนจากระบบโรงเรือนเลี้ยงกรง สมาชิกของอุตสาหกรรมกำลังก้าวข้ามอุปสรรค
เพื่อสร้างความมั่นใจว่า
ผู้ผลิตจะมีโอกาสที่ดีที่สุดรับการเปลี่ยนแปลงของระบบนี้ให้ราบรื่นที่สุดเท่าที่จะทำได้
บริษัทผู้ผลิตพันธุ์สัตว์ปีกก็มิได้มองข้ามความพยายามนี้ เนื่องจาก
พันธุกรรมเป็นระบบทางเลือกที่มีโอกาสสร้างโอกาสให้ผู้ผลิต
ทิศทางการปรับปรุงพันธุ์ที่ดีที่สุดคือ
ความต้องการของผู้บริโภค โดยการพัฒนาพันธุกรรมสัตว์ปีกจำเป็นต้องใช้เวลานาน
วงจรการผลิตที่นานขึ้น
วงจรการผลิตสำหรับไก่ไข่ที่ยาวนานขึ้น
เพื่อให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยแม่ไก่ยังมีชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประเด็นสำคัญสำหรับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ปัจจุบัน
หน่วยพันธุกรรมไก่บริษัทเฮนดริกซ์ประเมินผลผลิตของสายพันธุ์บริสุทธิ์ไปจนถึง ๑๐๐
สัปดาห์ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา
การยืดวงจรการผลิตในสายบริสุทธิ์ของบริษัท
และการทดสอบในภาคสนามเป็นกุญแจสำคัญของพันธกิจของบริษัทในการผลิตแม่พันธุ์ไก่ไข่ที่สามารถผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
๕๐๐ ฟองต่อรอบการผลิตเป็นครั้งแรก บริษัทเรียนรู้จากการสังเกตในอดีตว่า
แม่ไก่ที่ผลิตไข่ไก่ที่ดีที่สุดจนถึง ๖๐ สัปดาห์ไม่ใช่แม่ไก่ที่สามารถผลิตไข่ไก่ที่ดีที่สุดเมื่ออายุมากขึ้นได้
การตัดสินใจฝูงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดในช่วงกลางของวงจรการผลิตเป็นพื้นฐานตามธรรมชาติสำหรับเกษตรกรส่วนใหญ่
แต่ก็มักนำไปสู่การคาดการณ์ต่ำกว่าความเป็นจริงสำหรับจำนวนผลผลิตไข่ทั้งหมด
เพื่อให้ได้ภาพที่แท้จริง จำเป็นต้องประเมินผลผลิตเมื่อสิ้นสุดของอายุขัยของไก่
การตั้งเป้าหมายตรงไปที่โปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์จะช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้น
และเหมาะสมสอดคล้องกับทิศทางการตลาดของการผลิตไข่ในสหรัฐฯ และยุโรป
นอกเหนือจากผลผลิตไข่ คุณภาพไข่ การอยู่รอด และการปรับตัวได้
เป็นคุณลักษณะที่สำคัญสำหรับการคัดเลือดสายพันธุ์ไก่ที่เหมาะสมสำหรับระบบโรงเรือนเลี้ยงไก่ทางเลือก
เนื่องจกา ความจำเป็นสำหรับการประเมินพฤติกรรมในสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โครงการกัลลัสฟิวเจอรัส (Gallus Futurus project) จึงริเริ่มจัดตั้งขึ้นมา
โครงการกัลลัสฟิวเจอรัส
โครงการกัลลัสฟิวเจอรัส
หรือสัตว์ปีกแห่งอนาคต ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำการวิจัย
และพัฒนาระบบการปรับปรุงพันธุกรรมเพื่อใช้สำหรับการเก็บข้อมูลในระบบโรงเรือนทางเลือกใหม่
การทดสอบสายพันธุ์ในสิ่งแวดล้อมโลกแห่งความเป็นจริงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ เฮนดริกซ์ ใช้ฟาร์มวิจัย
๗ แห่งทั่วโลกสำหรับโครงการนี้ และทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยอีก ๒ แห่ง ได้แก่ INRA
ในฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัย Wageningen ในเนเธอร์แลนด์
โครงการกัลลัสฟิวเจอรัส
มุ่งเน้นผลผลิตไข่ และคุณภาพไข่ และคุณลักษณะทางพฤติกรรม โดยใช้การบันทึกวีดีโอ
และการทดสอบพฤติกรรม ก้าวใหญ่สำคัญของการวิจัยนี้ได้เริ่มขึ้นแล้วในฝรั่งเศสที่ใช้ระบบการเลี้ยงบนพื้น
(Floor system) และเก็บข้อมูลจากการผสมพันธุ์
เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมไก่ว่า เชื่อง และก้าวร้าว เป็นอย่างไร
คุณลักษณะด้านความทนทาน
และความสามารถหลายๆด้าน ได้แก่ การผลิต การสร้างขน และอัตราการตาย
ภายใต้สภาวะการทดสอบ โรงเรือนจะถูกแบ่งเป็น ๒ ห้อง ได้แก่ กลุ่มควบคุม
และกลุ่มทดสอบ เพื่อตรวจวัดปฏิกิริยาต่อสภาวะการทดสอบต่างๆ เช่น อาหาร
และความเครียดต่ออุณหภูมิ ผลการทดลองก็จะใช้สำหรับคัดเลือกไก่ที่มีคุณลักษณะในอุดมคติสำหรับการเจริญเติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมทางเลือกใหม่
การลงทุนในเทคโนโลยี
ในระบบการเลี้ยงโดยไม่ใช้กรง
(Cage free system) พฤติกรรมบางอย่างมีความสำคัญ เช่น การยอมรับรังไข่ เพื่อลดปริมาณไข่พื้น
นวัตกรรมใหม่ล่าสุด รวมถึง การออกแบบระบบรังไข่อัตโนมัติสำหรับตรวจติดตาม และบันทึกการผลิตในกลุ่มต่างๆ
ได้แก่ การปรากฏไข่พื้น และการตรวจประเมินว่า ไก่แต่ละตัวใช้เวลาในรังไข่นานเท่าไร
การติดอุปกรณ์ RFID (Radio Frequency Identification Tags) และเสาสัญญาณก็นำมาใช้ช่วยเก็บข้อมูล
ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง
การคัดเลือกพันธุกรรม
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นวิธีการที่เริ่มใช้กันตั้งแต่เริ่มแรกคือ
การคัดเลือกพันธุกรรม การลงทุนเทคโนโลยีนี้ได้ส่งผลให้มีความก้าวหน้าด้านพันธุกรรมอย่างรวดเร็วมาก
การคัดเลือกพันธุกรรมโดยใช้จีโนไทป์ช่วยให้ได้ค่าทางพันธุกรรมที่แม่นยำตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต
เช่น พี่น้องจากพ่อแม่เดียวกันก็จะมีค่าทางพันธุกรรมเหมือนกัน การคัดเลือกพันธุกรรมโดยใช้จีโนไทป์ช่วยให้เห็นความแตกต่างของพี่น้องก่อนที่จะสังเกตเห็นข้อมูลทางฟีโนไทป์เสียอีก
จึงเป็นการช่วยคัดเลือกไก่พันธุ์ที่ดีที่สุด และสามารถจำแนกระหว่างพี่น้องท้องเดียวกัน
บ่งชี้ว่า เพศผู้มียีนที่ดีที่สุดสำหรับคุณลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจทุกรายการ รวมถึง
คุณภาพไข่ และการให้ไข่เป็นเวลายาวนาน
สำหรับระบบการเลี้ยงโดยไม่ใช้กรง
การคัดเลือกทางพันธุกรรมสามารถช่วยตัดสินใจได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อผลิตไก่ที่จะปรับตัวได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดี
และมีโครงสร้างกระดูกแข็งแรงอีกด้วย
การลงทุนเทคโนโลยีด้านนี้ช่วยให้นักพันธุกรรมสามารถค้นพบคุณลักษณะที่ต้องการคัดเลือกไว้
และถือว่าพึ่งจะเริ่มต้นทำความเข้าใจกันอย่างแท้จริงไม่นานนี้เอง
การใช้เทคโนโลยีนี้ควรมีความระมัดระวัง เนื่องจาก
ทุกความพยายามต้องดำเนินการโดยยังรักษาความหลากหลายในสายพันธุ์ให้มากที่สุด
จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญที่สุดในโลกจึงมีความสำคัญมาก
เพื่อให้การตัดสินใจนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง
เอกสารอ้างอิง
Musselman M. 2017. Breeding for a
changing environment. [Internet]. [Cited 2017 Jan 6]. Available from: http://www.worldpoultry.net/Genetics/Articles/2017/1/Breeding-for-a-changing-environment-78416E/
ภาพที่ ๑ การทดสอบพันธุกรรมสัตว์ปีกในโลกแห่งความจริงเป็นสิ่งสำคัญต่อการได้รับข้อมูลด้านพันธุกรรมที่แม่นยำที่สุด
บริษัท เฮนดริกซ์ ร่วมมือกับฟาร์มวิจัย ๗ แห่งทั่วโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้
(แหล่งภาพ ISA)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น