นักวิจัยสหรัฐฯ
ตื่นเต้นไปกับการค้นพบการฆ่าไก่ที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ปิดการระบายอากาศ (Ventilation shutdown, VD) ร่วมกับการให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือความร้อน มีการเผยแพร่ในสมาคมสัตว์ปีก
และไข่สหรัฐฯ (US Poultry and Egg Association) เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการปลดแม่ไก่ไข่บนกรงตับ
โครงการนี้เป็นหนึ่งในแผนการทำงานของสมาคมตั้งแต่เดือนตุลาคม
ค.ศ.๒๐๑๕ ภายหลังการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนก บทเรียนจากประสบการณ์ครั้งนั้นคือ
การปลดไก่ให้ทันเวลาเป็นสิ่งสำคัญต่อการควบคุมการแพร่กระจายโรค วิธีการที่ใช้สำหรับการปลดไก่
ได้แก่ การใช้รถบรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การฉีดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และการใช้โฟมในถังดับเพลิงช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก
ฟาร์มที่เกิดโรคระบาดมีจำนวนมาก
เวลาที่ช้าเกินไปจะสร้างความทรมานแก่สัตว์เป็นเวลานานเกินไป
ระบบการชัตดาวน์การระบายอากาศคืออะไร?
ระบบการชัตดาวน์การระบายอากาศ
(Ventilation shutdown) เป็นการหยุดการระบายอากาศตามธรรมชาติ หรือโดยวิธีกลในการนำอากาศเข้าสู่ภายใน
โดยอาจเพิ่มอุณหภูมิบรรยากาศร่วมหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้สัตว์ปีกตายอย่างสงบจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง
(Hyperthermia)
เป้าหมายคือ
การให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงขึ้นกว่า ๑๐๔ องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ๔๐ องศาเซลเซียสภายในเวลา
๓๐ นาที และรักษาอุณหภูมินี้ไว้เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง โดยไม่หยุดการให้น้ำ
และยังคงใช้พัดลมหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือน
ช่วยรักษาอุณหภูมิให้ทั่วถึงทั้งโรงเรือน
การทำลายไก่อย่างรวดเร็วจะช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
และป้องกันไม่ให้อัตราการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นจากไก่ตาย
ระหว่างการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี ค.ศ. ๒๐๑๕
จำนวนฟาร์มที่ติดเชื้อพร้อมๆกันมากจนทำให้การจัดการทำลายไก่ไม่เพียงพอ
และไม่ทันต่อเหตุการณ์ วิธีการที่ได้รับการรับรองในอดีต ได้แก่
การใช้รถบรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่
หรือการใช้โฟมในถังดับเพลิงสำหรับแม่ไก่ ไก่งวงพันธุ์
และไก่งวงเนื้อที่เลี้ยงบนพื้น ในบางกรณี ต้องใช้เวลานานถึง ๒ สัปดาห์จึงเสร็จสิ้น
ยิ่งโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่บนกรงตับอาจต้องใช้เวลานานถึง ๑๐ วัน
ในการฆ่าไก่โดยใช้รถบรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
นักวิชาการเชื่อว่า ฟาร์มหลายแห่งสามารถรอดพ้นจากการติดโรคได้ในปี ค.ศ.
๒๐๑๕ หากฟาร์มที่ติดเชื้อถูกกำจัดในเวลาที่เร็วกว่านี้ ดังนั้น USDA APHIS จึงประกาศให้ใช้ระบบการปิดการระบายอากาศตั้งแต่ ๑๘ กันยายน ๒๐๑๕ เป็นต้นมา
ให้เป็นทางเลือกสำหรับการกำจัดสัตว์ป่วย โดยเอกสารของ APHIS ประกอบด้วย
แผนผังสำหรับการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการกำจัดสัตว์ป่วย โดยให้การสนับสนุนระบบการปิดการระบายอากาศ
มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา
วิจัยศึกษาการใช้งานในฟาร์มจริงในระบบการเลี้ยงไก่ไข่บนกรง
ความดันภายในโรงเรือนถูกควบคุมให้เป็นลบ โดยมีการผนึกผนังป้องกันการแลกเปลี่ยนอากาศ
แล้วสร้างแบบจำลองคล้ายกับบรรยากาศภายในกรงต่อแม่ไก่ที่พบในการเลี้ยงไก่ไข่ในฟาร์มจริง
เก็บข้อมูลแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิแวดล้อม
และโปรตีนความเครียด Heat shock protein (HSP70) ผลการทดลองพบว่า การชัตดาวน์พัดลมไม่สามารถทำให้ไก่ตายได้ ๑๐๐
เปอร์เซ็นต์ โดยยังมีแม่ไก่อีกราว ๔ เปอร์เซ็นต์ที่ยังรอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มความร้อน
หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบ VSD ช่วยให้ไก่ตายได้ ๑๐๐
เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาของการตายไม่แตกต่างกันระหว่างการใช้ระบบ VSD ด้วยความร้อน หรือด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากผลการศึกษาครั้งนี้ระบบ VSDH
และ VSDCO เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดแม่ไก่ในกรงตับจำนวนมากๆ
การระบาดในรัฐอินเดียนา
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกในสหรัฐฯ
ไม่สามารถคอยผลการตรวจจากกระทรวงเกษตรฯสำหรับระบบการปิดการระบายอากาศได้ ดังนั้น
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๐๑๖ ฟาร์มเลี้ยงไก่งวงขุน ๖๐,๐๐๐
ตัวในอินเดียนาที่ยืนยันแล้วว่า ติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์ เอช ๗
เอ็น ๘ ภายในไม่กี่วัน ก็มีรายงานสงสัยฟาร์มไก่งวงอีก ๙
แห่งเกิดการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ สับไทป์ เอช ๗ เอ็น ๘
ผู้เชี่ยวชาญจาก USDA อธิบายว่า
เชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำหมุนเวียนอยู่ในประชากรสัตว์ปีกในพื้นที่ดังกล่าว
แล้วกลายพันธุ์กลายเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในไก่งวงฝูงหนึ่ง
โดยมีฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกทั้งหมด ๑๒๔ แห่งภายในรัศมี ๒๐
กิโลเมตรรอบเขตพื้นที่ระบาด เนื่องจาก ฟาร์มแต่ละแห่งใกล้เคียงกันมาก
และยังตรวจพบฟาร์มอีก ๙ แห่งที่ให้ผลเป็นบวก ดังนั้น
วิธีการปิดการระบายอากาศจึงใช้เฉพาะในโรงเรือนที่ให้ผลการทดสอบเป็นบวกเท่านั้น
ส่วนฟาร์มไก่งวงอีก ๘ แห่ง และฟาร์มไก่ไข่ ๑ แห่งใช้โฟม อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากอุณหภูมิอากาศที่หนาวเย็น โฟมไม่สามารถทำงานได้ในฟาร์มไก่งวง ๒ ฟาร์ม
จึงใช้วิธีการปิดการระบายอากาศสำหรับทำลายไก่ทันทีจนกลางเดือนกุมภาพันธ์
ก็ไม่มีรายงานการตรวจพบโรคไข้หวัดนกเพิ่มเติม
ระบบการปิดการระบายอากาศภายในโรงเรือนมีข้อดีหลายอย่าง
นอกเหนือจากลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส
แต่ยังช่วยลดระยะเวลาการสัมผัสเชื้อของพนักงานที่ทำการทำลายไก่โดยใช้วิธีมาตรฐานอื่นๆ
อันเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อโรคสัตว์สู่คน และยังมีข้อเด่นด้านสวัสดิภาพสัตว์
หากขั้นตอนการทำลายสัตว์เป็นไปอย่างเนิ่นนาน วิธีการนี้อาจไม่ใช่วิธีในอุดมคติสำหรับการทำลายสัตว์จำนวนมาก
เนื่องจาก ต้องใช้เวลา
การตัดสินใจใช้ระบบการปิดการระบายอากาศเป็นวิธีการที่ดีภายหลังวิธีการกำจัดสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมอื่นๆ
ถูกพิจารณาแล้ว
และเวลาสำหรับการทำลายสัตว์ด้วยวิธีอื่นๆอาจเป็นโอกาสให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายต่อไปได้สูงจนไม่สามารถควบคุมได้
สมาคมพยาธิวิทยาสัตว์ปีกแห่งอเมริกาประชุมประจำปีช่วงฤดูร้อน
๒๐๑๕ ที่ผ่านมา คณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์
และการจัดการให้การรับรองการปิดการระบายอากาศ ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์
ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของโรคสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก
การปิดการระบายอากาศไม่ใช่วิธีการทำลายสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมที่ดีที่สุด
ขณะที่
การใช้การปิดการระบายอากาศสำหรับการทำลายสัตว์จำนวนมากได้รับการรับรองแล้ว
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้คือ ยังไม่ใช่วิธีที่มีมนุษยธรรมที่สุด
ยังคงต้องมีการวิจัยเพื่อพัฒนาทางเลือกใหม่สำหรับการทำลายสัตว์ปีกจำนวนมากอย่างมีมนุษยธรรม
และสามารถใช้ได้กับสัตว์ปีกที่เลี้ยงในกรง หรือนกเลี้ยงในบ้าน
โฟมถูกนำมาใช้ในสหรัฐฯ สำหรับการทำลายสัตว์ปีกจำนวนมากตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา
และทำงานได้เป็นอย่างดีในกรณีที่สัตว์เลี้ยงบนพื้น
แต่ในกรณีที่มีการเลี้ยงบนกรงสูง และระบบการเลี้ยงในบ้านยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก
การยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก โรงงานอาหารสัตว์ โรงฟัก
และโรงงานแปรรูปการผลิตเป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดจากการระบาดของโรค
แต่เมื่อมีการระบาดของโรค
การทำลายสัตว์ปีกจำนวนมากอย่างมีมนุษยธรรมยังมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไป
การปิดระบบการระบายอากาศยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
และจำเป็นต้องใช้ตามความจำเป็น
เอกสารอ้างอิง
O’Keefe T. 2016.
How ventilation shutdown works in poultry depopulation. .
[Internet]. [Cited 2016 Feb 15]. Available
from: http://www.wattagnet.com/articles/25922-how-ventilation-shutdown-works-in-poultry-depopulation
McDougal T. 2017. Ventilation shutdown: A humane
depopulation method. [Internet]. [Cited
2017 Aug 9].
Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2017/8/Ventilation-shutdown-A-humane-depopulation-method-169046E/
Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2017/8/Ventilation-shutdown-A-humane-depopulation-method-169046E/
ภาพที่ ๑ บทเรียนสำคัญจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเดือนตุลาคม ค.ศ.๒๐๑๕ คือ
การกำจัดสัตว์ป่วยให้ทันต่อเวลา เพื่อควบคคุมการแพร่กระจายโรค (แหล่งภาพ: Koos
Groenewold)
ภาพที่ ๒ การทำลายไก่ไข่ภายในโรงเรือนขนาดใหญ่โดยใช้วิธีการเดิม
ไม่สามารถเสร็จสิ้นได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง
ภาพที่ ๓ ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่บนพื้นที่ถูกทำลายด้วยการใช้โฟม
(แหล่งภาพ: David Harp)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น