นกเป็ดน้ำอพยพไม่ใช่แพะฉันใด
นกเป็ดน้ำอพยพก็ไม่ได้เป็นจำเลยนำโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงมายังฟาร์มเลี้ยงไก่ฉันนั้น ตามหลักฐานล่าสุด แสดงให้เห็นว่า
เชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูงคล้ายกับโรคไข้หวัดนกสับไทป์ เอช ๕
ที่สร้างความเสียหายในฟาร์มสหรัฐฯในปี ค.ศ.๒๐๑๔ ถึง ๒๐๑๕ ไม่ได้แอบแฝงอยู่ในนกป่า
ผลงานวิจัยนำโดยโรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด
พบว่า เป็ดป่า
และนกน้ำเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นโฮสต์ตามธรรมชาติสำหรับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ
โดยแสดงอาการเล็กน้อย แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง
โรเบิร์ต
เวบสเตอร์ นักล่าไวรัสชื่อดัง เชื่อว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในอดีตเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจของทางการที่จะใช้การกำจัดสัตว์ป่วย
และกักกันสัตว์ เพื่อหยุดยั้งการระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกปี ค.ศ.๒๐๑๔ ถึง ๒๐๑๕
แต่ผลการวิจัยในอดีตจำเป็นต้องค้นหากลไกการวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในนกป่า
เพื่อทำลายโอกาสที่เชื้อไวรัสจะพัฒนาเป็นชนิดรุนแรงสูง
การระบาดเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในประมวลการประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์นานาชาติ
นักวิจัยวิเคราะห์สำลีป้ายเชื้อจากลำคอ และตัวอย่างอื่นๆมากกว่า ๒๒,๐๐๐
ตัวทั้งเป็ดป่า และนกน้ำนานาชนิด ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกสับไทป์เอช
๕ ช่วงปี ค.ศ. ๒๐๑๔ ถึง ๒๐๑๕ ในฟาร์มสัตว์ปีก
การระบาดมีความเชื่อมโยงของเชื้อไวรัสชนิดความรุนแรงสูง
สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ ที่แพร่กระจายจากเอเชียไปยังอเมริกาเหนือโดยนกน้ำอพยพ
เชื้อไวรัสสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ เกิดการรีแอสซอร์ต หรือแลกเปลี่ยนยีนส์กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่นๆในนกน้ำจากอเมริกาเหนือจนทำให้เกิดการระบาดของโรคในฟาร์มสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์
และหลังบ้านกว่า ๒๔๘ ฝูงในสหรัฐฯ และคานาดา สร้างความเสียหายเกือบ ๑.๕ แสนล้านบาท
การกำจัดสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ
เจ้าหน้าที่รัฐฯ จัดการโรคระบาดโดยการกักกันสัตว์ป่วย
และกำจัดส่วนปีกที่ติดเชื้อ โดยรายสุดท้ายที่มีรายงานพบในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๒๐๑๕ สองปีที่ผ่านมา
มีความวิตกกังวลว่า เชื้อไวรัสชนิดความรุนแรงสูงจะหวนกลับคืนสู่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกอีกครั้งโดยนกน้ำอพยพที่นำเชื้อไวรัสมาสู่ฟาร์ม
แต่ผลการศึกษากลับไม่เคยพบนกน้ำอพยพติดเชื้อไวรัสชนิดความรุนแรงสูง
ทั้งจากการศึกษาในคานาดา เส้นทางอพยพทางมิสซิซซีปี และตามชายฝั่งแอตแลนติก การเก็บตัวอย่างโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย
มหาวิทยาลัยโอไฮโอ โดยได้รับทุนวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัย และเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
โดย ศ. เวบสตอร์ กล่าวว่า ไม่พบเชื้อไวรัสจากนกป่ามากกว่าแสนตัวนับตั้งแต่การเฝ้าระวังโรคได้เก็บตัวอย่างนับตั้งแต่การเก็บครั้งแรกเมื่อ
๔๓ ปีที่แล้ว
การควบคุม และกำจัดโรค
ภูมิคุ้มกันในร่างกายนกป่าเป็นเหตุผลสำคัญที่อธิบายว่า
ทำไมเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง เอ ไม่สามารถแอบแฝงในประชาการนกป่าได้ แต่ยังต้องศึกษาทำความเข้าใจกลไกดังกล่าว
เพื่อวางแผนการป้องกัน ควบคุม และกำจัดเชื้อไวรัสอันตรายที่เป็นภัยต่อฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกในพื้นที่แห่งอื่นๆของโลกเพื่อความมั่นใจมากขึ้นต่อไป
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2017. High path AI may not persist in wild birds. [Internet].
[Cited 2017 Jul 28]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2017/7/High-path-AI-may-not-persist-in-wild-birds-164916E/
ภาพที่ ๑ นกเป็ดน้ำอพยพพ้นมลทินที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวนำโรคไข้หวัดนกให้ฟาร์มเลี้ยงไก่สหรัฐฯ
(แหล่งข้อมูล: Wikimedia/Bert de Tilly)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น