การพัฒนาเทคนิคระบบการประมวลผลภาพสำหรับวิเคราะห์คุณภาพซากไก่ในโรงฆ่า
ด้วยข้อมูล และสารสนเทศจากฟาร์ม
และสัตวแพทย์ร่วมกันจะช่วยปฏิวัติการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ปีกใหม่
อีแลนโคกำลังพัฒนาเทคนิคระบบการประมวลผลภาพสำหรับวิเคราะห์คุณภาพซากจากประสบการณ์การใช้กล้อง
CCTV ในโรงฆ่าที่สร้างความมั่นใจว่าจะมีการจัดการด้านสวัสดิภาพที่ดีที่สุดสำหรับสัตว์ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
กล้องไม่เคยโกหกใคร ถึงเวลานี้
การใช้ระบบการประมวลภาพสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพซากจะเป็นมิติใหม่ในการจัดการสุขภาพสัตว์
และฟาร์ม ขณะนี้ โครงการ Elanco Knowledge Solutions (EKS) ได้ร่วมกับบริษัทด้านเทคโนโลยีจากเยอรมัน
E plus V ได้ช่วยลูกค้าให้บูรณาการวิเคราะห์คุณภาพซากเข้ากับการผลิตสัตว์ปีกโดยใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สำคัญต่อคุณภาพซากไก่แต่ละตัวบนราวสายการผลิต
ร่วมกับการใช้ข้อมูลด้านการผลิต และสุขภาพสัตว์
เพื่อประกอบให้เห็นภาพใหญ่ของซากไก่เนื้อ ความจริงแล้ว
การผลิตสัตว์ปีกมีข้อมูลมากมาย แต่ผู้ผลิตมักไม่ใคร่จะมีเวลา
หรือวิธีที่จะใช้ข้อมูลเหล่านี้สำหรับการตัดสินใจ หรือไม่สามารถประมวลภาพรวมของทุกสิ่งมาใช้ประโยชน์ได้
เทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพมีการใช้งานในเนื้อแดง
และโรงงานแปรรูปสุกรมานานแล้ว เนื่องจาก การจัดเกรดคุณภาพซากมีความสำคัญมาก
บริษัทอีพลัสวีได้ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้งานในโรงฆ่าโค ๒๐ แห่ง
และบันทึภาพไปแล้วกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐฯ รวมั้งในยุโรป และอเมริกาใต้ สำหรับสัตว์ปีก
เทคโนโลยียังได้พัฒนาให้ประเมินน้ำหนัก โดยติดตั้งกล้องภายหลังที่ไก่ผ่านการทำให้สลบ
ฆ่า และถอนขนเรียบร้อยแล้ว กล้องจึงสามารถตรวจสอบได้ทั้งรูปร่าง มิติ และระยะ
แล้วใช้ค่าต่างๆที่ตรวจสอบได้มาทำนายน้ำหนักไก่มีชีวิต แม้ว่า ผู้ผลิตยังเชื่อถือข้อมูลน้ำหนักไก่บนรถจับไก่เป็นหลัก
แต่การใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับการประเมินน้ำหนักไก่ในกระบวนการผลิตจะช่วยให้มองเห็นภาพการกระจายตัวของน้ำหนักไก่ภายในฝูง
ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญมากสำหรับการวิเคราะห์สุขภาพ
และยังมองต่อไปได้ถึงผลผลิตเนื้ออกสำหรับการแปรรูปเนื้อสัตว์ในขั้นตอนถัดไป
ระบบดังกล่าวสามารถประเมินน้ำหนักโดยมีความแม่นยำราว ๙๔ เปอร์เซ็นต์ที่ความเร็วราว
๑๔๐ ตัวต่อนาที สิ่งสำคัญคือ การตรวจสอบความผิดปรกติบนซากไก่ได้อย่างรวดเร็ว เช่น
ผิวหนังฉีกขาด ปีกหัก แผลพุพอง หรือแผลถลอก นอกจากนั้น
การแทรกผ่านของแสงสว่างยังสามารถใช้ในการตรวจหาความผิดปรกติบางอย่างที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้อีกด้วย
โรงฆ่าบางแห่งในยุโรป ยังติดตั้งกล้องตัวที่สามสำหรับการให้คะแนนฝ่าเท้าไก่
หรือตีนไก่ ตามระบบการให้คะแนนที่สามารถปรับได้ตามมาตรฐานของประเทศ
หรือบริษัทกำหนดไว้ นั่นหมายความว่า ไก่แต่ละตัว
เท้าแต่ละคู่ก็จะถูกให้คะแนนคุณภาพเป็นรายตัว เรียกได้ว่าเป็นการประเมินคุณภาพซากแบบ
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
ผู้พัฒนาระบบยังเห็นโอกาสในการสร้างสรรค์ต่อไปโดยการแยกเท้าไก่ที่ดีเหมาะสำหรับมนุษย์บริโภคออกจากเท้าไก่ที่มีปัญหาคุณภาพด้อย
ทุกขั้นตอนถูกใช้งานแบบเรียลไทม์
หากเกิดปัญหาจึงสามารถจัดการควบคุมได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ทันที เช่น การปรับการทำงานของถังลวกน้ำร้อน
อันเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการแก้ไขทันที รอไม่ได้ หรือการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของโรงฆ่า
หากพบว่า ไก่ถูกแขวนบนราวเพียงขาดเดียว
ผลการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ เพื่อประเมินน้ำหนักไก่ และคุณภาพซากจากโรงฆ่าแบบ
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สามารถสะท้อนไปให้ผู้ผลิตในฟาร์ม
ช่วยให้การวิเคราะห์สุขภาพแบบองค์รวม
หากฟาร์มต้องการแก้ไขปัญหารอยโรคฝ่าเท้าอักเสบ
คุณภาพซากข้อมูลเหล่านี้จะมีความสำคัญมากเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับวิธีการจัดการต่างๆ
คุณภาพลูกไก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพของวัสดุรองพื้น ระยะทาง และระยะเวลาการขนส่ง
ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการผลิต และคุณภาพซากในโรงฆ่าอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเปิดเผยให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า การปรับปรุงการจัดการต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่
โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกิดขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Davies J. 2017. Cameras offer individual carcass
analysis. [Internet]. [Cited 2016 Aug
30]. Available from: http://www.poultryworld.net/Home/General/2017/8/Cameras-offer-individual-carcass-analysis-177331E/?cmpid=NLC|worldpoultry|2017-08-30|Cameras_offer_individual_carcass_analysis
ภาพที่ ๑ เทคนิคระบบการประมวลผลภาพสำหรับวิเคราะห์คุณภาพซากไก่ในโรงฆ่า
(แหล่งภาพ:
E+Y)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น